ฝากภาพ i-pic
สรุปแล้วที่ หน้า1 ครับ.. ปราสาทพนมรุ้ง . 1 ส ค 2557
<< < (91/473) > >>
☾☆☾~ ไข่หวาน ~☾☆☾:
อ้างจาก: sawas2706 ที่ 18 กรกฎาคม 2014, 20:23:51



คาถาบูชาพระพุทธชินราช

อิเมหิ นานา สักกาเรหิ อภิปูชิเตหิ ทีฆายุโก โหมิฯ
 อะโรโค สุขิโต สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง ปิยัง มะมะ
 ปะสิทธิลาโภ ชะโย โหตุ สัพพะทา พุทธะชินะราชา
 อภิปาเลตุ มังฯ นะโม พุทธายะฯ



☾☆☾~ ไข่หวาน ~☾☆☾:
อ้างจาก: subachok21 ที่ 18 กรกฎาคม 2014, 09:13:50

อ้างจาก: subachok21 ที่ 15 กรกฎาคม 2014, 23:33:18


หยาดเหงื่อพ่อไหลรินรดแผ่นดินไทยทั่วหล้า
หยาดเหงื่อซับน้ำตาชาวประชาทั้งแผ่นดิน
หยาดเหงื่อที่ไหลรินล้วนแต่สิ้นพระเมตตา
ราดรดทั่วพาราชาวประชาได้ร่มเย็น



☾☆☾~ ไข่หวาน ~☾☆☾:
อ้างจาก: khainui ที่ 18 กรกฎาคม 2014, 20:11:14

อ้างจาก: khainui ที่ 16 กรกฎาคม 2014, 22:18:43





18 กรกฎาคม วันคล้ายวันสวรรคต
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง พลตำรวจเอกหญิง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
(พระนามเดิม: สังวาลย์ ตะละภัฏ; พระราชสมภพ: 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 ณ จังหวัดนนทบุรี
— สวรรคต: 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ณ กรุงเทพมหานคร)
เป็นพระชายาในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
และพระราชชนนีในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์,
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน

พระองค์มีพระนามที่นิยมเรียกกันว่า สมเด็จย่า ทั้งนี้พระองค์ยังได้ประกอบพระราชกรณียกิจเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขา
ที่อาศัยในถิ่นทุรกันดาร และได้พระราชทานความช่วยเหลือผ่านทางเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เปรียบเสมือนพระองค์
เสด็จมาจากฟากฟ้าช่วยให้พวกเขามีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ชาวไทยภูเขาจึงถวายพระสมัญญานามว่า "แม่ฟ้าหลวง"

วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระอาการทรุดลง
เนื่องด้วยมีพระอาการแทรกซ้อนทางพระยกนะ (ตับ) และพระวักกะ (ไต) ไม่ทำงาน พระหทัย (หัวใจ)
ทำงานไม่ปกติ ความดันพระโลหิตต่ำทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในพระโลหิต
คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาความผิดปกติของระบบต่าง ๆ รวมทั้งการฟอกพระโลหิตด้วยเครื่องไตเทียม
และกรองสารพิษซึ่งเกิดจากภาวะผิดปกติของพระยกนะ แต่พระอาการคงอยู่ในภาวะวิกฤต
จนกระทั่ง เวลา 21.17 น. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคต สิริพระชนมายุ 94 พรรษา






ประสูติพระราชธิดาและพระราชโอรส

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
หลังจากทั้ง 2 พระองค์ทรงจบการศึกษาแล้วจึงเสด็จไปที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนนีได้ประสูติพระราชธิดาพระองค์แรก เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา มหิดล
ซึ่งภายหลังทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2466 ทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จกลับเมืองไทยพร้อมด้วยพระราชธิดา
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จพระบรมราชชนกทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ประทับอยู่ได้ประมาณ 20 เดือน ก็ประชวร
แพทย์จึงถวายคำแนะนำให้ประทับในที่อากาศเย็น ที่เมืองไฮเดลแบร์ก สาธารณรัฐไวมาร์ (ปัจจุบันคือประเทศเยอรมนี)
สมเด็จพระบรมราชชนนีและพระราชธิดาจึงได้ตามเสด็จไปประทับด้วย

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ประสูติพระราชโอรสพระองค์แรก เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล

ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จกลับกรุงเทพฯ เพียงพระองค์เดียวเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ
และประทับอยู่จนถึงงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2469

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีประสูติพระราชโอรสพระองค์ที่ 2
ณ โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ สหรัฐอเมริกา
ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช


สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระราชโอรส พระราชธิดา
ระหว่างนี้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงดูแลพระโอรสธิดาอย่างใกล้ชิดด้วยความรักและการอบรมสั่งสอน
และทรงทูลเรื่องนี้กับสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ความตอนหนึ่งว่า
"ลูกของหม่อมฉัน หม่อมฉันรักดั่งดวงใจ...ถ้าได้ช่วยลูก ๆ ให้ได้รับการอบรมและเล่าเรียนในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองได้แล้ว
หม่อมฉันก็จะรู้สึกอิ่มใจเหมือนกัน"

ขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงศึกษาวิชาแพทย์ปีสุดท้ายอยู่ที่เมืองบอสตัน ประชวรโรคพระวักกะกำเริบ และพระโรคหวัด
แต่ก็ยังทรงสามารถสอบได้ปริญญาแพทยศาสตร์ขั้นเกียรตินิยม แต่หลังจากสอบเสร็จ และประชวรพระโรคไส้ติ่งอักเสบ
ทั้งสองพระองค์ได้พาพระราชโอรสธิดาเดินทางกลับประเทศไทย โดยประทับที่พระตำหนักใหม่สร้างขึ้นในวังสระปทุม ถนนพญาไท

เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกทรงรับเชิญเป็นแพทย์ประจำบ้านจากโรงพยาบาลแมคคอร์มิก จังหวัดเชียงใหม่
ในเดือนต่อมาก็เสด็จกลับกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นก็ทรงพระประชวรอยู่เป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือนก็สิ้นพระชนม์
เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 ที่พระตำหนักใหม่ วังสระปทุม

สมเด็จพระบรมราชชนนี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ในขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนกสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระบรมราชชนนีมีพระชนมายุเพียง 29 พรรษา
ทรงต้องรับหน้าที่อบรมเลี้ยงดูพระราชโอรสธิดาทั้งสามพระองค์ตามลำพัง จนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
คณะราษฎรก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
จึงทรงแนะให้สมเด็จพระบรมราชชนนีพาพระราชนัดดาทั้ง 3 พระองค์ เสด็จไปศึกษาต่อที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสละราชสมบัติ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงได้มีมติเห็นชอบตามกฎมณเฑียรบาลให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล
เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อไป พระองค์ที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา

ดังนั้นสภาผู้แทนราษฎรจึงได้มีมติแต่งตั้ง พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
และเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทน ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงต้องทรงย้ายไปประทับที่บ้านเช่าขนาดใหญ่
ที่เมืองปุยยี ใกล้กับเมืองโลซาน เพื่อให้สมพระเกียรติของพระราชโอรส ทรงตั้งชื่อให้พระตำหนักใหม่ว่า "วิลล่าวัฒนา"

ในปี พ.ศ. 2481 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระเชษฐภคินี และพระราชอนุชา
ได้เสด็จนิวัติกลับประเทศไทย เพื่อทรงเยี่ยมเยียนพสกนิกรเป็นครั้งแรกโดยประทับอยู่ในพระนครเป็นเวลากว่า 2 เดือน

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็น
สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ นอกจากนั้นพระองค์ยังพระราชทานเงินส่วนพระองค์สร้างโรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี สร้างสุขศาลา
จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2481



สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ขณะมีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 23.30 น.
วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในเหตุการณ์ 14 ตุลา
ในปี พ.ศ. 2485 สมเด็จพระบรมราชชนนี พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระเชษฐภคินี และพระราชอนุชา
เสด็จกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยสมเด็จพระพี่นางเธอฯ ทรงเข้าศึกษาวิชาเคมี ที่มหาวิทยาลัยโลซาน
ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงเข้าศึกษาวิชานิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2486
และอีกสองปีต่อมาในปี พ.ศ. 2488 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ก็เสด็จเข้าศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน

ลุมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลต่อมา พระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจด้วยทรงห่วงใยราษฎร
ที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ทรงเสด้จเข้าเยี่ยมเยียนชาวไทยภูเขาทางภาคเหนือ ทั้งยังได้พระราชทานความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข, เสื้อผ้า และอาหาร
ผ่านเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ชาวไทยภูเขาจึงถวายพระสมัญญานามแก่พระองค์ว่า "แม่ฟ้าหลวง" ด้วยเสด็จมาจากฟากฟ้าเพื่อมาปัดเป่าทุกข์แก่ราษฎร
จนวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2513 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระบรมราชชนก
และสมเด็จพระราชชนนี ทรงพระนามเป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

สวรรคต

พระเมรุมาศของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระอาการทางพระหทัยกำเริบและทรงเหนื่อยอ่อน คณะแพทย์ถวายการรักษาเบื้องต้นที่วังสระปทุม
จนกระทั่งวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2538 จึงเชิญเสด็จพระราชดำเนินเข้าประทับรักษาพระองค์ ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช
ระหว่างการประทับรักษาที่โรงพยาบาล คณะแพทย์พบว่าเกิดการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต จึงได้ถวายพระโอสถปฏิชีวนะเพิ่ม
ต่อมา มีพระอาการแทรกซ้อน มีการอักเสบที่พระอันตะพระอันตคุณ (ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก) และที่พระปับผาสะ (ปอด) ข้างขวา
คณะแพทย์ได้พยายามถวายการรักษาจนพระอาการทั่วไปดีขึ้นบ้าง

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม สมเด็จพระบรมราชชนนีมีพระอาการทรุดลง เนื่องด้วยมีพระอาการแทรกซ้อนทางพระยกนะ (ตับ)
และพระวักกะ (ไต) ไม่ทำงาน พระหทัย (หัวใจ) ทำงานไม่ปกติ ความดันพระโลหิตต่ำทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในพระโลหิต
คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาความผิดปกติของระบบต่าง ๆ รวมทั้งการฟอกพระโลหิตด้วยเครื่องไตเทียมและกรองสารพิษ
ซึ่งเกิดจากภาวะผิดปกติของพระยกนะ แต่พระอาการตั้งแต่เช้าจนเที่ยงของวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 คงอยู่ในภาวะวิกฤต
จนกระทั่ง เวลา 21:17 น. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคต รวมพระชนมายุ 94 พรรษา

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
จัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2539 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง







☾☆☾~ ไข่หวาน ~☾☆☾:


  ดับร้อย พี่ชาย 





☾☆☾~ ไข่หวาน ~☾☆☾:


 ดับสิบ พี่สาว  




นำร่อง
ดัชนีข้อความ
หน้าถัดไป
หน้าที่แล้ว
เว็บไซต์ในเครือข่ายอภิโชค "เว็บมหาชน คนมหาโชค"
 
คติ "กินอยู่อย่างพอเพียง เสี่ยงโชคแต่พอควร"
ข้อมูลในเว็บนี้ใช้ประกอบเสี่ยงโชคสำหรับซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเท่านั้น ไม่สนับสนุนหวยที่ผิดกฏหมาย
คำเตือน -ทางเว็บไม่ได้ทราบเป็นการล่วงหน้าว่าหวยทางกองสลากจะออกตัวไหน แต่เราใช้การวิเคราะห์หรือประเมินตามหลักสถิติ
หรือวิธีการอื่นว่า เลขที่มีโอกาสออกมากที่สุดในแต่ละงวดควรจะเป็นเลขอะไรเท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ การเล่นหวยถือว่ามีความเสียงมาก
กฎระเบียบข้อบังคับ | Subscribe in a reader