อภิโชค เลขเด็ด หวยดัง หวยเด็ด เว็บหวยออนไลน์ คำนวณหวยบนดิน
28 มีนาคม 2024, 23:25:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ผลงานห้อง VIP (งวด 16 มี.ค.67)
อ.apichoke ปักหลักสิบหน่วย เข้า 2-6
อ.janya ถูกตรงเลขท้ายย๒ตัว 78
อ.goodrich ถูกตัวกลับเลขท้ายย๒ตัว 87
อ.พริม ฟันธงชุดเดียว ถูกตรงๆ เลขท้าย๒ตัว 78

ออก 626-78
   หน้าแรก   หวยรัฐบาล SUPER VIP หนังสือหวย VIP สมัคร vip ช่วยเหลือ แท็ก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก Register  
ฝากภาพ i-pic
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติพระครูวิหารกิจจานุการ(หลวงพ่อปาน) วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา  (อ่าน 55310 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
=
Super Hero7
*

พลังน้ำใจ: 7894
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,463


« เมื่อ: 04 มกราคม 2012, 00:00:56 »




ประวัติพระครูวิหารกิจจานุการ


พระครูวิหารกิจจานุการ หรือหลวงพ่อปาน โสนันโท เดิมชื่อ ปาน สุทธาวงษ์
บิดาชื่อนายอาจ มารดาชื่อ นางอิ่ม เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2418 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ที่บ้านตำบลบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ได้รับการขนานนามว่า “ปาน”
เนื่องจากตั้งแต่แรกเกิดท่านมีสัญลักษณ์ประจำตัวเป็นปานสีแดงที่นิ้วก้อยมือซ้ายตั้งแต่โคนถึงปลายนิ้ว
เมื่ออายุ 21 ปี ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค โดยมีหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อจ้อย วัดบ้านแพน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “โสนันโท” หลวงพ่อปาน ศึกษาร่ำเรียนวิทยาการกับหลวงพ่อสุ่น ทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรักษาโรคภัยไข่เจ็บตลอดจนผู้ที่ถูกคุณไสยจนแตกฉาน จากนั้นจึงออกธุดงค์ ในระหว่างนั้นท่านได้ศึกษาวิชาความรู้กับพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงหลายๆ รูป อาทิตย์
• หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.ปางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
• หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน (วัดใหม่อัมพวา) อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรบุรี ศิษย์รุ่นพี่สำนักหลวงพ่อเนียม
• อาจารย์จีน วัดเจ้าเจ็ด ด้านพระปริยัติธรรมและภาษาบาลี
• พระอาจารย์เจิ่น สำนักวัดสระเกศ กรุงเทพฯ ด้านคันถะธุระและวิปัสสนาธุระจนจบพระอภิธรรม 7 คัมภีร์
นอกจากยังได้ศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณที่วัดสังเวชจนเชี่ยวชาญ หลังจากที่ท่านใช้เวลาในช่วงการศึกษาร่ำเรียนนานพอสมควรแก่เวลา

                                                                     
หลวงพ่อปานจึงเดินทางกลับบ้านเกิดมาจำพรรษาที่วัดบางนมโค ตั้งสำนักสอนภาษาบาลีและนักธรรม ริเริ่มการก่อสร้างศาสนวัตถุต่างๆ และพัฒนาวัดบางนมโค จนเจริญรุ่งเรืองจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ จากนั้นหลวงพ่อปานก็ได้ไปบูรณะปฏิสังขรณ์และก่อสร้างวัดทั้งหมดถึง 41 วัด มีการก่อสร้างโบสถ์ และศาสนวัตถุอื่นอีกมากมาย นับว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีบารมีสูงมากจึงสามารถสร้างถาวรวัตถุเพื่อสืบทอดพระศาสนาได้มากถึงเพียงนี้

นอกเหนือจากการเป็นพระนักพัฒนาแล้วหลวงพ่อปาน ยังเป็นนักเทศน์ฝีปากเอกเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของบรรดาญาติโยมที่มารับฟังเทศน์ฟังธรรมยิ่งนัก ทางด้านการแพทย์ท่านก็สงเคราะห์รักษาผู้เจ็บไข้ได้ป่วยหรือถูกคุณไสยต่างๆ ตามวิชาการแพทย์แผนโบราณที่ได้ร่ำเรียนมา ทั้งรักษาด้วยน้ำมนต์และรักษาด้วยสมุนไพร โดยมีการกำกับด้วยคาถาอาคมพลังจิตเพื่อให้เข้มขลัง

หลวงพ่อปานได้มีโอกาสร่ำเรียนวิชาจากชีปะขาว เมื่อราวปี พ.ศ.2446 ระหว่างที่ท่านฝึกวิปัสสนากรรมฐานเพิ่มเติมที่ศาลาไว้ศพที่วัดบางนมโค ด้วยวิธีพิจารณา “อศุภกรรมฐาน” คือการพิจารณาศพคนตายเพื่อปลงสังขาร ชีปะขาวเดินเข้ามาหาและบอกกล่าวให้ท่านการสร้างพระพิมพ์รูปพระพุทธเจ้านั่งสมาธิ มีรูปสัตว์ 6 ชนิดอยู่ใต้ที่ประทับคือ ไก่ ครุฑ หนุมาน ปลา เม่น และนก โดยนิมิตเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ดังกล่าว พร้อมทั้งมีคาถากำกับในแต่ละชนิดมาด้วย นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นรูปแบบการสร้างพระพิมพ์ของหลวงพ่อปาน

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ท่านอาจารย์แจง ซึ่งเป็นฆราวาสได้เดินทางมาจากนครสวรรค์เพื่อกราบนมัสการหลวงพ่อปานด้วยความเลื่อมใสในกิตติคุณมีการถ่ายทอดวิชาซึ่งกันและกัน หลวงพ่อปานได้ศึกษาวิชาที่ว่าด้วยการปลุกเสกพระเครื่องและสร้างพระตามตำรา “พระร่วงเจ้า” ที่ได้รับสืบทอดมา ซึ่งเป็นต้นแบบการสร้างพระของหลวงพ่อปานที่สำคัญที่สุดคือ “ยันต์เกราะเพชร” ยอดของธงมหาพิชัยสงคราม ก็ได้รับการถ่ายทอดมาในคราวนี้เช่นกัน และท่านนำมาใช้ช่วยเหลือสงเคราะห์ชาวบ้านได้อย่างมากมายในโอกาสต่อมา หลวงพ่อปานได้รับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศที่ พระครูวิหารกิจจานุการ เป็นพระครูพิเศษ ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2481 ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 8 สิริอายุรวม 63 ปี พรรษาที่ 42

วัดบางนมโคตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของลำน้ำแควน้อยซึ่งแยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานว่า “วัดบางนมโค” นี้ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อครั้งพม่ายกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2310 ได้มาตั้งค่ายที่วัดสีกก กวาดต้อนผู้คนและวัวควายซึ่งมีมากในบริเวณนั้นมาใช้งาน จึง เรียกกันว่า “วังโค” หรือ “บ้านบางโค” ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น “บางนมโค” สืบมาจนปัจจุบัน ครั้งแรกตั้งเป็นชื่อตำบลแล้วนำมาใช้เป็นชื่อวัดในภายหลัง



 



บันทึกการเข้า

=
Super Hero7
*

พลังน้ำใจ: 7894
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,463


« ตอบ #1 เมื่อ: 04 มกราคม 2012, 00:03:08 »

การสร้างพระของหลวงพ่อปาน

ในปี พ.ศ.2446 นั้น หลวงพ่อปานดำริที่จะหาปัจจัยมาการดำเนินการปรับปรุงเสนาสนะภานในวัดบางนมโคและจะสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแทนองค์เดิมที่ชำรุดทรุดโทรม แล้วท่านก็ได้พบชีปะขาวและท่านอาจารย์แสงดังกล่าวมาแล้วท่านตัดสินใจสร้างพระเครื่องขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2450 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านอย่างเต็มที่ ผู้มีความรู้ทางช่างก็แกะแม่พิมพ์ถวาย บรรดาลูกศิษย์ก็ออกแสวงหาวัตถุมงคลต่างๆ มาให้ ทั้งว่านที่เป็นมงคลและมีสรรพคุณทางยา เกสรดอกไม้ที่เป็นมงคลนาม ดินขุยปูนา ตลอดจนพระพิมพ์โบราณที่ชำรุดแตกหัก เพื่อนำมาผสมเป็นเนื้อพระ พระพิมพ์ชุดนี้ศิลปะแม่พิมพ์ไม่สวยงามนักเนื่องจากเป็นช่างฝีมือชาวบ้าน เรียกกันว่า “พิมพ์โบราณ” สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2451 จำนวนการสร้างไม่มากนัก ผู้มีไว้บูชาก็หวงแหน จึงหาดูได้ยากยิ่งนัก จะมีเล่นหากันอยู่ก็คือ “พิมพ์ขี่เม่น” (สมัยก่อนเรียก “พิมพ์ขี่หมู” เพราะตัวเม่นมองดูคล้ายหมูมากว่า) และ “พิมพ์ขี่ไก่” ซึ่งจะมีขนาดเล็กและบางกว่าพิมพ์มาตรฐานมาก การอุดผงจะอุดขอบพระด้านล่าง และเนื้อขององค์พระค่อนข่างแกร่ง

ต่อมาจึงจัดหาช่างฝีมือดีมาแกะแม่พิมพ์ใหม่ศิลปะแม่พิมพ์จึงสวยงามขึ้นมาก เราเรียกกันว่า “พิมพ์นิยม” หรือ “พิมพ์มาตรฐาน” สร้างแจกในปี พ.ศ.2460 พร้อมมีสลากกำกับวิธีการใช้พระให้ด้วยนับเป็นที่นิยมอย่างมากในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องในปัจจุบัน สนนราคาเป็นหลักแสนทีเดียวของทำเทียนเลียนแบบก็เยอะ หาดูของแท้ๆ ยาก เช่นกันนอกจาก “พระหลวงพ่อปาน” ซึ่งเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาแล้ว หลวงพ่อปานยังได้สร้างวัตถุมองคลอื่นๆ เพื่อแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหาและพุทธศาสนิกชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่าอีกด้วย อาทิ ผ้ายันต์เกราะเพชร ลูกอม ตะกรุด และแหวนพระ
 

กรรมวิธีในการสร้างพระ

หลวงพ่อปานท่านกล่าวว่า หัวใจสำคัญในการสร้างพระก็คือ “ผงวิเศษ” ที่บรรจุอยู่ในองค์พระการทำ “ผงวิเศษหัวใจสัตว์” จะกระทำในพระอุโบสถโดยนั่งสมาธิเขียนอักขระเลขยันต์หัวใจของสัตว์ต่างๆ ทั้ง 6 ชนิดที่หลวงพ่อปานเห็นมาในนิมิตแล้วลบผงวิเศษนี้ออกมา หัวใจนี้ท่านมิได้ถ่ายทอดให้กับผู้ใดเพราะถือเป็นวาสนาเฉพาะบุคคล มีหลวงพ่อปานเป็นคนแรกที่ทำได้และเป็นคนสุดท้ายไม่มีการสืบทอด การทำผงพระนี้ยากมากต้องมีสมาบัติ 8 รูป สัตว์ทั้ง 6 ชนิด คือ ไก่ ครุฑ หนุมาน ปลา เม่น และนก นั้น หากจะทำชนิดใดก็ต้องล็อกคาถาของสัตว์ชนิดนั้นมาทำผง เช่นจะทำพระขี่นก จะเอาผ้าขาวมาเสกให้เป็นนกแล้วกางปีกออก จะมีพระคาถาอยู่ในปีกแล้วล็อกพระคาถามาทำผง เมื่อได้ผงมาก็ต้องนั่งปลุกเสกในโบสถ์ อดข้าว 7 วัน 7 คืน ออกไปไหนไม่ได้เลยต้องเข้าสมาบัติตลอดขณะที่ปลุกเสกพระอยู่ในโบสถ์ จะมีการตั้งบาตรน้ำมนต์ไว้สี่มุม เวลาบริกรรมคาถาบรรดาคุณไสยต่างๆ ที่มีผู้กระทำมาในอากาศก็จะกระทบกับพระเวทย์ของหลวงพ่อปาน แล้วร่วงหล่นสู่บาตน้ำมนต์ มีเสียงดังอยู่ตลอดเวลา ถือเป็นการตัดไม้ข่มนามพวกคุณไสย ผงวิเศษนี้จึงสามารถป้องกันคุณไสยได้

ผงวิเศษสูตรที่ 2 หลวงพ่อปานท่านใช้ “ผงวิเศษจากยันต์เกราะเพชร” โดยตั้งสมาธิเขียนยันต์บนกระดานชนวน แล้วชักยันต์ขึ้นแล้วลบผงมา ต้องใช้ความพยายามและความอดทนอย่างสูงเพราะต้องใช้เวลายาวนานมากกว่าจะลบผงออกมาได้และต้องถูกต้องทุกขั้นตอนตามที่ตำราระบุไว้จึงจะมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์

ผงวิเศษสูตรสุดท้ายคือ “ผงวิเศษ 5 ประการ” ประกอบด้วย ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงตรีนสิงเห และผงพระพุทธคุณ อันเป็นยอดของผงวิเศษที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังฯ หลวงปู่ภู วัดอินทร์ และพระปิลันทน์ วัดระฆังฯ ใช้เป็นส่วนผสมในเนื้อมวลสารของพระเครื่องที่ท่านสร้าง อันทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

หลวงพ่อปานใช้เวลาทำอยู่ตลอดพรรษาจนมีจำนวนมากพอผงวิเศษที่ได้มาทั้งหมดนี้ นับเป็นผงที่มีพุทธคุณเอกอนันต์ใช้งานสารพัดอย่างเป็นเลิศเรียกว่าเป็น “กฤตยาคมแฝด” ที่พระพิมพ์อื่นๆ ไม่มีขั้นตอนการสร้างองค์พระหลวงพ่อปานจะนำดินขุยปูและดินนวลหรือดินเหนียวในทุ่งนาที่ขุดลงไปค่อนข้างลึกเพื่อให้ได้เนื้อดินที่ละเอียดซึ่งชาวบ้านหามาให้นั้น มากรองบดและนวด ให้เนื้อดินเหนียวและเนียน จากนั้นแบ่งออกเป็นก้อนเล็กๆ นำไปกดกับแม่พิมพ์พระที่เตรียมไว้วิธีการนำพระออกจากแม่พิมพ์ของหลวงพ่อปานก็แตกต่างจากพระคณาจารย์ท่านอื่น คือจะใช้ไม้ไผ่เหลาให้ปลายแหลมๆ แล้วเสียบที่ด้านบนเศียรพระงัดพระออกจากพิมพ์ ซึ่งจะเกิดเป็น “ร” เพื่อบรรจุ “ผงวิเศษ”

ดังนั้นขนาดและรูปทรงของรูจะไม่มีมาตรฐานแน่นอน ใหญ่บ้างเล็กบ้าง ยาวบ้างสั้นบ้าง หรือเหลี่ยมบ้างกลมบ้าง แล้วหลวงพ่อก็จะนำพระที่กดพิมพ์เรียบร้อยไปบรรจุในบาตรจำนวนพอสมควร นำมาสุมด้วยแกลบจุดไฟเผาจนพระสุกแดงได้ที่จึงลาไปออก ปล่อยไว้ให้เย็นแล้วจึงนำมาบรรจุ “ผงวิเศษ” ลงในรูจนเต็ม ใช้ซีเมนต์ผสมปิดทับอีกทีหนึ่งเมื่อแห้งจะทนทานมาก บริเวณที่อุดนี้จะเป็นสีเทาของซีเมนต์ผสมกับสีขาวของผงวิเศษทุกองค์ อันเป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่งพิธีปลุกเสกพระทำในพระอุโบสถ หลวงพ่อปานท่านจะตั้งบายศรีราชวัตรฉัตรธง หัวหมู ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว เมื่อปลุกเสกครบไตรมาส

หลวงพ่อจะย้ายกลับมาปลุกเสกที่กุฎิของท่านต่อทุกคืนจนถึงวันไหว้ครูประจำปีของท่าน แล้วจะตั้งพิธีเหมือนเดิมอีกครั้งหนึ่ง ท่านกล่าวว่า “ต้องอาราธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระปัจเจกะพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยสาวกทุกองค์ ตลอดจนพระพรหม เทวดา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย การชุมนุมบวงสรวงเช่นนี้ประเดี๋ยวก็เสร็จไม่ต้องถึงสามเดือนอย่างที่แล้วมา จงจำไว้ว่าการจะปลุกเสกพระหรือผ้ายันต์อะไรก็ตาม ถ้าจะอาศัยอำนาจของเราอย่างเดียวไม่ช้าก็เสื่อม เราน่ะมันดีแคไหน การทำตัวเป็นคนเก่งน่ะมันใช้ไม่ได้ มันต้องให้พระท่านเก่ง พระพุทธท่านเก่ง พระธรรมท่านเก่ง พระสงฆ์ท่านเก่ง เทวดาท่านเก่ง พระพรหมท่านเก่ง ท่านมาช่วยทำประเดี๋ยวเดียวก็เสร็จดีกว่าเราทำตั้งพันปีเราต้องการให้ท่านช่วยอะไรก็บอกไป ของที่ทำจะคุ้มครองผู้คนทั้งบ้านทั้งเมืองได้ทุกคนถ้าหากพระก็ดี พระพรหมก็ดี เทวดาก็ดี ท่านช่วยคุ้มครองให้ ท่านก็มองเห็นถนัด คุ้มครองได้ถนัดและจำไว้อย่างหนึ่งว่า ถ้านำของนั้นไปใช้ในทางทุจริตคิดมิชอบก็ไม่มีอะไรจะคุ้มครองได้ ที่เป็นคนเลวอยู่แล้วก็ช่วยพยุงให้เลวน้อยหน่อย ต้องช่วยตัวเองด้วยไม่ใช่จะคอยพึ่งผ้ายันต์หรือพระ ถ้าดีอยู่แล้วก็ช่วยให้ดียิ่งขึ้น นี่เป็นกฎของอำนาจพระพุทธบารมี พระธรรมบารมี พระสังฆบารมี ตลอดจนพระพรหมและเทวดาทั้งหลาย...
 
บันทึกการเข้า
=
Super Hero7
*

พลังน้ำใจ: 7894
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,463


« ตอบ #2 เมื่อ: 04 มกราคม 2012, 00:07:41 »

คาถาหลวงพ่อปาน


คาถาปัจเจกโพธิ์
(คาถาเสริมทรัพย์ )


ใช้สวดภาวนาเวลาตื่นนอน ๓ จบ เวลาใส่บาตร ๑ จบ ก่อนนอน ๓ จบ หรือเวลาว่าง จะทำให้มีโภคทรัพย์มากมาย
พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์ ว่า ๓ จบ หรือ ๕ จบ หรือ ๗ จบ หรือ ๙ จบ ก็ได้ แต่ต้องสม่ำเสมอ จึงจะเกิดผล

ตั้งนะโม 3 จบ
พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ  
วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย
พุทธัสสะ มาณีมามะ พุทธัสสะ สะวา โหม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 มกราคม 2012, 01:03:22 โดย ไชยา » บันทึกการเข้า
=
Super Hero7
*

พลังน้ำใจ: 7894
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,463


« ตอบ #3 เมื่อ: 04 มกราคม 2012, 00:15:23 »


หลวงพ่อปาน พิมพ์ขี่ไก่หางพวง  วัดบางนมโค  จ.อยุธยา


ขออนุญาต คุณ PADIN ครับ
บันทึกการเข้า
=
Super Hero7
*

พลังน้ำใจ: 7894
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,463


« ตอบ #4 เมื่อ: 04 มกราคม 2012, 00:21:02 »


หลวงพ่อปาน พิมพ์ขี่ไก่หางพวง  วัดบางนมโค  จ.อยุธยา


ขออนุญาตคุณ  PADIN ครับ
บันทึกการเข้า
=
Super Hero7
*

พลังน้ำใจ: 7894
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,463


« ตอบ #5 เมื่อ: 04 มกราคม 2012, 00:24:21 »

หลวงพ่อปาน พิมพ์ขี่ครุฑ  วัดบางนมโค  จ.อยุธยา



ขออนุญาตคุณ  PADIN ครับ
บันทึกการเข้า
แท็ก:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เว็บไซต์ในเครือข่ายอภิโชค "เว็บมหาชน คนมหาโชค"
 
คติ "กินอยู่อย่างพอเพียง เสี่ยงโชคแต่พอควร"
ข้อมูลในเว็บนี้ใช้ประกอบเสี่ยงโชคสำหรับซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเท่านั้น ไม่สนับสนุนหวยที่ผิดกฏหมาย
คำเตือน -ทางเว็บไม่ได้ทราบเป็นการล่วงหน้าว่าหวยทางกองสลากจะออกตัวไหน แต่เราใช้การวิเคราะห์หรือประเมินตามหลักสถิติ
หรือวิธีการอื่นว่า เลขที่มีโอกาสออกมากที่สุดในแต่ละงวดควรจะเป็นเลขอะไรเท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ การเล่นหวยถือว่ามีความเสียงมาก
Sitemap | Contact | WAP | xHTML | iMode | WAP 2 | RSS

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines | Sitemap
อภิโชค เลขเด็ด หวยดัง หวยเด็ด เว็บหวยออนไลน์ คำนวณหวยบนดิน ©
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.309 วินาที กับ 24 คำสั่ง
Copyright (c) 2008-2022 apichokeonline.com