อภิโชค เลขเด็ด หวยดัง หวยเด็ด เว็บหวยออนไลน์ คำนวณหวยบนดิน

บอร์ดทั่วไป => ธรรมะและอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: ชายกลาง★★★.•°•.°™ ที่ 06 มีนาคม 2012, 21:14:54

ฝากภาพ i-pic


หัวข้อ: "วันมาฆบูชา" เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
เริ่มหัวข้อโดย: ชายกลาง★★★.•°•.°™ ที่ 06 มีนาคม 2012, 21:14:54
(https://upic.me/i/os/palungjit_logo.gif)
(https://upic.me/i/aq/200808130835511154233vwoc3.gif)
(https://upic.me/i/6a/bou02.gif)(https://upic.me/i/rp/lk111.gif)(https://upic.me/i/6a/bou02.gif)(https://upic.me/i/rp/lk111.gif)(https://upic.me/i/6a/bou02.gif)(https://upic.me/i/rp/lk111.gif)(https://upic.me/i/6a/bou02.gif)(https://upic.me/i/rp/lk111.gif)
(https://upic.me/i/jr/bar_003.gif)
http://www.youtube.com/v/-3wCMGx6Ou8?version=3=amp;hl=en_US&color1=FFCC00&color2=FFCC00&border=1&autoplay=1&loop=1
(https://upic.me/i/jr/bar_003.gif)

(https://upic.me/i/rp/lk111.gif)(https://upic.me/i/6a/bou02.gif)(https://upic.me/i/rp/lk111.gif)(https://upic.me/i/6a/bou02.gif)(https://upic.me/i/rp/lk111.gif)(https://upic.me/i/6a/bou02.gif)(https://upic.me/i/rp/lk111.gif)(https://upic.me/i/6a/bou02.gif)(https://upic.me/i/rp/lk111.gif)(https://upic.me/i/6a/bou02.gif)(https://upic.me/i/rp/lk111.gif)


หัวข้อ: Re: เพลง มาฆะบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: ชายกลาง★★★.•°•.°™ ที่ 06 มีนาคม 2012, 21:15:36
(https://upic.me/i/nt/sfbkkcomanimatedgifspicus.gif)
(https://upic.me/i/kp/18eda17deb.gif)
(https://upic.me/i/jb/maka02.jpg)


ความเป็นมาของวันมาฆบูชา
            วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พุทธศาสนิกชน (ชาวพุทธ) จะพร้อมใจกันทำบุญเป็นกรณีพิเศษกว่าปกติ  เพื่อระลึกถึง
พระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๓ ของทุก ๆ ปี    ในวันมาฆบูชานี้  เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงโอวาทปาติโมกข์ นับว่าเป็นวันที่พระพุทธศาสนาได้วางรากฐานมั่นคง เรียกวันดังกล่าวนี้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งแปลว่า วันที่มีการประชุม
ที่ ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ
          ๑. พระภิกษุสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
          ๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
          ๓. พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้บวชให้เองทั้งสิ้น
          ๔. วันประชุมนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน ๓)
          เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่น่าอัศจรรย์เช่นนี้ พระพุทธองค์จึงทรงถือโอกาสแสดงโอวาทปาติโมกข์ คือ คำสอนที่เป็นหลักสำคัญ ในทางพระพุทธศาสนา
ในท่ามกลางพระอริยสงฆ์นั้น นับเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้นตลอดพุทธกาล โอวาทปาฏิโมกข์  ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นการประมวล
คำสอนหลักของพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระสงฆ์สาวกนำไปประพฤติปฏิบัติ และนำไปสั่งสอนผู้อื่นในแนวทางเดียวกัน คือ
(https://upic.me/i/ys/maka10.jpg)

ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา                  ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา             ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง  
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี                 ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย  
สมโณ โหติ ปรํ วิเหธยนฺโต             ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย  
สพฺพปาปสฺส  อกรณํ                       การไม่ทำความชั่วทั้งปวง
กุสลสฺสุปสมฺปทา                           การทำความดีให้ถึงพร้อม  
สจิตฺต ปริโยทปนํ                          การทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์  
เอตํ พุทฺธานสาสนํ                         นี้เป็นคำสอนของพระพุทธศาสนา  
อนูปวาโท อนูปฆาโต                    การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย  
ปาติโมกฺเข จ สํวโร                        การสำรวมในปาติโมกข์  
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ                   ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค  
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ                         การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด  
อธิ จิตฺเต จ อาโยโค                      ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง  
เอตํ พุทฺธานสาสนนฺติ                    นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


โอวาทปาติโมกข์นั้นเป็นคำประพันธ์ ๓ พระคาถาครึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาโดยย่อดังต่อไปนี้  
           พระคาถาที่ ๑ ตรัส ๓ หัวข้อ ได้แก่  
          ๑. ขันติ คือ ความอดทนเป็นตบะอย่างยิ่ง
          ๒. ผู้รู้กล่าวว่าพระนิพพานเป็นสิ่งยอดเยี่ยม
          ๓. ผู้ที่ยังฆ่า ทำร้าย เบียดเบียนผู้อื่น สัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
          เหตุที่พระองค์ยกขันติธรรมขึ้นตรัสนั้น แสดงว่าศาสนธรรมคำสั่งสอนของพระองค์เป็นไปเพื่อให้อดทนต่อความหนาว ร้อน หิวกระหาย  ถ้อยคำที่ให้
ร้ายใส่ความด่าว่า และอดทนต่อทุกขเวทนาอันแรงกล้าที่เกิดขึ้นจากความเจ็บไข้ ไม่สบาย ทีทรงสรรเสริญพระนิพพานว่าเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมนั้น แสดงว่า
ผลแห่งการปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธศาสนา เป็นอย่างสูงสุดนั้น คือ ทำจิตใจไม่ให้ "ตัณหา คือ ความทะยานอยาก" รัดรึงไว้ได้ และ
ที่ตรัสติเตียนบรรพชิตผู้ที่ยังฆ่า ทำร้าย เบียดเบียนผู้อื่น สัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ     นั้น แสดงว่า ศาสนธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์เป็นไปเพื่อ
ความมีเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งปวง  
           พระคาถาที่ ๒ ทรงตรัสแสดง ๓ หัวข้อ ได้แก่
(https://upic.me/i/et/maka15.jpg)

๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง
          ๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อมบริบูรณ์
          ๓. การทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส
          ทั้ง ๓ อย่างนี้เป็นคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลาย  
          ข้อที่ห้ามการทำบาป และทำกุศลให้ถึงพร้อมนั้น แสดงว่าพระพุทธศาสนาไม่เป็นแต่เพียงสอนให้เว้นจากความชั่ว หรือบาป ทั้งทางกาย วาจา และ
ใจเท่านั้น หากแต่ยังสอนให้ทำความดีหรือบุญกุศลทั้งทางกาย วาจา และใจอีกด้วย การเว้นจาก การฆ่ากัน เบียดเบียนกันแล้วนอกจากจะได้บุญ ยังเป็น
การช่วยอุปถัมภ์ค้ำชู  บำรุงชีวิตและความสุขของกันและกันอีกด้วย  และที่พระองค์ทรงแสดงเรื่อง   การทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส นั้น  แสดงว่าความ
บริสุทธิ์ผ่องใสปราศจากกิเลส เครื่องเศร้าหมองใจคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง นับว่าข้อที่ ๓ นี้เป็นข้อที่สำคัญที่สุด เพราะว่าคนทั้งหลาย มีใจเป็น
หัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด คนเราจะทำความดีความชั่ว ก็เพราะใจ กล่าวคือ เมื่อจิตใจบริสุทธิ์แล้ว จะทำอะไร จะพูดอะไรก็ดีไปตามหมดทั้งสิ้น แต่ถ้าจิตใจ
เศร้าหมอง ด้วยกิเลสแล้ว จะทำอะไร จะพูดอะไร ก็จะชั่วไปตาม กล่าวคือล้วนเป็นไปในทางทุจริตทั้งสิ้น
            พระคาถาที่ ๓ กับอีกกึ่งพระคาถาพระองค์ทรงตรัส ๖ หัวข้อ ได้แก่
          ๑. การไม่พูดจาว่าร้ายข้อนขอดใคร
          ๒. ความไม่กระทบกระทั่งประหัตประหารกัน
          ๓. การสำรวมระวังในพระปาติโมกข์
          ๔. ความรู้จักประกาณในการบริโภคอาหาร
          ๕. การอยู่ในเสนาสนะที่นังที่นอนอันสงัด
          ๖. การประกอบความเพียรในทางจิตอย่างสูง (การฝึกจิตให้สงบ)
            การที่พระพุทธองค์ตรัสหัวข้อทั้ง ๖ นี้แสดงให้เห็นว่า  การพูดจาข้อนขอดกัน การพูดเสียดสีแดกดัน การทะเลาะกัน การชกต่อยกัน ทำร้ายกัน ไม่เป็น
สิ่งที่ดีเลยสำหรับหมู่สมณะ สมณะมณฑลสมควร  มีขนบธรรมเนียมเป็นแนวทางนำความประพฤติอันสงบเรียบร้อย ไม่เป็นผู้เห็นแก่กิน ยินดีในที่อยู่ที่อาศัย
ที่เงียบสงัด บำเพ็ญสมาธิ ภาวนารักษาจิตใจของตนเองให้เป็นสมาธิสะอาด สว่าง สงบทุกเมื่อ          พระสาวกผู้เที่ยวสั่งสอนพระศาสนธรรมคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้า คงยกเอาพระธรรมในโอวาทปาติโมกข์นี้ขึ้น   เป็นหลักสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา   แม้แต่พระพุทธ องค์เองก็ทรงยกมาตรัสประทาน
โอวาทแก่พระภิกษุสงฆ์ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือน    และทรงมางดเสียเมื่อครั้งพระองค์ได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์เอาสิกขาบทที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
นั้นมาสวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือนแทน เรียกว่า "สวดพระปาติโมกข์" ซึ่งพระภิกษุสงฆ์ได้ปฏิบัติสืบต่อ ๆ กันมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
           ในวันเพ็ญ เดือนมาฆะ (เดือน ๓) ต่อมานั้นยังมีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีกประการหนึ่งในสมัยพุทธกาล  กล่าวคือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร ที่
ปาวาลเจดีย์ แคว้นวัชชี    เนื่องจากขณะนั้นพระพุทธองค์ทรงมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา พระองค์ได้ทรงพิจารณาเห็นว่า "มีพุทธบริษัท ๔ ครบบริบูรณ์แล้ว
และพระพุทธศาสนาได้เจริญมั่นคงแล้ว" จึงได้ตัดสินพระทัยว่า "นับแต่นี้ไปอีก ๓ เดือน จะปรินิพพาน"    การที่พระพุทธองค์ทรงตัดสินและอธิษฐานพระทัยจะ
ปรินิพพานนี้เรียกว่า ทรงปลงพระชนมายุสังขาร
            เมื่อมีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้น ๒ อย่างในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เช่นเดียวกันเช่นนี้ จึงนับได้ว่า เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา   สมควรที่ชาว
พุทธจะแสดงความระลึกถึงและจัดพิธีบูชาให้เป็นกรณี พิเศษกว่าวันพระตามปกติ  


หัวข้อ: Re: "วันมาฆบูชา" เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต"วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
เริ่มหัวข้อโดย: ชายกลาง★★★.•°•.°™ ที่ 06 มีนาคม 2012, 21:35:15
(https://upic.me/i/8d/maka07.jpg)
ความเป็นมาของการประกอบพิธีวันมาฆบูชาในประเทศไทย 
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์   พระองค์ทรงมองเห็นความสำคัญของวันนี้       จึงได้โปรดให้มีพระราชพิธี
ประกอบการกุศลขึ้นในวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ และให้เป็นงานหลวงตลอดไป   ต่อมาได้แพร่กระจายไปตามวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศและทาง
ราชการ ก็จัดให้เป็นวันหยุดราชการ ๑ วัน เพื่อให้ข้าราชการได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญกุศลในวันดังกล่าวนี้อีกด้วย  กิจที่ชาวพุทธนิยมปฏิบัติในวันมาฆบูชา
          ในวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนาวันนี้ ชาวพุทธจะร่วมกัน 
          - ทำบุญตักบาตร
          - ไปวัด สมาทานศีล รักษาศีล
          - ฟังเทศน์-ฟังธรรม สนทนาธรรม
          - ทำวัตรสวดมนต์
          - ถวายภัตตาหารเช้า-เพล แด่พระสงฆ์
          - เจริญสมาธิภาวนา
          - บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ และ
          - เวียนเทียน 
โดยเฉพาะการเวียนเทียนนั้น ทางวัดต่าง ๆ จะประกาศให้ทราบ โดยทั่วกัน ซึ่งจะกำหนดเวลาเวียนเทียนจะเป็นตอนเช้า ตอนสาย ตอนบ่าย ตอนค่ำ ก็
ได้ สุดแล้วแต่ความสะดวกของวัดนั้น ๆ    ส่วนในกรุงเทพมหานครมักจะจัดให้มีการเวียนเทียนในเวลากลางคืนประมาณ ๑๙:๐๐น. หรือ ๒๐:๐๐ น. ชาวบ้านจะ
ถือดอกไม้ ธูปเทียนไปประชุมพร้อมเพรียงกันที่หน้าอุโบสถหรือปูชนียวัตถุที่สำคัญในวัด แล้วแต่ว่าทางวัดนั้นๆ จะจัดทำให้มีการประกอบพิธีในที่ใด บางครั้ง
ชาวบ้านจะหาซื้อดอกไม้ ธูปเทียนได้ในบริเวณวัดนั้นอีกด้วย
           เมื่อถึงกำหนดเวลาแล้ว พระสงฆ์ สามเณร ก็จะมาประชุมพร้อมเพรียงกันใน ที่นัดหมายไว้จะมีการทำวัตรสวดมนต์  เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์ หลังจากนั้นก็จะมีการแสดงพระธรรมเทศนา   ให้พุทธศาสนิกชนที่มาร่วมงานได้ฟังเพื่อประดับสติปัญญาและเกิดเป็นบุญกุศล  ศิริมงคล
ตามสมควรแก่เวลา แล้วประธานสงฆ์ในพิธีนั้นจะนำกล่าวคำบูชาเนื่องในวันมาฆบูชา 
          เสร็จแล้วก็จะมีการเวียนเทียน โดยมีพระสงฆ์ สามเณร เป็นผู้เดินนำ และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเดินตามลำดับกัน         น้อมจิตใจระลึกนึกถึงพระคุณของ
พระรัตนตรัย ด้วยอาการอันสงบ โดยจัดแบ่งเป็นแถว ๆ ละ ๆ ๔ คนบ้าง ๕ คนบ้าง ซึ่งก็แล้วแต่ความกว้างแคบของ บริเวณ ถือดอกไม้ ธูปเทียนที่จุดเสร็จแล้ว
เดินเวียนขวา(ทำประทักษิณ)รอบอุโบสถหรือปูชนียวัตถุที่สำคัญในวัดนั้นๆ เมื่อครบ ๓ รอบแล้วนำดอกไม้ธูปเทียนนั้นไปปักในที่ที่จัดไว้เป็นอันเสร็จพิธีเวียน
เทียนหลังต่อจากนั้นบางวัดอาจจัดให้มีการเทศน์ โดยมักจะเทศน์เรื่องโอวาทปาติโมกข์ และสวดโอวาทปาติโมกข์ อาจสวดก่อนหรือหลังเทศน์ก็ได้ บางวัด
จัดให้มีเทศน์ เรื่องอื่น ๆ อีกตามสมควร 


หัวข้อ: Re: "วันมาฆบูชา" เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
เริ่มหัวข้อโดย: .. ที่ 07 มีนาคม 2012, 16:15:18
 >.;| >.;| >.;|


หัวข้อ: Re: "วันมาฆบูชา" เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
เริ่มหัวข้อโดย: hello2920 ที่ 07 มีนาคม 2012, 16:24:13
 >.i| >.i| >.i| >.i|


หัวข้อ: Re: "วันมาฆบูชา" เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
เริ่มหัวข้อโดย: ☯ ปรมาจารย์การเดาแห่งประเทศไทย ☯ ที่ 08 กันยายน 2012, 15:06:22
 >.i| >.i| >.i| >.;| >.;| >.;|
เว็บไซต์ในเครือข่ายอภิโชค "เว็บมหาชน คนมหาโชค"
 
คติ "กินอยู่อย่างพอเพียง เสี่ยงโชคแต่พอควร"
ข้อมูลในเว็บนี้ใช้ประกอบเสี่ยงโชคสำหรับซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเท่านั้น ไม่สนับสนุนหวยที่ผิดกฏหมาย
คำเตือน -ทางเว็บไม่ได้ทราบเป็นการล่วงหน้าว่าหวยทางกองสลากจะออกตัวไหน แต่เราใช้การวิเคราะห์หรือประเมินตามหลักสถิติ
หรือวิธีการอื่นว่า เลขที่มีโอกาสออกมากที่สุดในแต่ละงวดควรจะเป็นเลขอะไรเท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ การเล่นหวยถือว่ามีความเสียงมาก