อภิโชค เลขเด็ด หวยดัง หวยเด็ด เว็บหวยออนไลน์ คำนวณหวยบนดิน
29 มีนาคม 2024, 07:28:08 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ผลงานห้อง VIP (งวด 16 มี.ค.67)
อ.apichoke ปักหลักสิบหน่วย เข้า 2-6
อ.janya ถูกตรงเลขท้ายย๒ตัว 78
อ.goodrich ถูกตัวกลับเลขท้ายย๒ตัว 87
อ.พริม ฟันธงชุดเดียว ถูกตรงๆ เลขท้าย๒ตัว 78

ออก 626-78
   หน้าแรก   หวยรัฐบาล SUPER VIP หนังสือหวย VIP สมัคร vip ช่วยเหลือ แท็ก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก Register  
ฝากภาพ i-pic
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แล้วใครล่ะ...จะไม่รัก..  (อ่าน 829230 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #75 เมื่อ: 25 พฤษภาคม 2014, 17:09:18 »



“เศรษฐกิจพอเพียง” โมเดลของพ่อที่ทั่วโลกยังทึ่ง
 “...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในปี พ.ศ.๒๕๑๗ เป็นปีที่เราชาวไทยได้เริ่มรู้จักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” และถูกพูดถึงอีกครั้งโดยหลายคนนำไปปฏิบัติในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ หลังเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจดิ่งเหวคนไทยทุกข์ยาก
       
       พอเพียงกับตัวเอง
       
       เศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่ปวงชนชาวไทยมาเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี ในช่วงตั้งแต่ก่อนการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งให้ชาวไทยได้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ที่มีการแข่งขันสูง



  “...ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียงความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือทำจากรายได้ ๒๐๐-๓๐๐ บาท ขึ้นไปเป็นสองหมื่น สามหมื่นบาท คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือทำเป็น Self-Sufficiency มันไม่ใช่ความหมายไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิดคือเป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวี ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกลๆ ที่ฉันไป เขามีทีวีดูแต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวีเขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่เนคไทเวอร์ซาเช่ อันนี้ก็เกินไป...” พระราชดำรัส ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล ๑๗ มกราคม ๒๕๔๔
       
       Self-Sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง ฉะนั้น เมื่อเติมคำว่า Economy เข้าไป กลายเป็น Self-Sufficient Economy แล้วนั้น จะมีความหมายว่า เศรษฐกิจแบบพอเพียงกับตัวเอง คือ การที่สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างไม่เดือดร้อน ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น แต่ในทุกวันนี้ ประเทศไทยเรายังเดือดร้อน ยังมีความจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่ ที่ในความเป็นจริงที่เราจะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ก็ตาม ดังนั้น Self-Sufficient Economy จึงหมายถึง เศรษฐกิจแบบพอเพียงกับตัวเอง ที่แตกต่างจาก Sufficiency Economy ซึ่งหมายถึง เศรษฐกิจพอเพียงที่ยังคงมีการพึ่งพากันและกันอยู่ ดังพระราชดำรัสเพิ่มเติมที่ว่า
       
       “คือพอมีพอกินของตัวเองนั้นไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจสมัยหิน สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน แต่ว่าค่อยๆ พัฒนาขึ้นมา ต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน มีการช่วยระหว่างหมู่บ้าน หรือระหว่าง จะเรียกว่าอำเภอ จังหวัด ประเทศ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน มีการไม่พอเพียง จึงบอกว่าถ้ามีเศรษฐกิจพอเพียง เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็จะพอแล้ว จะใช้ได้”
       
       “พ่อ” เป็นแบบอย่างทำ “โลก” ให้เห็น


 จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระองค์ นับตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ เป็นต้นมา จะพบว่าพระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ การรู้จักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้หมายถึงการให้ทุกคนปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ปลูกข้าวไว้กินเอง แต่เป็นแนวคิดที่คนทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ และทุกชนชั้นนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตได้
       
       พระองค์ทรงเป็นต้นแบบของความเรียบง่าย ความประหยัด และความพอเพียงมา โดยตลอด อย่างที่เราเคยได้ยินเรื่องราวของพระจริยวัตรอันเรียบง่ายของพระองค์ท่าน โดยผ่านการปลูกฝังจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีตั้งแต่สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้รับค่าขนมสัปดาห์ละครั้ง แต่แม้จะได้ค่าขนมทุกสัปดาห์ ก็ยังทรงรับจ้างเก็บผักและผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม
       
       เรื่องราวพระจริยวัตรอันเรียบง่ายถูกเล่าถ่ายทอดจาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ครั้งตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปที่เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ ว่า ในวันนั้นได้มีข้าราชการหลายคนกลับมาจากทำภารกิจและได้เข้าไปในโรงครัวเพื่อกินข้าวผัดแห้ง ๆ ติดก้นกระทะ แต่มีข้าวผัดอยู่ 1 จาน ถูกวางไว้และมีคนจะหยิบไปกิน
 >.i|http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000108489






<a href="http://www.youtube.com/v/leaNj5CXNFg?hl=th_TH&amp;amp;version=3&amp;amp;hl=cccfff&amp;amp;border=1&amp;autoplay=1&amp;loop=1" target="_blank">http://www.youtube.com/v/leaNj5CXNFg?hl=th_TH&amp;amp;version=3&amp;amp;hl=cccfff&amp;amp;border=1&amp;autoplay=1&amp;loop=1</a>

สวัสดีค่ะคุณFIRE ขออนุญาตนำบทเพลงนี้มาวางน๊ะค๊ะ
"หอมแผ่นดิน" เป็นบทเพลงที่ไพเราะมากๆ ทำให้นึกถึงพระองค์ท่าน
และพระราชกรณียกิจต่างๆ รวมทั้งราษฏรของท่านที่มีวิถีชีวิต
แบบพออยู่พอกิน หรือปรัชญาแนว "เศรษฐกิจแบบพอเพียง"
ขอบคุณครับคุณเอ๋
 

  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 พฤศจิกายน 2016, 16:48:56 โดย FIRE » บันทึกการเข้า

FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #76 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2014, 17:31:43 »






วันนี้ในอดีต


เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต
 ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในวันเดียวกันนั้น สภาผู้แทนราษฎร
ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์กราบบังคมทูลอัญเชิญ
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช

 พระโอรสพระองค์ที่สองแห่งราชสกุลมหิดล
ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุ ๑๘ พรรษา
สด็จขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์
เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์


ความรู้สึกส่วนพระองค์ในการตัดสินพระราชหฤทัยรับขึ้นครองราชย์
สืบต่อจากพระบรมเชษฐาธิราช มีปรากฏอยู่ในหนังสือ "ภปร."
ที่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้า ฯ
ให้จัดทำ เพื่อทูลเกล้า ฯ ถวายสำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึกแก่ผู้มาเฝ้า ฯ
 ถวายพระพรชัยมงคลในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ ดังนี้

"เดิมทีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ว่า
พระองค์จะทรงครองราชสมบัติเพียงชั่วระยะเวลาจัดงานพระบรมศพ
ให้งดงามสมพระเกียรติเท่านั้น เพราะพระชนมายุ ๑๘ พรรษา
ไม่ทำให้ทรงรู้สึกว่าจะมีกำลังพระทัยเป็นพระเจ้าแผ่นดินไปได้ตลอด"

"การสูญเสียสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชที่ทรงรักและใกล้ชิดสนิทสนม
กันมาตลอดเวลาอย่างกะทันหัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล ฯ
ไม่เคยทรงเตรียมพระราชหฤทัยและกำลังพระวรกายมาสำหรับรับหน้าที่นี้เลย"


"แต่แล้วมีเหตุการณ์หลายครั้งหลายคราวที่ประชาชนแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์
 ดังเช่นในวันที่เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิต ฯ (สวิตเซอร์แลนด์)
ขณะที่ประทับรถยนต์พระที่นั่งไปสู่สนามบินดอนเมือง
ทรงได้ยินเสียงตะโกนดัง ๆ ว่า "ในหลวงอย่าทิ้งประชาชนนะ"

ทำให้ทรงนึกตอบบุคคลนั้นในพระราชหฤทัยว่า
ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะละทิ้งประชาชนอย่างไรได้"

ต่อมาอีก ๒๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงพบชายที่ร้องตะโกนทูลพระองค์ไม่ให้ทิ้งประชาชน
ชายผู้นี้เป็นพลทหาร ภายหลังได้ลาออกไปทำนาอยู่ที่ต่างจังหวัด
เข้ากราบทูลว่า ตอนที่ร้องไปนั้นรู้สึกว้าเหว่และใจหายที่เห็นพระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จ ฯ
ไปจากเมืองไทย กลัวจะไม่เสด็จ ฯ กลับมาอีก เพราะคงจะทรงเข็ดเมืองไทย
 เห็นเป็นเมืองที่น่ากลัว น่าสยดสยอง เขาดีใจมากที่ได้เข้าเฝ้า ฯ อีก กราบบังคมทูลถามว่า
 "ท่านคงจำผมไม่ได้ ผมเป็นคนร้องไม่ให้ท่านทิ้งประชาชน"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถาม "เราน่ะรึที่ร้อง"

"ใช่ครับ ตอนนั้นเห็นหน้าท่านเศร้ามากกลัวจะไม่กลับมา จึงร้องไปเหมือนคนบ้า"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตอบ

"นั่นแหละที่ทำให้เรานึกถึง หน้าที่ จึงต้องกลับมา..."


  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ตุลาคม 2016, 15:27:38 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #77 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2014, 17:36:41 »












  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ตุลาคม 2016, 15:47:21 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #78 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2014, 17:52:33 »




วันเสด็จขึ้นครองราชย์ รัชกาลที่ 9

วันที่ 9 มิถุนายน 2489 นับเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์ไทย
 เนื่องจากเป็นวันที่
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8
แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสวรรคต ขณะที่มีพระชนมพรรษาเพียง 19 พรรษา
ครองสิริราชสมบัติได้ 12 ปี

ตามธรรมเนียมของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
จะปล่อยให้ตำแหน่งกษัตริย์ว่างลงมิได้ ดังนั้น
นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจึงมีมติกราบบังคมทูลเชิญ
สมเด็จพระอนุชาธิราช (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลปัจจุบัน)
เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ดังนั้น วันที่ 9 มิถุนายน
 จึงถือเป็นวันที่ทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี
 และได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการแก่พสกนิกรชาวไทยว่า
" เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

“ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา” จรดปลายปากกาเขียนไว้ในหนังสือ
“ทำเป็นธรรม” เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ ว่า
ในการตัดสินพระทัยที่ทรงรับพระราชภาระจากสมเด็จพระบรมเชษฐาในครั้งแรก
 คงจะทรงรับเพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะพระพักตร์ในเวลาอันรวดเร็ว
ที่จะต้องตัดสินพระทัยด้วยพระองค์เอง ไม่มีใครที่จะถวายความเห็นได้
หันพระพักตร์ไปทางไหนก็ทรงพบแต่ความโศกเศร้า
สมเด็จพระราชชนนีได้แต่ทรงพระกันแสง ไม่เสวย ไม่บรรทม
 แม้พระองค์เองก็แทบจะหมดพระสติ สิ่งที่ทรงรำลึกถึงคือ
จะต้องทรงจัดงานพระบรมศพสมเด็จพระบรมเชษฐาให้สมพระเกียรติ
หลังจากที่ทรงขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเห็นว่าสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ยังมิได้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์จึงเฉลิมพระปรมาภิไธย
 ถวายพระเกียรติแด่พระบรมศพเป็น
 “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี
 จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย”


อย่างไรก็ดี แม้จะทรงตัดสินพระทัยขึ้นครองราชย์
ตามการกราบบังคมทูลเชิญของรัฐสภา
 แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีอีกหนึ่งภารกิจสำคัญ
 นั่นคือ การเสด็จฯกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
 ขณะนั้นจิตใจของประชาชนตกอยู่ในความเสียขวัญ
ทรงถือเป็นมิ่งขวัญพระองค์เดียวที่ประชาชนจะยึดมั่นได้
 พระราชนิพนธ์บันทึกประจำวันบางส่วนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระหว่างวันเสด็จฯจากสยามสู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์คงพอจะสะท้อน
ให้เห็นถึงความรักของประชาชนที่พร้อมใจส่งเสด็จอย่างมืดฟ้ามัวดิน
คลิกชม

http://www.youtube.com/watch?v=5gPChnh0Pb4

“...วันที่ 19 สิงหาคม 2489 วันนี้ถึงวันที่เราจะต้องจากไปแล้ว
 พอถึงเวลาก็ลงจากพระที่นั่งพร้อมกับแม่ ลาเจ้านายฝ่ายใน
 ณ พระที่นั่งชั้นล่างนั้นแล้ว ก็ไปยังวัดพระแก้วเพื่อนมัสการลาพระแก้วมรกต
 และพระภิกษุสงฆ์ ลาเจ้านายฝ่ายหน้า ลาข้าราชการทั้งไทยและฝรั่ง
 แล้วก็ไปขึ้นรถยนต์ พอรถแล่นออกไปได้ไม่ถึง 200 เมตร
 มีผู้หญิงคนหนึ่งเข้ามาหยุดรถแล้วส่งกระป๋องให้เราคนละใบ
ราชองครักษ์ไม่แน่ใจว่าจะมีอะไรอยู่ในนั้น บางทีจะเป็นลูกระเบิด
 เมื่อมาเปิดดูภายหลังปรากฏว่าเป็นทอฟฟี่ที่อร่อยมาก
 ตามถนนผู้คนช่างมากมายเสียจริงๆ ที่ถนนราชดำเนินกลาง
ราษฎรเข้ามาใกล้จนชิดรถที่เรานั่ง
กลัวเหลือเกินว่าล้อรถของเราจะไปทับแข้งทับขาใครเข้าบ้าง
 รถแล่นฝ่าฝูงคนไปได้อย่างช้าที่สุด ถึงวัดเบญจมบพิตร
รถแล่นเร็วขึ้นได้บ้าง ตามทางที่ผ่านมา ได้ยินเสียงใครคนหนึ่งร้องขึ้นมาดังๆว่า
 “อย่าละทิ้งประชาชน”
อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า ถ้าประชาชนไม่
 “ทิ้ง” ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะ “ละทิ้ง” อย่างไรได้
แต่รถเด่นเร็วและเลยไปไกลเสียแล้ว...”


ในการเสด็จกลับไปศึกษาต่อในครั้งนี้ได้ทรงเปลี่ยนแผนการศึกษา
จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เป็น สาขาวิชารัฐศาสตร์
 และนิติศาสตร์แทนด้วยทรงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในพระราชภารกิจ
ที่เป็นพระมหากษัตริย์ต่อไป อย่างไรก็ดี ทรงยืนกรานที่จะศึกษาจนสำเร็จก่อน
แล้วค่อยเสด็จนิวัตประเทศไทย เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปกครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ด้านต่างๆนานัปการ
 อาทิ ด้านความสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ
พระองค์เสด็จฯไปเยือนประเทศต่างๆ ทั้งในแถบเอเชีย ยุโรป และอเมริกา
 เพื่อเป็นการเจริญทางพระราชไมตรีระหว่างประเทศกับบรรดามิตรประเทศ
ให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ทรงนำความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยไปยังประเทศต่างๆ
 เหล่านั้น ให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

กระทั่งเดือนมีนาคม ปี 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จนิวัตประเทศไทย เพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิง
พระบรมศพสมเด็จพระบรมเชษฐา หลังจากนั้นในวันที่ 28 เมษายน ปีเดียวกัน
 ความโศกสลดของปวงชนชาวไทยได้ทุเลาเบาบางลงบ้าง
 เมื่อทรงจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร
ซึ่งมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
 พระอัครมเหสี และต่อมาได้รับการสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศขึ้นเป็น
“สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี”

และแล้ววันที่ประชาชนชาวไทยรอคอยก็มาถึง
 เมื่อพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตามโบราณราชประเพณี
 ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบรมมหาราชวัง
ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 โดยครั้งนั้น ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
ทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน
จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราชอาณาจักรไทย
 โดยทศพิธราชธรรมจริยา
ขณะประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร

นับแต่วินาทีนั้นเป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 ก็ทรงยึดถือพระปฐมบรมราชโองการเป็นแนวทางแห่งการปกครองแผ่นดิน
 โดยทรงตั้งพระราชปณิธานว่า จะทรงร่วมรับมิว่าทุกข์หรือสุขของประชาชน
 เท่ากับทุกข์หรือสุขของพระองค์เอง จะทำความดี
 พัฒนานำความเจริญความสุขสวัสดีมาสู่ประเทศชาติอย่างแน่วแน่
 และดีที่สุดที่จะทรงทำได้

อย่างไรก็ดี เนื่องจากความจำเป็นทางพระสุขภาพ
 ที่จะต้องทรงอยู่ในความดูแลของแพทย์
จึงตัดสินพระทัยเสด็จฯไปสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง
 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2493
โดยหนึ่งปีหลังจากนั้น ได้ประสูติพระราชธิดาพระองค์แรกคือ
 “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี”
ที่เมืองโลซานน์ แต่ด้วยหน้าที่และสมควรแก่เวลา
 ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริจะเสด็จฯ
 กลับเมืองไทย เพื่อทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชน...

วันที่ 2 ธันวาคม 2494 พระประมุขแห่งประเทศไทย
พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี และพระราชธิดาองค์โต
ได้เสด็จนิวัตเมืองไทยถาวร ท่ามกลางความปลื้มปิติยินดีของประชาชน
 ซึ่งมารอเฝ้าฯ แน่นขนัดตลอดเส้นทางการเสด็จฯ
เมื่อทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้น จึงทรงมั่นพระทัยว่า
ประชาชนยังไม่ลืมพระองค์
และทุกคนพร้อมเป็นกำลังพระทัยแด่พระองค์เสมอ

ตลอดระยะเวลาของการเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้ทรงปกครองประเทศ
 พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าตลอดจนผู้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
ต่างได้รับความร่วมเย็นเป็นสุขภายใต้พระบารมี
และพระบรมเดชานุภาพเป็นที่ประจักษ์ของผู้คนทั้งหลาย

พระองค์ได้เสด็จฯเยี่ยมพสกนิกรไปทุกหนทุกแห่ง
ได้ทรงพบผู้คนในระดับล่าง แลกเปลี่ยน รับรู้ และทรงเข้าใจ
ในสภาพความเป็นอยู่ของคนเหล่านั้นและได้นำข้อเท็จจริงทั้งหลาย
อันนำมาซึ่งความทุกข์ยากต่างๆ ที่คนเหล่านั้นประสบมาหาแนวทางช่วยเหลือแก้ไข
 เป็นที่มาของโครงการพระราชดำริมากมายกว่าสี่พันโครงการ
 พิสูจน์ให้เห็นถึงพระปฐมบรมราชโองการดังกล่าวว่า พระองค์ท่าน
 "ครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
อย่างแท้จริง


พระราชกรณียกิจที่สำคัญต่อมาได้แก่
 พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตรและชลประทาน
ซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อชาติไทย
 และประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม
ประชาชนประมาณร้อยละ 80 เป็นเกษตรกร
 และส่วนมากก็เป็นชาวนาชาวไร่หรือเป็นเกษตรกรที่ยากจน

ปัญหาด้านความเดือดร้อนของราษฎรที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นส่วนใหญ่
จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเกษตร ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของเศรษฐกิจในประเทศ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการส่งเสริมและพัฒนา
ด้านเกษตรกรรมทุกแขนงอย่างจริงจัง นำมาใช้กับกิจกรรมด้านการเกษตร
และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอย่างถูกต้องสมบูรณ์และครบวงจรทุกขั้นทุกตอน

สำหรับการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ พระองค์จะเสด็จฯไปทอดพระเนตรต้นน้ำลำธาร
ในพื้นที่เกษตรและสภาพภูมิประเทศจริงๆ เพื่อให้ทราบข้อมูลอย่างถูกต้อง
 โดยพระองค์จะทรงมีแผนที่ติดพระหัตถ์อยู่เสมอ
 และจะทรงตรวจสอบชื่อและตำแหน่งที่ตั้งของแหล่งน้ำลำธาร
จากชาวบ้านอยู่เสมอว่าตรงกับแผนที่หรือไม่
 เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องก่อนที่จะทรงกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา

นอกจากนี้ ยังมีพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับด้านต่างๆ
 อีกจำนวนมาก อาทิ พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชนบท,
ด้านการปฏิรูปและพัฒนาที่ดิน, ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,
 ด้านสังคมสงเคราะห์, ด้านการแพทย์ สาธารณสุข และอนามัย,
ด้านการส่งเสริมการศึกษาของชาติ, ด้านศาสนา,
ด้านส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมของชาติ,
ด้านการทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร และลูกเสือชาวบ้าน,
ด้านการพัฒนาเยาวชนของชาติ, ด้านการส่งเสริมการกีฬา,
พระราชกรณียกิจด้านการเสด็จฯ เยี่ยมประชาชนทั่วประเทศ
 และพระราชกรณียกิจด้านการจัดตั้งโครงการ หน่วยงาน
และมูลนิธิต่างๆ เพื่อเป็นกำลังในการขับเคลื่อน ช่วยเหลือ
 และพัฒนาประเทศชาติ เพื่อให้ราษฎรของพระองค์มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

จากการพัฒนาในด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ
 กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยแก้ปัญหา
และพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ให้ประเทศไทยเจริญขึ้น
 และพระองค์ได้พระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อ
ให้ราษฎรของพระองค์นำไปปฏิบัติเพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
 เพื่อให้พบความสุขอย่างยั่งยืนจากการพอประมาณและการพึ่งพาตนเอง

ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติเป็นเวลา 67 ปี
 ซึ่งยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์ชาติไทยและในโลก
ตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์ทรงปฏิบัติพระองค์
ตามพระปฐมบรมราชโองการที่พระราชทานไว้เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 มาโดยตลอดว่า


เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ตุลาคม 2016, 15:47:40 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #79 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2014, 18:14:24 »

 

9 มิถุนายน วันอานันทมหิดล

พระราชประวัติ
http://www.youtube.com/watch?v=0HF3VAIPREU
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระราชสมภพ
 เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 2 ค่ำเดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468
 ณ เมือง ไฮเดเบอร์ก ประเทศเยอรมัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สอง
ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชนก
 (ขณะนั่นดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมขุนสงขลานครินทร์)
และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
 (ขณะนั่นทรงเป็น หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา)
เมื่อพระชนมายุ 3 พรรษา ได้เสด็จกลับประเทศไทย
พร้อมด้วยพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนี
 โดยเสด็จประทับ ณ วังสระปทุม ในปีต่อมาได้ทรงศึกษาชั้นอนุบาล ณ โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย 2 ปี แล้ว จึงเสด็จไปประทับต่อ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 ต่อมาภายหลัง
 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2477
สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลในขณะนั้นมีมติเห็นชอบให้อัญเชิญ
พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล (พระยศขณะนั้น)
ขึ้นครองราชย์สืบราชสันติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8
แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า
 "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล"
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477
แต่ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา
 จึงต้องทรงมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
 ซึ่งได้แก่พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์
พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา
 และเจ้าพระยายมราช ทำการบริหารแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลักจากขึ้นครองราชย์
 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ 13 พรรษา
 การเสด็จนิวัตรครั้งนี้โดยทางเรือชื่อ มีโอเนีย
พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอและสมเด็จพระอนุชา
 ซึ่งเมื่อเสด็จถึงปีนัง ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์สเตรทเอคโค
 ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า

"ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่จะได้เดินทางกลับสู่ประเทศอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า
และในอันที่จะได้เห็นประชาราษฎร์ของข้าพเจ้าเอง"


http://www.youtube.com/watch?v=gKgN4Lb3OAY

ตลอดระยะเวลา 2 เดือน ที่ทรงเสด็จประทับอยู่ในเมืองไทย
 ได้ทรงออกเยี่ยมราษฎรในที่ต่าง ๆ
 เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเฝ้าชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด
 จากนั้นได้ทรงเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 การคมนาคมติดต่อเป็นไป
โดยลำบากพระองค์ท่านจึงไม่ทรงมีโอกาสติดต่อกับประเทศไทย
 เมื่อสงครามสงบ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ซึ่งขณะนั้นกำลังศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์และเหลือเวลาอีกประมาณ 3 ปี
จะทรงได้รับปริญญาเอกจึงเสด็จ นิวัติกลับประเทศไทยอีกครั้ง
 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2488 ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ 21 พรรษา
ซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว

ในการเสด็จนิวัตเมืองไทยครั้งนี้
 เดิมทรงตั้งพระราชหฤทัยจะประทับอยู่ในเมืองไทยเพียง 1 เดือน
จากนั้นจะเสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอร์แลนด์
 เพื่อให้ทันการเปิดภาคเรียนใหม่ในกลางเดือนมกราคมแต่เนื่องจาก
ทรงมีพระราชกรณียกิจในฐานะประมุขของประเทศ มากมาย
ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นของชาติและพสกนิกร
ทำให้ทรงเลื่อนเวลาที่จะเสด็จพระราชดำเนิน
กลับสวิตเซอร์แลนด์ออกไปเป็นวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2489

สวรรคต

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงตั้งพระทัยจะทรงศึกษาปริญญาเอก
 สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยโลซาน
 ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์จนเรียบร้อยแล้ว
จึงจะเสด็จนิวัติพระนครเป็นการถาวรและทรงเข้ารับการบรมราชาภิเษกในภายหลัง
 แต่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อนด้วยพระแสงปืนในวั
นที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9 นาฬิกา
 ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง
 ก่อนกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน
 ในชั้นต้นทางราชการได้มีการแถลงข่าวสาเหตุการสววรคตว่าเป็นอุบัติเหตุจากพระแสงปืน

หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต
ได้อัญเชิญพระบรมศพมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
 พระบรมมหาราชวัง และจัดให้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิง
พระบรมศพในระหว่างวันที่ 28-29 มีนาคม พ.ศ. 2493 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง
 วันรุ่งขึ้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเก็บพระบรมอัฐิ
 และอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิประดิษฐานที่บุษบง
เหนือพระแท่นแว่นฟ้าทองภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
มุขตะวันตก และจัดให้มีการพระราชกุศลพระบรมอัฐิขึ้น
 หลังจากนั้น ได้อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน
 ณ พระวิมานชั้นบน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
 เสด็จพระราชดำเนินอัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคาร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ไปยังวัดสุทัศน์เทพวราราม
 และอัญเชิญพระบรมราชสริรางคารบรรจุลงในหีบ
พร้อมทั้งเคลื่อนหีบพระบรมราชสรีรางคารเข้าสู่พระพุทธบัลลังก์
พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม

พระราชภารกิจ

ทรงเสด็จออกรับการตรวจพลสวนสนามของฝ่ายพันธมิตร
ในประเทศไทยพร้อมด้วยลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตน
 แม่ทัพใหญ่ของอังกฤษ อันเป็นผลให้ภาพพจน์และฐานะของประเทศ
เป็นที่ยอมรับแก่ประเทศทางตะวันตกที่เป็นฝ่ายสัมพันธมิตร
ซึ่งก่อนหน้านี้ฐานะของประเทศไทยไม่ค่อยสู้ดีนักเนื่องจากในระหว่างสงครามโลก
 ประเทศต้องอยู่ในภาวะจำยอมที่ต้องให้ความร่วมมือแก่กองทัพญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝ่ายอักษะ
ทำให้เมื่อสงครามสงบแล้ว มีประเทศพันธมิตรหลายชาติไม่พอใจและถือโอกาสข่มขู่ไทย

การพระราชทานวินิจฉัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2489
ให้ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศในวันเสด็จเปิดสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง จีนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจ
ที่อยู่ข้างฝ่ายชนะสงครามทำให้ชาวจีนบางกลุ่มที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย
ทำการเรียกร้องสิทธิบางประการจากรัฐบาลไทย
 ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างชาวไทยกับจีน
 จนถึงขั้นก่อความไม่สงบและมีการรุมทำร้ายร่างกายคนไทยที่เรียกว่า
 "เสียพะ" อยู่เนือง ๆ เหตุการณ์นี้ได้ทวีความรุนแรงและขยายพื้นที่
อย่างกว้างขวางออกไปมากขึ้น จนเกือบจะกลายเป็นสงครามกลางเมือง
 เมื่อความบาดหมางระหว่างชาวไทยและชาวจีนนี้
ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ได้ทรงหาวิธีแก้ไขด้วยพระองค์เอง โดยทรงตระหนักว่าถ้าเสด็จฯ
ออกเยี่ยมเยียนท้องถิ่นชาวจีนที่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว
 ย่อมจะสามารถประสานรอยร้าวที่มีอยู่ ให้สนิทแน่นแฟ้นขึ้นได้
จึงทรงกำหนดการเสด็จเยี่ยมสำเพ็งอย่างเป็นทางการ
ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2489 พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
 และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ข่าวการเสด็จสำเพ็งครั้งนี้เป็นข่าวใหญ่
ที่สร้างความตื้นเต้นยินดีเป็นอย่างยิ่งแก่พ่อค้าชาวจีน
 และพ่อค้าอินเดียที่อาศัยอยู่แถบนั้น
เพราะเป็นครั้งแรกที่มีพระมหากษัตริย์เสด็จเยี่ยมสำเพ็งอย่างเป็นทางการ
 การเสด็จเยี่ยมเยียนครั้งนี้ทางใช้เวลานานถึง 4 ชั่วโมง
 เพราะมีชาวจีนมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทมากมาย
และการรับเสด็จก็เป็นไปอย่างมโหฬารด้วยความจงรักภักดีและเคารพบูชาอย่างสูง

พระราชกรณียกิจ

http://www.youtube.com/watch?v=iea4F51ZmsY

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช
 เสด็จเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สำเพ็ง พระนคร เมื่อ พ.ศ. 2489

การปกครอง
พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ
ฉบับใหม่ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
 และเปิดประชุมสภาผู้แทนในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489
 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ
และทรงเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สำเพ็ง พระนคร
 พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช
 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นช่วง
ที่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีน
จนเกือบเกิดสงครามกลางเมือง เมื่อพระองค์ทรงทราบเรื่อง
มีพระราชดำริว่า หากปล่อยความขุ่นข้องบาดหมางไว้เช่นนี้
จะเป็นผลร้ายตลอดไป จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็ง
 ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง และพระองค์ทรงพระราชดำเนิน
ด้วยพระบาทเป็นระยะประมาณ 3 กิโลเมตร
การเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็งในครั้งนี้จึงเป็นการประสานรอยร้าวที่เกิดขึ้นให้หมดไป

การศาสนา
ในการเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกนั้น
 พระองค์ได้ประกอบพิธีทรงปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ
ท่ามกลางมณฑลสงฆ์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481
นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธรูป
ในพระอารามที่สำคัญ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร
 และวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
 โดยเฉพาะที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารนั้น
 พระองค์เคยมีพระราชดำรัสกล่าวว่า "ที่นี่สงบเงียบน่าอยู่จริง"
ดังนั้น เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต
จึงได้นำพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้
พระองค์ยังทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะผนวชในพระพุทธศาสนา
โดยได้มีพระราชหัตเลขาถึงสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
 กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2489
ทรงขอสังฆราชานุเคราะห์ในการศึกษาตำราทางพระพุทธศาสนา
เพื่อใช้ในการเตรียมพระองค์ในการที่จะอุปสมบท
 แต่ก็มิได้ผนวชตามที่ตั้งพระราชหฤทัยไว้
 นอกจากนี้ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์บำรุงวัดวาอาราม
กับพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนาอื่นตามสมควร
**อ่านต่อกระทู้ล่าง**

  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #80 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2014, 18:17:42 »



การศึกษา
ในการเสด็จนิวัติพระนครในครั้งที่ 2
พระองค์ทรงได้ประกอบพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประเทศ
 โดยเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจการของหอสมุดแห่งชาติ
รวมทั้ง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมสถานศึกษาหลายแห่ง เช่น
 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์
ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ทรงศึกษาขณะทรงพระเยาว์
 นอกจากนี้ พระองค์ยังได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร
เป็นครั้งแรกของพระองค์ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 และอีกครั้งที่
 หอประชุมราชแพทยาลัย ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
 เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยในการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้
 มีพระราชปรารภให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน
โรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 จึงได้ถือกำเนิดขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
 ซึ่งในปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลังจากนั้น ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงหว่านข้าว
ณ แปลงสาธิต ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ซึ่งถือเป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย ก่อนเสด็จสวรรคต

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8
เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2498
ปวงชนชาวไทยต่างรำลึกถึงพระเมตตาธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณ
อันมีเป็นอเนกประการจึงร่วมใจน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน
โดยถือเอาวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี เป็น "วันอานันทมหิดล"
ในปี พ.ศ.2528 สมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์
ได้รวบรวมทุนจากเงินบริจาคของศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ
 "ทุกรุ่นจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึง
พระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงบันดาลให้เกิดคณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศให้ประชาชน
ได้รำลึกถึงพระองค์ท่านสืบไปโดยมอบให้ คุณไข่มุกด์ ชูโต
 เป็น ผู้ออกแบบและปั้น พระบรมรูปหล่อด้วยส่วนผสมทองเหลือง
และทองแดงขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง ในท่าประทับนั่งเหนือเก้าอี้
 ผินพระพักตร์ไปทางเบื้องขวาของพระองค์เล็กน้อย
 พระบรมรูปและเก้าอี้สูงประมาณหนึ่งเมตรครึ่ง
พระบรมราชานุสาวรีย์ประดิษฐานไว้หน้าตึกอานันทมหิดล
คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2529
เหตุการณ์สำคัญ
แม้ว่ารัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจะมีระยะเวลาสั้น
 แต่ก็มีเหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์เกิดขึ้น ได้แก่
1. เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2482 รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม
เป็นนายกรัฐมนตรีได้ประกาศเปลี่ยนชื่อจาก
ประเทศสยาม มาเป็น ประเทศไทย

 โดยมีเหตุผลว่า คำว่าสยามมักใช้กันแต่ในวงราชการ
 และในชาวต่างประเทศ ส่วนคนไทยนั้นโดยเฉพาะชาวบ้าน
ไม่ค่อยใช้คำว่าสยาม แต่ใช้คำว่าไทย อีกประการหนึ่ง
การขนานนามประเทศส่วนมากมักเรียกตามเชื้อชาติของคนเจ้าของประเทศนั้น
 คนไทยมีเชื้อสายไทย ควรชื่อประเทศให้ตรงกับเชื้อชาติ
 ต่อมาในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2488 รัฐบาลไทย
ซึ่งมีนายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี
ก็ได้มีประกาศการใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ อย่างเป็นทางการ
 โดยที่เชื่อของประเทศไทย ที่นิยมเรียกกันในต่างประเทศว่า
SIAM จนแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันมาช้านาน
 ฉะนั้นจึงให้ใช้ชื่อประเทศในภาษาอังกฤษว่า SIAM
รวมถึงชื่อประชาชนและชื่อสัญชาติว่า SIAMESE
สำหรับใช้ในภาษาต่างประเทศอื่น ๆ
 ให้ใช้ได้โดยอนุโลม ส่วนชื่อในภาษาไทยนั้นให้ใช้ชื่อ ไทย ตามเดิม

2. กำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ได้มีประกาศเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2483

3. การสร้างอนุสาวรีย์
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

สร้างขึ้นบนถนนประชาธิปัตย์ ตอนถนนพญาไทยกับถนนราชวิถีกรุงเทพมหานคร
อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติทหาร ตำรวจ และพลเรือน
ซึ่งได้สละชีพเพื่อชาติมีพิธีเปิด วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2485
อนุสาวรีย์นี้สร้างเป็นรูปดาบปลายปืน 5 แฉก
 บานเป็นวงกลมและมีรูปทองแดงเป็นทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ
ตำรวจสนาม และพลเรือน เดิมจารึกชื่อผู้ที่เสียชีวิตในการรบในสมรภูมิอินโดจีนจำนวน 59 นาย
 ในภายหลังได้จารึกชื่อทหารที่เสียชีวิตในสงครามเกาหลีเพิ่มขึ้นด้วย

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

สร้างขึ้นที่กึ่งกลางถนนราชดำเนินกลาง
ช่วงที่ถนนดินสอติดต่อกับถนนประชาธิปไตย กรุงเทพมหานคร
อนุสาวรีย์นี้รัฐบาลได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่า
ประเทศไทยมีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
ได้มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2483
ลักษณะเด่นของอนุสาวรีย์นี้ คือ
พานรัฐธรรมนูญตั้งอยู่กลางป้อมอนุสาวรีย์ รอบอนุสาวรีย์มีปีก 4 ด้าน

4.สะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ที่ชื่อว่า
 สะพานข้ามแม่น้ำแคว สร้างเสร็จเมื่อเดือน กันยายน พ.ศ.2486
และรถไฟสายมรณะ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
ญี่ปุ่นที่ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร
ได้ขอเดินทัพผ่านประเทศไทยในการ
 ทำสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
 และได้ยกพลขึ้นบกอย่างกะทันหัน
ตามจังหวัดชายทะเลของไทยประเทศไทยจำยอมต้องให้ญี่ปุ่นผ่าน [/size]





  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #81 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2014, 18:21:38 »



ที่มารถโตโยต้าของในหลวง

พยายามเขียนจากความจำนะครับ
สำหรับทุกท่านโดยเฉพาะคนอายุเลย 40 ปี คงจำกันได้ดี ปีที่เกิดวิกฤตการเงิน IMF ปี 2540
ตอนนั้นทุกธุรกิจเกิดความระส่ำระสายไปหมด ทั้งภาวะที่เกิดขึ้นจริงและข่าวลือ
มีข่าวใหญ่ในวงการธุรกิจปรากฎเป็นระลอกๆว่าโตโยต้าจะถอนกำลังการประกอบรถยนต์จากประเทศไทย
ทำให้เกิดความกังวลไปทั่วว่าหากข่าวที่ว่าเป็นจริง บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรถยนต์ คงเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ต้องมีคนตกงานเพิ่มทุกระดับชั้น ทั้งผู้บริหารและระดับล่างรวมทั้งจะเป็นว่าธุรกิจญี่ปุ่นที่ลงทุนในไทย อาจจะถอนตัวตามไปด้วย ข่าวลืออึมครึมอยู่สักพักหลายวันพอสมควร

วันหนึ่งผู้บริหารโตโยต้าก็ได้รับโทรศัพท์จากในวังว่า ในหลวงทรงขอสั่งซื้อรถโตโยต้า 1 คัน โดยมีรับสั่ง..
"ไม่ต้องรีบประกอบก็ได้ รวมทั้งให้ใช้มือผลิตก็ได้
จะได้ใช้แรงงานเยอะๆ อยากให้ใช้เวลาในการประกอบนานๆ เพราะพระองค์มิได้ทรงเร่งร้อนอะไร"
ทางโตโยต้าต้องประชุมผู้บริหารโดยด่วน เพื่อตีความพระราชกระแสรับสั่ง
จนเข้าใจได้ถูกว่าพระองค์ท่านหมายความว่าอะไร จึงออกข่าวยืนยันกับสื่อมวลชนว่า โตโยต้ายืนยันที่จะทำธุรกิจที่เมืองไทยไม่ไปไหน เพียงแค่นั้นข่าวลือต่างๆที่โหมทำลายภาวะเศรษฐกิจที่แย่อยู่แล้วก็หมดไป

ภาคส่วนธุรกิจพอทราบข่าวดังกล่าวก็มีกำลังใจที่จะช่วยกันฟันฝ่าวิกฤตเพราะรู้ว่าพระองค์ท่านอยู่กับเรา พระองค์ท่านทรงอยู่กับเราไม่ทิ้งเราไปไหน
จนเมื่อเวลาเหมาะสมทางโตโยต้าจึงนำรถ Soluna ไปถวายในหลวง ในหลวงได้พระราชทานเงินให้ ซึ่งโตโยต้าจะไม่รับ แต่พระองค์บอกว่าให้นำเงินนี้ไปจัดทำโครงการช่วยสังคม จึงเป็นที่มาโรงสีข้าวรัชมงคล เพื่อสีข้าวให้ชาวนาอย่างเป็นธรรมและคุณภาพดี หลายท่านคงทราบว่าหลายๆตัวแทนจำหน่ายโตโยต้า นอกจากจะจำหน่ายรถยนต์แล้ว ยังขายข้าวถุงรัชมงคลอีกด้วย

ท่านครับ..ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์หนักหนาสาหัสเพียงใด ในหลวงไม่เคยทรงทอดทิ้งพสกนิกรของพระองค์แน่นอนครับ
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน

  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ตุลาคม 2016, 16:31:05 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
Kitiga
Super Hero7
*

พลังน้ำใจ: 11185
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,703


« ตอบ #82 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2014, 23:16:23 »

 
บันทึกการเข้า
ML
Super Hero7
*

พลังน้ำใจ: 4582
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048

.


« ตอบ #83 เมื่อ: 10 มิถุนายน 2014, 07:16:17 »



                        
บันทึกการเข้า
♥✿ (เอ๋) ✿♥
สมาชิกกิตติมศักดิ์วีไอพี
✤ Webmaster ✤
ยอดปรมาจารย์ C11

Diamond Hero 9
*

พลังน้ำใจ: 246855
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 370,707



« ตอบ #84 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2014, 09:43:35 »




        
บันทึกการเข้า
ขวัญเองจ้า
Junior Public Relations
Golden Hero 8
*

พลังน้ำใจ: 52701
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 44,899



« ตอบ #85 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2014, 15:18:59 »




 

บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #86 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2014, 21:05:36 »





.วันนี้ในอดีต..


เหตุการณ์วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475.

สถาบันพระปกเกล้าฯ

รุ่งอรุณของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 กำลังทหารบก ทหารเรือ
ก็ได้มารวมกันที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ทั้งหมดเป็นกองกำลังในพระนคร
 บุคคลเหล่านี้มารวมกันโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว จากคำสั่งปลอมทั้งของกองทัพบกและกองทัพเรือ
 ส่วนนายทหารอื่น ๆ ที่คุมกำลังได้ตามเสด็จไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชวังไกลกังวล
หัวหิน พวกที่รู้ตัว ได้แก่ ผู้นำก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
 ซึ่งได้ถือโอกาสประกาศคำสั่งของคณะปฏิวัติต่อทหารบกและทหารเรือที่มาชุมนุมกัน ณ ที่นั้น
 ผู้ที่ประกาศคำสั่งของคณะปฏิวัติก็คือ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
ซึ่งขึ้นไปยืนอยู่บนรถถังร้องประกาศแก่เหล่าทหารที่มาชุมนุมกันว่า
 บัดนี้คณะราษฎรได้ทำการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เพื่อที่จะจัดตั้งรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยขึ้นปกครองประเทศ
 ทหารทั้งหลายพากันโห่ร้องต้อนรับคณะปฏิวัติ
เนื่องจากมีความไม่พอใจระบอบการปกครองแบบเก่าอยู่แล้ว
 แต่บางคนก็จำใจทำไปอย่างสับสนต่อเหตุการณ์ขณะนั้น
คณะปฏิวัติได้ควบคุมสถานการณ์ไว้ได้โดยสิ้นเชิง
 และได้เชิญเจ้านายและพระราชวงศ์บางพระองค์ที่คุมกำลังทหารมากักไว้
โดยให้ประทับอยู่ภายในพระนั่งอนันตสมาคมเพื่อเป็นองค์ประกันของคณะราษฎร
 โดยเฉพาะสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชอำนาจมากที่สุด
โดยคุมกำลังทหารและพลเรือนของประเทศส่วนใหญ่ไว้
 และได้ทูลให้ลงพระนามประกาศที่คณะราษฎรนำมาถวายซึ่งมีข้อความว่า

“ด้วยตามที่คณะราษฎรได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินไว้ได้
โดยมีความประสงค์ข้อใหญ่ที่จะให้ประเทศสยามได้มีธรรมนูญการปกครองแผ่นดินนั้น
 ข้าพเจ้าขอให้ทหาร ข้าราชการ และราษฎรทั้งหลายจงช่วยกันรักษาความสงบ
 อย่าให้เสียเลือดเนื้อ ของคนไทยด้วยกันโดยไม่จำเป็นเลย”

คณะปฏิวัติได้อาศัยประกาศนี้ซึ่งเป็นเสมือนคำรับรองจากผู้มีอำนาจสูงสุดขณะนั้น
ออกคำสั่งให้ส่วนราชการทุกแห่งทั่วประเทศ
รวมทั้งกำลังทหารหัวเมืองควรปฏิบัติหน้าที่ไปตามปกติ โดยไม่มีการหยุดชะงักใด ๆ เลย

ฝ่ายพลเรือนของคณะปฏิวัตินำโดยนายควง อภัยวงศ์ ได้ปฏิบัติงานในวันนี้ด้วยเช่นกัน
โดยออกตระเวนตัดสายโทรเลข โทรศัพท์ ทั้งพระนครธนบุรี
เพื่อปิดกั้นการติดต่อสื่อสารและสั่งการในสายการบังคับบัญชา
หรือติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งพระองค์ทรงประทับอยู่
 ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ส่วนนายปรีดี พนมยงค์
มันสมองของคณะปฏิวัติได้จัดทำแถลงการณ์ของคณะปฏิวัติ
เพื่อแจกและแถลงต่อสื่อมวลชนในวันปฏิวัตินั้นด้วยเช่นกัน

เมื่อเหตุการณ์ภายในพระนครวังเป็นไปด้วยดี
 คณะราษฎรก็ได้ทำหนังสือราชการซึ่งลงนามโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
 พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิอัคเนย์
ส่งไปกราบถวายบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน
 และอัญเชิญในหลวงกลับสู่พระนครเป็นกษัตริย์
ภายใต้รัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินซึ่งคณะราษฎรได้ร่างขึ้น


ในวันที่ 25 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรก็ได้รับคำตอบ
จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากหัวหิน
 แจ้งว่าพระองค์ทรงยอมรับความสิ้นสุดแห่งพระราชอำนาจสิทธิของพระองค์
และทรงรับทราบถึงการตั้งรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย
 ในแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขของประเทศ
 พระองค์ได้ทรงมีรับสั่งด้วยว่า พระองค์เองก็ได้ทรงคิดที่จะให้ประเทศไทย
ได้มีรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้วเหมือนกันและทรงตั้งพระทัยว่า
 พระองค์จะทรงดำรงตำแหน่ง องค์พระประมุขของรัฐ
 และได้ทรงพระราชทานอภัยโทษโดยลงพระปรมาภิไธยในกฎหมาย
นิรโทษกรรมซึ่งร่างขึ้นทูลถวายโดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม
นิรโทษกรรมให้แก่คณะราษฎรผู้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินในครั้งนั้น
รวมความแล้วความสำเร็จในการปฏิวัติครั้งนี้
 ส่วนสำคัญประการหนึ่งขึ้นอยู่กับความว่องไวของคณะราษฎรและการปฏิบัติหน้าที่
อย่างเคร่งครัดตามกฎระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของฝ่ายรัฐบาลคือ
ทราบแผนการปฏิวัติก่อนแต่อ้างว่ายังไม่มีอำนาจจับกุม
 หลังจากได้ปรึกษากับกระทรวงยุติธรรมแล้ว
 ความชักช้าเหล่านี้เอื้ออำนวยให้การเปลี่ยนแปลงการปกครอง
เป็นไปโดยสะดวกตามแผนที่วางไว้สมบูรณ์ที่สุด


แนวนโยบายและหลักการของคณะราษฎร
 แนวนโยบายของคณะราษฎรซึ่งกำหนดขึ้นมีอยู่ด้วยกัน 10 ประการ
 ซึ่งกำหนดเป้าหมายกว้าง ๆ เพื่อให้งานของคณะราษฎรสำเร็จลุล่วงตามความประสงค์ก็คือ

1. ต้องให้มีพระเจ้าแผ่นดินตลอดไป
2. ต้องทำเพื่อประชาธิปไตย
3. ต้องฟังความเห็นซึ่งกันและกัน
4. ต้องมีความเห็นอันเที่ยงตรง
5. ต้องทำเพื่อมุ่งจรรโลงประเทศให้ก้าวหน้า
6. ต้องไม่ทรยศต่อประเทศชาติ
7. ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต
8. ต้องไม่เย่อหยิ่งลืมตัว
9. ต้องมีความประพฤติดี
10. ต้องรักษาหน้าที่โดยเด็ดขาดและเที่ยงตรง


ส่วนหลักการของคณะราษฎรนั้นศึกษาได้จากประกาศของคณะราษฎรดังนี้คือ
1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น
 เอกราชในทางการเมือง การศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง

2.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

3.ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ
 โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ
 จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

4.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)

5.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 5 ประการดังกล่าวข้างต้น

6.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

จากแนวนโยบายและคำประกาศของคณะราษฎรบอกให้เข้าใจถึงสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ
ที่เป็นสาหตุของการปฏิวัติ พ.ศ.2475 และหลังจากการปฏิวัติสำเร็จลงแล้ว
 ผู้นำการปฏิวัติได้วางหลักการปกครองบ้านเมืองไว้ด้วยโดยครอบคลุมด้านการเมือง
เศรษฐกิจและสังคม เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ 3 วัน
 คือในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธย
ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้ โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นผู้ร่างและนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย

นับว่าเป็นการมอบอำนาจการปกครองแก่คณะราษฎร
เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร
เข้ามาปกครองประเทศตามรัฐธรรมนูญ
 รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้จึงมีผลเป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์และเป็นกฎหมาย
ที่เริ่มศักราชใหม่แห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
 ในด้านการปกครองได้มีการตั้งผู้นำฝ่ายบริหารราชการแผ่นดินอย่างรีบด่วนคือ
 ให้พันเอกพระยาพหลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารและ
ได้ประกาศแต่งตั้งผู้แทนราษฎรชุดแรกขึ้นจำนวน 70 คน
โดยคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิในคณะราษฎร และอื่น ๆ
และได้มอบอำนาจการปกครองแผ่นดินให้แก่สภาผู้แทนราษฎร
(เป็นสภาเดียวสมาชิกมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด)
 ซึ่งเปิดประชุมครั้งแรกในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2475

จากการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 28 นั้น
 ได้มีการแต่งตั้งคณะรัฐบาลชั่วคราวขึ้นโดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร และมีกรรมการราษฎรอีก 14 นาย
 ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้นรัฐบาลจึงเป็นรัฐบาลภายใต้รัฐสภาคือ
ฝ่ายบริหารอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐสภาโดยตรงและฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจยุบสภา
 สภาผู้แทนได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้น
ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศต่อไป และเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้ ณ วันที่ 10 ธันวาคม 2475




  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ตุลาคม 2016, 09:53:04 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #87 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2014, 21:28:57 »





“…ประเทศไทยจะสามารถพ้นวิกฤตการณ์ได้ดีกว่าหลายประเทศ
 เพราะแผ่นดินนี้ยังเหมาะสมกับความเป็นอยู่ได้ อย่างที่เคยพูดมาหลายปีแล้วว่า ภูมิประเทศยัง”ให้”
 คือความเหมาะสม แต่ความเป็นอยู่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องอยู่อย่างประหยัด และต้องไปในทางที่ถูกต้อง...”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว
พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐



"เหนือเกล้าในแผ่นดิน"
""..ที่ของข้าพเจ้าในโลกนี้ คือ การได้อยู่ท่ามกลางประชาชนของข้าพเจ้า นั่นคือคนไทยทั้งปวง.."
เป็นหนึ่งในภาพที่ได้ชมแล้วประทับใจภาพนี้ ขณะทรงงานในพื้นที่ ทรงประทับนั่งกับพื้นอย่างไม่ถือพระองค์กับราษฎร
ความเรียบง่ายในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงเป็นที่มาแห่งความรักและจงรักภักดีต่อพระองค์เกินจะเอ่ยสิ่งใดๆมาเปรียบได้
..ทรงงานหนักแบบนี้มายาวนานถึง ๗๐ ปี ในแผ่นดินของพระองค์เพื่อให้ ความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎร
 ร่มเย็นเป็นสุขสืบไป ทั่วผืนแผ่นดิน...แห่งกรุงกรุงรัตนโกสินทร์..ของคนไทยทั้งปวง


  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ตุลาคม 2016, 15:55:50 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #88 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2014, 21:59:23 »



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
คำพ่อสอน...'ปัญหาเป็นเรื่องธรรมดาโลก'

". . .ในการดำเนินชีวิตและการประกอบกิจการงาน
ย่อมจะต้องมีปัญหาต่างๆ เป็นอุปสรรคขัดขวางความสำเร็จอยู่เสมอ

คนก็มีปัญหาของคน..สังคมก็มีปัญหาของสังคม..ประเทศก็มีปัญหาของประเทศ...แม้กระทั่งโลกก็มีปัญหาของโลก ..ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตและกิจการงานจึงเป็นเรื่องธรรมดา

ข้อสำคัญ..เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นจะต้องแก้ไขให้ลุล่วงไปโดยไม่ชักช้า

ผู้ใดมีสติปัญญาคิดได้ดี..ปฏิบัติได้ถูก ผู้นั้นก็มีหวังบรรลุถึงเป้าหมายมีความสำเร็จสูง
ถ้าเป็นตรงกันข้าม ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จสมหวังได้. . ."

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๓๙




  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ตุลาคม 2016, 16:34:31 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #89 เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2014, 09:11:50 »



'จดจ่ออยู่กับปัจจุบัน'

ในหลวงทรงประยุกต์ 'พระสมาธิ' ในการประกอบพระราชกรณียกิจทุกอย่างทั้งน้อยและใหญ่
จึงทรงสามารถเผชิญกับพระราชภาระอันหนักในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ได้ โดยไม่ทรงสะทกสะท้านหรือหวั่นไหว

ไม่ทรง 'คาดการณ์ล่วงหน้า' ไปไกลๆ อย่างเลื่อนลอยและเปล่าประโยชน์

ไม่ทรง 'อาลัย' อดีตหรืออนาคต ไม่ทรงเสียเวลาหวั่นไหวไปกับความสำเร็จ หรือความล้มเหลวอันเป็นเรื่องที่ผ่านพ้นไปแล้ว

แต่ทรง 'จดจ่อ' อยู่กับ 'ปัจจุบัน' ทรงสนพระทัยอยู่แต่กับพระราชกรณียกิจเฉพาะพระพักตร์เท่านั้น

(ความเห็นของข้าราชบริพารท่านหนึ่งต่อ 'การจดจ่อทรงงานของในหลวง')

ภาพ : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานโดยมิได้หยุดหย่อนที่จังหวัดสกลนคร ราวเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๓ ณ วัดศรีสุข บ้านสร้างฟาก อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร



  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ตุลาคม 2016, 16:06:28 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #90 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2014, 08:08:21 »



..บุญของคนไทย..ที่ไม่เคย..ไร้พระเจ้าแผ่นดิน..







ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์(ภาพวาด)
...ผลงานโดย ศาสตราจารย์ปัญญา  เพช็รชู...

โปรดคลิกชมที่ลิงค์
http://fatherofthelandbynamfon.blogspot.com/2013_03_01_archive.html

ภาพตัวอย่าง








ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์..ผลงานโดย..สุวิทย์  ใจป้อม..
"ไม่มีคำบรรยาย มีแต่ความจงรักภักดีที่มีต่อ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของชาวไทย"











ศิลปินยูเครนวาดทรายถวายในหลวง
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=gWJYGQ4El_Q" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=gWJYGQ4El_Q</a>

  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กรกฎาคม 2014, 09:31:50 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
แว่นแก้ว
Senior Public Relation
Golden Hero 8
*

พลังน้ำใจ: 46080
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 41,834


คนที่แย่กว่าเราก็มี แล้วจะท้อแท้ทำไม


« ตอบ #91 เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2014, 08:51:43 »

y|m y|m y|m y|m

http://www.apichokeonline.com/index.php/topic,216.0
ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ถูกกฎหมายเท่านั้น
ห้ามโพสต์การพนันที่ผิดกฎหมาย
บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #92 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2014, 21:45:12 »


"เมื่อจะทำงาน...

...อย่าหยิบยกเอาความขาดแคลนเป็นข้ออ้าง

จงทำงานท่ามกลาง 'ความขาดแคลน' ให้บรรลุผล

จงทำด้วยความตั้งใจและซื่อสัตย์"

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๘



  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ตุลาคม 2016, 16:02:00 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #93 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2014, 22:13:38 »



แนวคิด “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นคำที่ประชาชนชาวไทย
ได้ยินกันมาอย่างต่อเนื่องตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งหลายภาคส่วน
ทั้งภาคประชาชน ภาคราชการ และภาคเอกชน
ต่างพยายามน้อมนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันและประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานในองค์การ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร


เมื่อปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงถูกน้อมนำไปปฏิบัติอย่างแพร่หลาย
 ทำให้ความหมายและรูปแบบการปฏิบัติเริ่มหลากหลายและเบี่ยงเบนไปจากกรอบแนวคิดหลัก
 วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
 ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยและพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานบทความเรื่อง
“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ
ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่นๆ
 มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานฯ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป โดยมีความว่า
“เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ
 ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ
ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง
โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์
 ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล
 รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ
 อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้
ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน
 และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ
โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม
ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน
 มีความเพียรพยายามมีสติปัญญา และความรอบคอบ
 เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
 และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”
“เศรษฐกิจพอเพียง”
ไม่จำเป็นต้องต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์หรือสิ่งทันสมัยต่างๆ
 ทุกคนในสังคมสามารถนำไปใช้ได้ แต่มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการใช้จ่ายอย่างขี้เหนียว
การห้ามเป็นหนี้ การยอมรับสภาพ หรือการไม่ขวนขวายทำสิ่งใด
 ความหมายที่ลึกซึ้งของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การคำนึงถึงความพอประมาณ คือ
 ให้ทำอะไรด้วยความพอดี ไม่มาก หรือน้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
 ดำเนินชีวิตให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท
อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
เปรียบเสมือนการสร้างเสาเข็มสร้างฐานให้แข็งแรงมั่นคง ไม่ว่าพายุใดๆ เข้ามา
หรือจะต่อเติมสร้างเพิ่มในภายหลัง บ้านก็จะยังคงยืนหยัดอยู่ได้


พระบรมราโชวาทเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ได้พระราชทานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้คนไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2517
ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ความว่า
“...การพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น
 ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน
โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา
 เมื่อพื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว
จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป
 หากมุ่งแต่จะสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว
 โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย
ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด
 ดังเห็นได้ที่อารยประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอยู่ในเวลานี้...”


หากพิจารณาพระบรมราโชวาทให้ดีจะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
 ทรงมีความเป็นห่วงประเทศชาติเป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ประชาธิปไตยกำลังเบ่งบาน
 เนื่องจากเป็นช่วงหลังเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ไม่นานนัก
 อีกทั้งเป็นช่วงที่ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3
ซึ่งเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้โตแบบก้าวกระโดด พัฒนาอุตสาหกรรมแทนการนำเข้า
ประเทศมีหนี้มากเพราะต้องกู้เงินจากต่างประเทศ ซึ่งในการชำระหนี้คืนนั้นก็โดยวิธีส่งออกสินค้าเกษตร
 จึงทำให้ต้องเพิ่มการผลิตสินค้าเกษตร เป็นผลให้ต้องลดพื้นที่ปลูกป่าและปลูกพืชเศรษฐกิจแทน
 พระองค์จึงพระราชทานหลักปรัชญานี้ให้คนไทยเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
และเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นไม่ก้าวกระโดด
 อยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท
และในปี พ.ศ. 2517 ปีเดียวกันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
 ยังได้พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอีกครั้งหนึ่งไว้อย่างกระชับชัดเจน
 ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่คณะบุคคล ในโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
 ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย
 สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ความว่า
“...คนอื่นจะว่าอะไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย
 ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งสมัยใหม่ แต่เราอยู่พออยู่พอกิน
 และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะทำให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ
และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน
 ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ
 เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้
 ประเทศต่างๆ ในโลกนี้กำลังตก กำลังแย่ กำลังยุ่ง เพราะแสวงหาความยิ่งยวด ทั้งในอำนาจ
ทั้งในความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ทางอุตสาหกรรม ทางลัทธิ
 ฉะนั้นถ้าทุกท่านซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความคิดเหมือนกัน ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดีพอสมควร
ขอย้ำ พอควร พออยู่ พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่ง คุณสมบัตินี้จากเราไปได้
ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวร ที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล...”


พระราชดำรัสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเน้นถึง พอควร พออยู่ พอกิน มีความสงบ
 ซึ่งกระชับแต่มีความหมายชัดเจน คนไทยส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเลยทำให้ขาดความสนใจ
 จนเมื่อปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจอย่างหนัก พนักงานถูกปลดเป็นจำนวนมาก
 ค่าเงินบาทถูกลดค่าลงอย่างมาก ผู้ประกอบการล้มละลายจำนวนมาก
 ช่วงเวลานั้นเองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอีกครั้งหนึ่ง
 ดังพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2540 ความว่า
“...ความจริงเคยพูดเสมอในที่ประชุมอย่างนี้ว่า การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน
 แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง
 อันนี้ก็เคยบอกว่าความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว
 จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร
 บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่
ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่างๆก็มาบอกว่าล้าสมัย จริง
อาจจะล้าสมัย คนอื่นเขาต้องมีการเศรษฐกิจที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่าเป็นเศรษฐกิจการค้า
 ไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง เลยรู้สึกว่าไม่หรูหรา แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่า ผลิตให้พอเพียงได้...”
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจึงได้ถูกนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง
จนปัญหาภาวะวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศเริ่มคลี่คลาย
 นับว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ช่วยให้พสกนิกรสามารถผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนั้นไปได้
 และปัจจุบันแนวคิดของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกน้อมนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง
และกว้างขวางมากขึ้นทั้งภาคเอกชนและหน่วยงานต่างๆ
ดังจะเห็นจากผลลัพธ์ของหลายต่อหลายท่านที่ปฏิบัติตาม
และพบทางออกของชีวิตที่พึ่งพาตนเองได้ และมีความสุขอย่างแท้จริง

คำนิยาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

มีหลักจำง่ายๆ คือประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ และเงื่อนไข 2 เงื่อนไข ดังนี้


ห่วงที่ 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป
โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ห่วงที่ 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น
 จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
ห่วงที่ 3. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยมีเงื่อนไขของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง 2 ประการ ดังนี้

เงื่อนไข 1. เงื่อนไขความรู้ องค์ประกอบในการทำงานทุกอย่างต้องเริ่มต้นจากความรู้
 ซึ่งต้องรู้ลึก รู้กว้าง และสามารถนำวิชาการต่างๆนั้นมาวางแผนและดำเนินการ
ทุกขั้นตอนอย่างรอบคอบและระมัดระวัง เพราะหากไม่มีความรู้ การนำไปปฏิบัติอาจมีปัญหา
เงื่อนไข 2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน
 คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

เครดิต มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ตุลาคม 2016, 16:18:22 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #94 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2014, 18:16:42 »

ตามรอยพ่อ

ทฤษฎีใหม่




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริ
 "ทฤษฎีใหม่" เพื่อเป็นแนวทางการบริหารจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร
 เป็นการแก้ไขการขาดแคลนน้ำทำการเกษตร
 ซึ่งเป็นปัญหาซ้ำซากของเกษตรกรไทย ด้วยหลักการที่ว่า

"...แบ่งที่ดินเป็นสามส่วน..ส่วนหนึ่งเป็นที่สำหรับปลูกข้าว..
อีกส่วนสำหรับปลูกพืชไร่ พืชสวน..และก็มีที่สำหรับขุดสระน้ำ..."
"ทฤษฎีใหม่...เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะทำให้
ประชาชนมีกินแบบตามอัตภาพคือ อาจไม่รวยมากแต่ก็พอกิน ไม่อดอยาก..."


ทรงวิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีการบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
 และทรงให้ทดลองที่วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรีเป็นแห่งแรก




โครงการ 'ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน'
 (ตอนที่1) "อัศจรรย์..เลี้ยงปลาบึกในนา"
โครงการของหอการค้าไทยและบ.เกษตรสนองแผ่นดิน

ทุกคนคงสงสัยว่า "ทำได้จริงหรือ"
โครงการดำเนินการต่อยอดภายใต้ปรัชญา
 "เกษตรทฤษฎีใหม่" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 แปลงนาได้รับการออกแบบใหม่ให้เป็นไปตามแนวทฤษฎีของพระองค์
 แบ่งสัดส่วนพื้นที่ออกเป็น 30:30:30:10 ในพื้นที่ 1 ไร่
 ถูกจัดเป็น น้ำ : 480 ตารางเมตร นา : 480 ตารงาเมตร
 สวน : 480 ตารางเมตร และบ้าน 160 ตารางเมตร นั่นเอง

การปรับสัดส่วนเช่นนี้ ทำให้เกษตรกรได้พบเรื่องราวใหม่ๆอีกมากมาย
อย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น ปลูกผักได้มากขึ้นกว่าเดิม
 เลี้ยงปลาได้มากกว่าเดิมอีกมาก เกษตรกรเองเมื่อกลับมาคำนวณผลผลิต
ที่จะได้แล้วไปไกลกว่า 1 ไร่ 1 แสนอีกหลายเท่า
 และเชื่อมั่นว่ายังมีความลับชั้นดีที่คาดไม่ถึงอีกมากมายในเกษตรทฤษฎีใหม่อย่างแน่นอน

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ..ด้านกสิกรรมมีการปลูกพืชได้มากกว่า 50 ชนิด..
ด้านประมง เลี้ยงกุ้ง หอย ปู ปลา กบ ครบทุกชนิด..
ด้านปศุสัตว์ นอกจากเลี้ยงเป็ดไข่ ไก่ไข่แล้ว ยังมีการเลี้ยงหมู 'เหมยซาน' อีก 2 ตัวทุกแปลง

สิ่งที่ค้นพบใหม่นำความตื่นเต้นมาให้อย่างยิ่ง..
ด้านกสิกรรม มีการปลูกพืชที่หาได้ยากหลายอย่างเป็นผลสำเร็จ
 เช่น ฟักทองดำ การปลูกข้าวโพดที่สามารถสร้างรายได้จากพืชอื่นก่อนเก็บข้าวโพด
**ที่สำคัญ..ทางการประมง มีการเลี้ยง 'ปลาบึก' 10 ตัว
ให้เติบโตได้ดีในนาข้าว เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน
 การเลี้ยงปลาแรดแปลงละ 20 ตัว ปลาสลิด 25,000 ตัว
ที่น่าทึ่งก็คือ ในบริเวณเดียวกันมีทั้งปลาดุกและปลาช่อน
 แต่ปลาสลิดก็อยู่ได้ด้วยปราการธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์
 การเลี้ยงกบ 2,000 ตัวในนาข้าวได้ราคาดี จึงนับเป็นรายได้อีกทาง

ถามว่าหากมีแมลงมารบกวนแปลงนา จะฉีดยาอะไร?
"ไม่ต้องฉีดยาฆ่าแมลง เพราะว่ามีกบ กบหนึ่งตัวกระโดดกินแมลงได้เป็นเมตร
 กบหนึ่งตัวกินแมลงได้ 4,800 ตัว มีกบอยู่ 2,000 ตัว
 ช่วยกินแมลงได้ฤดูละเกือบ 10 ล้านตัว จะเอายาฆ่าแมลงมาฉีดอะไร..
" นายอดิศร พวงชมภู ประธานโครงการกล่าว





พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เคยประทานสัมภาษณ์ไว้ว่า..

"..ยังมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการหนึ่งที่ดีมาก
 แต่ไม่ได้ออกข่าวหรือโฆษณาใดๆ จึงไม่ค่อยมีคนรู้จักเท่าที่ควร

โครงการที่ว่านี้คือ'การส่งเสริมสุขภาพจิต'
มีขึ้นตามหมู่บ้านป่าไม้หลายๆ แห่ง ที่เด่นที่สุดก็ที่หมู่บ้านป่าไม้แม่ตะไคร้ จังหวัดเชียงใหม่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปยังหมู่บ้าน
 ทรงทำความรู้จักคุ้นเคยกับชาวบ้าน ด้วยการพระราชทานสิ่งของ
แล้วทรงบอกให้ชาวบ้านสวดมนต์และประพฤติตนเป็นคนดี
 ในที่สุดชาวบ้านในหมู่บ้านทั้งหมดก็หันมาประพฤติตนดี เลิกกินเหล้าเมายา"





ทรงเป็นต้นแบบ “ประชาพิจารณ์”

"..ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จฯ ไปทรงงานตามที่ต่างๆ
 จะทอดพระเนตรจากแผนที่ทางอากาศก่อนว่าควรจะเสด็จฯ
 ที่ไหน หรือจะทรงแก้ปัญหาในพื้นที่อย่างไร เช่น
 สามารถนำน้ำจากตรงนี้ไปเลี้ยงนาตรงโน้น
 ได้ประโยชน์และจะต้องมีรายจ่ายจากการก่อสร้างหรือดำเนินงานเท่าไหร่
จะได้ผลจ่ายกลับคืนภายในกี่ปี

  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ตุลาคม 2016, 16:15:56 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #95 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2014, 18:35:39 »

ตามรอยอดีต “ประพาสต้นบนดอย”


คลิกอ่านที่ลิงค์
http://www.chaoprayanews.com/2012/07/13/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%95-%E2%80%9C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%99/

ถนนที่เริ่มคดเคี้ยวบอกใบ้ว่าเรากำลังไต่ระดับขึ้นสู่เขตพื้นที่สูง จุดหมายปลายทางของฉันอยู่ที่สถานีเกษตรของมูลนิธิโครงการหลวงซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ และห่างจากชายแดนพม่าเพียงไม่กี่กิโลเมตร

ก่อนหน้านี้ชื่อโครงการหลวงที่ฉันคุ้นเคยตามผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่หาซื้อได้ในกรุงเทพ ทำให้คิดเสมอว่าแต่ละบาทแต่ละสตางค์ของเราได้ช่วยกระจายรายได้สู่เกษตรกรบนพื้นที่สูง


แต่เมื่อการเดินทางจบลง ความรู้ใหม่ที่ได้รับคือ เราไม่ได้ช่วยเหลือพวกเขาแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น  พวกเขายังช่วยให้คนเมืองกรุงอย่างฉันมี “ตัวเลือก” มากขึ้นในการบริโภคพืชผักผลไม้ทั้งเมืองหนาวและเมืองร้อน (ยังไม่รวมผลิตภัณฑ์แปรรูปอีกสารพัดชนิด) ที่สะอาดและปลอดภัยจากเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรและยาฆ่าแมลง 

“ผมขึ้นมาครั้งแรกเดือนเมษายนปี 2517 พื้นที่แถบนี้เป็นภูเขาหัวโล้นทั้งหมด ชาวบ้านแผ้วถางป่า ทำไร่ แล้วก็เผา”จำรัส อินทร เจ้าหน้าที่รุ่นแรกของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เท้าความหลังถึงสถานีเกษตรหลวงแห่งแรกในความทรงจำ “พวกเขาเผาทำไร่ฝิ่นครับ”

ในยุคนั้น ฝิ่นและข้าวไร่ถือเป็นพืชพื้นฐานสองชนิดที่ชาวเขานิยมปลูกบนพื้นที่สูงของไทย ข้าวไร่นั้นปลูกสำหรับบริโภคในครัวเรือน

ส่วนฝิ่นนอกจากใช้แทนยาบรรเทาความเจ็บป่วยสารพัดแล้ว ยังเป็นแหล่งรายได้สำคัญอีกด้วย



 “พระเจ้าอยู่หัวท่านทรงสนพระทัยชีวิตของราษฎร เวลาเสด็จฯไปเชียงใหม่ ท่านทรงทราบว่าบนดอยมีชาวเขา แต่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่กันอย่างไร

นอกจากเรื่องปลูกฝิ่นแล้ว ไม่มีใครรู้เรื่องราวเหล่านี้เลย ท่านเสด็จฯโดยเฮลิคอปเตอร์แล้วทรงพระดำเนินต่อไป จึงทรงทราบว่าชาวเขาทำลายต้นน้ำลำธารเพื่อปลูกฝิ่น แต่ว่าไม่ร่ำรวยอย่างที่คนเขาคิดกันหรอก



สามเหลี่ยมทองคำนี่ พระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งว่าไม่ใช่ทองคำหรอก แต่เป็นสามเหลี่ยมยากจน  คนปลูกฝิ่นไม่ได้เงินเท่าไหร่  คนเอาฝิ่นไปขายต่างหากถึงรวย” หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ทรงเล่าถึงที่มาของโครงการหลวง



ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” ขึ้นเพื่อทดลองและส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวทดแทนฝิ่น ซึ่งนำไปสู่การแก้ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำอย่างเป็นระบบ ภายหลังโครงการนี้ได้พัฒนาต่อมาจนกลายเป็น “โครงการหลวง” ซึ่งเป็นรู้จักอย่างกว้างขวางในทุกวันนี้



 เมื่อแสงแรกทาบทาพ้นแนวทิวเขาขึ้นมา ชาวเขาในชุดประจำเผ่าเทินตระกร้าสานสะพายบนหลังด้วยท่วงท่าทะมัดทะแมง บ้างเดิน บ้างขี่มอเตอร์ไซค์  มุ่งหน้าสู่เรือกสวนไร่นา ที่แปลกตาไปหน่อยเห็นจะเป็นชุดประจำเผ่าที่ใส่คู่กับรองเท้าบูตยาง



หลายชั่วอายุคนมาแล้ว ชาวเขาเดินเท้าเปล่าหรือไม่ ก็ลากรองเท้าแตะขึ้นดอยจนกลายเป็นความเคยชิน รองเท้า บูตยางจึงเป็น “ของแปลกใหม่” ที่พวกเขาต้องใช้เวลาทำความรู้จักและรับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ฉันใดก็ฉันนั้น การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตดั้งเดิมที่สืบทอดกันมายาวนานอย่างการปลูกฝิ่นจึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยทั้งเวลา ความเข้าใจ และความอดทน

“เราเข้าไปทำงานนี่ เราไปบอกว่าเราจะช่วยเขา มันเหมือนเขาลำบากอยู่ แต่จริงๆแล้ว  วิถีชีวิตเขาเป็นแบบนั้นเอง” สมชาย เขียวแดง ผู้อำนวยการสถานีเกษตรหลวงอ่างขางและศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์ เล่าถึงหลักการในการส่งเสริมพืชเมืองหนาวเพื่อทดแทนฝิ่น “เราเริ่มจากการทำงานสาธิตในศูนย์ ปลูกผัก ปลูกไม้ผล บ๊วย พีช พลับ เพื่อเรียนรู้ด้วยตัวเองก่อนว่าปลูกได้ไหม แล้วก็เป็นตัวอย่างให้แก่ชาวบ้าน นอกจากนั้นเราก็ไปเยี่ยม ศึกษาชาวบ้าน เรียนรู้ทัศนคติของเขา” สมชายเล่า







ที่สะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ บรรดาผู้เข้าเฝ้าฯได้รับฟังเรื่องเล่าพระราชทานเพิ่มเติมว่า
เมื่อชาวบ้านในพื้นที่พอมีอันจะกินแล้ว ก็อยากได้สิ่งอื่นๆ ตามมา สิ่งแรกที่พวกเขาอยากได้ คือ “ถนน”

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงรับสั่งถามชาวบ้านว่า “อยากกินฝุ่น หรือ อยากกินข้าว”

             ชาวบ้าน บอกว่า อยากกินข้าว รับสั่งว่า “งั้นเอาน้ำไปก่อนนะ ถนนค่อยตามมาทีหลัง”

 ที่มา : นสพ.บ้านเมือง


 
พระอารมณ์ขัน..'คนที่แบงค์'

เช้าวันหนึ่ง เวลาประมาณ 7 โมงเช้า
 นางสนองพระโอษฐ์ของทูลกระหม่อมฟ้าหญิงองค์เล็ก
 ได้รับโทรศัพท์เป็นเสียงผู้ชาย ขอพูดสายกับฟ้าหญิง
ทางนางสนองพระโอษฐ์ ก็สอบถามว่าใครจะพูดสายด้วย
 ก็มีเสียงตอบกลับมาว่า คนที่แบงค์ นางสนองพระโอษฐ์ก็ งง...งง
ว่าคนที่แบงค์ ทำไมโทรมาแต่เช้า แบงค์ก็ยังไม่เปิดนี่นา
แต่พอฟ้าหญิงรับโทรศัพท์แล้วถึงได้รู้ว่า
คนที่แบงค์น่ะ...ก็ที่แบงค์จริงๆนะ ไม่เชื่อเปิดกระเป๋าตังค์
 แล้วหยิบแบงค์มาดูสิ (ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงทรงตรัสกับในหลวงท่านอยู่นั่นเอง)





 
พระอารมณ์ขัน.."แต่งซะหล่อ"


นายสอน ดวงปากดี เข้าเฝ้าฯ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขณะเสด็จฯ ทอดพระเนตรฝายชาวบ้านในลำห้วยเรือ
ณ บ้านดงน้อย ตำบลดงมะไฟ อ.เมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๗

"หลังจากนายสอนคลายความตื่นเต้นลง เนื่องจากได้เข้าเฝ้าฯ
 อย่างกระทันหัน จึงได้ขอพระบรมราชานุญาตไปเปลี่ยนเสื้อผ้า
แล้วกลับมาในชุดเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว
ทรงมีพระราชดำรัสเย้านายสอนว่า..แต่งซะหล่อ"

(หนึ่งในภาพจากโครงการ'ภาพประทับใจในหลวงของฉัน'
ภาพโดยนางพรรณพร สมบัติทวี ฝ่ายช่วยอำนวยการและประสานงานราชการกรมชลประทาน)



  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ตุลาคม 2016, 13:35:05 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
ML
Super Hero7
*

พลังน้ำใจ: 4582
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048

.


« ตอบ #96 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2014, 16:37:04 »



               love ขอให้โชคดี และมีความสุขค๊ะ
บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #97 เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2014, 17:39:57 »


วันที่ 28 ก.ค.57 วันคล้ายวันพระราชสมภพ
 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
 ทรงเจริญพระชนมายุ 62 พรรษา


ในทุก วันที่ 28 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ
 ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
 พระองค์ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495
เมื่อเวลา 17.45 น. ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระรางวังดุสิต

พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียว
 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
 พระนามเดิมของพระองค์ คือ
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ
 บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรง สุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช
ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร


เย็นวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2495 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ เช้าวันรุ่งขึ้น วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2495 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชเดือนขึ้นพระอู่ขึ้น ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

ทรงวางพระราชภัณฑ์ลงในพระอู่ตามพระราชประเพณี แล้วพระมหาราชครูเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ฯ ขึ้นพระอู่ พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทเวียนเทียนครบรอบตามประเพณี สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดขับไม้มโหรีขับกล่อมถวายพระพรในวาระนี้ด้วย ในการนี้มีการถ่ายทอดเสียงในพระราชพิธีทางวิทยุไปทั่วประเทศ

พระองค์ทรงสำหรับการศึกษาขั้นต้นในโรงเรียนจิตรลดา แล้วจึงเสด็จศึกษาต่อที่โรงเรียนคิงส์มีด ที่แตว้นซัสเซกส์ และโรงเรียนมิลฟิลด์ แคว้นซอมเมอร์เซท ที่ประเทศอังกฤษ จากนั้นพระองค์ได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนคิงส์สกูล ซิดนี่ย์ และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยการทหารดันทรูน แคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย


ภายหลังการเสด็จกลับมาประเทศไทย ทรงรับราชการทหาร และ ศึกษาต่อในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 46 พ.ศ. 2520 จากนั้นพระองค์ทรงศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รุ่นที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2525 และ หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จากประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2533

ทั้งนี้พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นพลเอกสามเหล่าทัพด้วยกัน ได้แต่ พลเอกกองทัพบกไทย พลเรือเอกกองทัพเรือไทย และพลอากาศเอกแห่งกองทัพอากาศไทย

ด้านการแพทย์ พระองค์ ทรงโปรดให้สร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ขึ้น เพื่อให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยในถิ่นทุรกันดาร พระองค์ทรงเป็นองค์นายกกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช พระองค์ทรงมีพระราชปณิธานให้เอาใจใส่รักษาพยาบาลพสกนิกรของพระองค์ ให้ปลอดภัยจากความเจ็บไข้โดยทั่วหน้าเสมอกัน

ด้านศาสนา พระองค์ มีพระราชศรัทธาออกบวชในพระพุทธศาสนา โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดให้จัดการพระราชพิธีผนวช ณ พัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ ได้รับถวายพระสมณนามว่า “วชิราลงฺกรโณ” และได้ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดจนทรงลาสิกขา ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521



พระองค์ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปปฏิบัติพระราชกิจทางพระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ เช่น เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และการถวายผ้าพระกฐินหลวงตามวัดต่าง ๆ เป็นต้น

ด้านการเกษตร พระองค์ ทรงเจริญรอยตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาและวัชพืชอื่น ๆ เป็นปฐมฤกษ์ เพื่อพระราชทานแก่เกษตรกร สำหรับนำไปใช้ในการเพาะปลูกเป็นการเพิ่มผลผลิต ที่บ้านแหลมสะแก ต.เดิมบาง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2528 และยังมีพระราชกรณีกิจด้านการเกษตรอื่นๆ อีกมากมาย

 

เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ
 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ
 สยามมกุฎราชกุมาร วันที่ 28 กรกฎาคม 2557 ทรงเจริญพระชนมายุ 62 พรรษา..
.ปวงข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลฝ่าพระบาท
 ถวายพระพรชัยมงคล ขอฝ่าละอองพระบาททรงพระสิริสวัสดิ์
 มีพระพลานามัยแข็งแรง ทรงพระเกษมสำราญ
 ปราศจากโรคาพยาธิพิบัติภัยใดมาแผ้วพาน ขอจงทรงพระเจริญ
 เป็นมิ่งขวัญแก่ปวงพสกนิกรชาวไทยตลอดไป ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม




 

  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ตุลาคม 2016, 09:57:21 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #98 เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2014, 17:58:44 »




**..พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
 เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพวรางกูร สิริกิติยสมบูรณสวางควัฒน์
 วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิดลพงศอดุลยเดช
จักรีนเรศยุพราชวิสุทธ สยามมกุฎราชกุมาร..**





"ข้าพเจ้า ขอพระราชทานกระทำสัตย์ปฏิญาณสาบานต่อประเทศชาติ
 และประชาชนชาวไทย เฉพาะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
 เฉพาะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ท่ามกลางสันนิบาตนี้ว่า
 ข้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นมกุฎราชกุมาร จะรักษาเกียรติยศและอิสริยศักดิ์
 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานไว้เสมอด้วยชีวิต
 จะภักดีต่อชาติบ้านเมือง จะซื่อสัตย์ต่อประชาชน
 จะปฏิบัติหน้าที่ทุกอย่างโดยเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถและโดยความเสียสละ
เพื่อความเจริญ ความสงบสุข และความมั่นคงไพบูลย์ของประเทศชาติไทย
จนตราบเท่าชีวิตร่างกายจะหาไม่"


พระราชดำรัสในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ที่มีขึ้นหลังพระราชพิธีเฉลิมพระนามาภิไธย


ดังจะเห็นว่า พระราชกรณียกิจใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ที่ทรงปฏิบัติเพื่อพสกนิกรคนไทยนั้น ดั่งพระราชดำรัสในทุกประการ มาจนถึงทุกวันนี้ พระราชกรณียกิจในพระองค์แตกขยายไปทุกด้าน ทั้งสังคม การศึกษา ศาสนา การทหาร เกษตรกรรม และการต่างประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีวิถีชีวิตที่ขึ้น อย่างในด้านการทหาร ด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โปรดทหารและเครื่องบินมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ กระทั่งทรงเจริญพระชันษาก็ทรงเลือกศึกษาด้านการทหารและการบิน

ด้านการทหารนั้นทรงเริ่มรับราชการมาตั้งทรงพระยศ "ร้อยตรี" จนปัจจุบันทรงดำรงพระยศทางทหารของ ๓ เหล่าทัพ คือ พลเอก พลเรือเอก และพลอากาศเอก พร้อมกับทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการทหารมาอย่างต่อเนื่อง โดยทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการร้ายในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่ในบริเวณรอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชา ที่เขาล้าน จังหวัดตราด ด้วย แม้เป็นพระราชภารกิจที่ต้องทรงเสี่ยงภยันตราย แต่ด้วยทรงเป็นชายชาติทหาร และเพื่อความผาสุกของพสกนิกร เพื่อมนุษยธรรมต่อผู้ประสบทุกข์ยาก จึงทรงปฏิบัติพระราชภารกิจดังกล่าวโดยเต็มพระราชกำลัง


ด้านการบิน ทรงเข้ารับการฝึกตั้งแต่หลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป จนถึงหลักสูตรนักบินขับไล่ไอพ่นสมรรถนะสูง และในการแข่งขันการใช้อาวุธทางอากาศประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๒ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำคะแนนได้สูงตามกติกา กองทัพอากาศจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องหมายความสามารถในการใช้อาวุธทางอากาศชั้น ๑ นอกจากนี้ยังทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการบินในฐานะนักบินโบอิ้ง ๗๓๗-๔๐๐ และต่อมาทรงเข้ารับหลักสูตรกัปตันจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ทรงได้รับตำแหน่งนักบินที่ ๑ และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก จากกรมการขนส่งทางบก

ในช่วงเกิดอุทกภัยและเกิดปัญหาความขัดแย้งใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ยังทรงใช้พระปรีชาสามารถด้านการบิน ทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ ๑ เครื่องบินโบอิ้ง ๗๓๗-๔๐๐ ใน "เที่ยวบินพิเศษมหากุศล สายใยรักแห่งครอบครัว ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และจัดหาอุปกรณ์ด้านการแพทย์สำหรับโรงพยาบาลใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้" เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่-กรุงเทพฯ

ด้านการแพทย์ และการสาธารณสุข ทรงตระหนักว่า สุขภาพพลานามัยอันดีของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างสรรค์ทรัพยากรบุคคลอันมีคุณภาพไว้เป็นพลังในการพัฒนาประเทศ จึงสนพระราชหฤทัยในการประกอบพระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข เช่น เมื่อรัฐบาลได้น้อมเกล้าฯถวายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เนื่องในพระราชพิธีอภิเษกสมรสจำนวน ๒๑ แห่ง ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ พระองค์ก็ได้ทรงพระอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ พระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนให้มีอุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย เพื่อสามารถให้บริการที่ดีแก่ประชาชน และเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗ ทรงรับเป็นประธานกรรมการอำนวยการจัดสร้างอาคารศูนย์โรคหัวใจ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เป็นต้น

ด้านการศาสนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ยังทรงฝักใฝ่เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา ทรงหาโอกาสในวันหยุด เสด็จฯ ไปถวายสักการะสมเด็จพระสังฆราช และทรงเยี่ยมนมัสการพระเถระผู้ใหญ่เพื่อทรงสนทนาพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมกันนี้ยังเสด็จฯ แทนพระองค์ไปปฏิบัติพระราชกิจทางพระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ เช่น เสด็จฯ แทนพระองค์ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล เสด็จฯ แทนพระองค์ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และการถวายผ้าพระกฐินหลวงตามวัดต่างๆ เป็นต้น

ด้านเกษตรกรรม ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อส่งเสริมการเกษตรอันเป็นอาชีพหลักของปวงชนชาวไทยตลอดมา เช่น เสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชพิธีพืชมงคล ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นประจำ และเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๙ ได้เสด็จฯ ไปทรงทำปุ๋ยหมักเป็นปฐมฤกษ์จากผักตบชวาและพืชอื่นๆ ณ บ้านแหลมสะแก ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช และได้เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในการทำนาสาธิตโดยใช้ปุ๋ยหมัก ณ ตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๒๙ ในการนี้ ได้ทรงปฏิบัติการสาธิตการทำนาด้วยพระองค์เอง โดยเมื่อพระราชทานอุปกรณ์การทำนา พันธุ์ข้าวปลูก และปุ๋ยหมักแก่ข้าราชการ ผู้ใหญ่ไปดำเนินการสาธิตแล้ว ได้ทรงถอดฉลองพระบาท ถลกพระสนับเพลา ทรงพระดำเนินลุยโคลน หว่านพันธุ์ข้าวปลูกและปุ๋ยหมักในแปลงนาสาธิต โดยมิได้มีกำหนดการไว้ก่อน ยังความชื่นชมโสมนัสปลาบปลื้มปีติและซาบซึ้งในพระราชจริยวัตรแก่บรรดาข้าราชการและประชาชนที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาทในวันนั้นเป็นอย่างยิ่ง

ด้านสังคมสงเคราะห์ ทรงพระกรุณาห่วงใยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนที่ด้อยโอกาสและขาดแคลน ทรงพระอุตสาหะเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมชุมชนแออัดในกรุงเทพฯ หลายแห่ง เช่น ชุมชนแออัดเขตพระโขนง เขตคลองเตย เขตยานนาวา เป็นต้น ทรงพระกรุณาพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องกีฬา เครื่องดับเพลิง โปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารในบังคับบัญชาของพระองค์ ร่วมกับประชาชนพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทั้งยังพระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนโครงการของชุมชน เช่น โครงการพัฒนาเด็กเล็กที่ขาดแคลน โครงการปราบปรามยาเสพย์ติดในหมู่เยาวชนชุมชนแออัดคลองเตย เพื่อให้เยาวชนผู้ด้อยโอกาสเหล่านั้นเติบโตเป็นพลเมืองดีและเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

แม้กระทั่งในช่วงเกิดมหาอุทกภัยเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๔ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีรับสั่งว่า "โดนด้วยกัน จมด้วยกัน อยู่ด้วยกัน ช่วยและปลอบใจซึ่งกันและกัน ไปรอดด้วยกัน ร่วมพัฒนาฟื้นฟูด้วยกัน" นั่นเองจึงเป็นกำลังใจที่สำคัญแก่ประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมในครานั้น และเห็นได้ชัดว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไม่เคยทิ้งประชาชน ขณะเดียวกันยังเสด็จฯ ทั้งโดยรถยนต์พระที่นั่งยีเอ็มซี และประทับเรือยนต์พระที่นั่ง พร้อมพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ไปทรงเยี่ยมและพระราชทานความช่วยเหลือ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ถุงยังชีพ และครัวพระราชทาน เพื่อประกอบอาหารช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ยังความปลื้มปีติแก่ประชาชนเป็นอย่างยิ่ง


เครดิต คม ชัด ลึก เมือวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕


 

  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ตุลาคม 2016, 09:58:35 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #99 เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2014, 18:13:31 »



ที่มาของบทเพลงพระราชนิพนธ์ความฝันอันสูงสุด
คลิกอ่านที่ลิงค์
http://www.chaoprayanews.com/2016/10/25/%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%81-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9A/



  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ตุลาคม 2016, 13:56:13 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
แท็ก:
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เว็บไซต์ในเครือข่ายอภิโชค "เว็บมหาชน คนมหาโชค"
 
คติ "กินอยู่อย่างพอเพียง เสี่ยงโชคแต่พอควร"
ข้อมูลในเว็บนี้ใช้ประกอบเสี่ยงโชคสำหรับซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเท่านั้น ไม่สนับสนุนหวยที่ผิดกฏหมาย
คำเตือน -ทางเว็บไม่ได้ทราบเป็นการล่วงหน้าว่าหวยทางกองสลากจะออกตัวไหน แต่เราใช้การวิเคราะห์หรือประเมินตามหลักสถิติ
หรือวิธีการอื่นว่า เลขที่มีโอกาสออกมากที่สุดในแต่ละงวดควรจะเป็นเลขอะไรเท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ การเล่นหวยถือว่ามีความเสียงมาก
Sitemap | Contact | WAP | xHTML | iMode | WAP 2 | RSS

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines | Sitemap
อภิโชค เลขเด็ด หวยดัง หวยเด็ด เว็บหวยออนไลน์ คำนวณหวยบนดิน ©
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.68 วินาที กับ 24 คำสั่ง
Copyright (c) 2008-2022 apichokeonline.com