อภิโชค เลขเด็ด หวยดัง หวยเด็ด เว็บหวยออนไลน์ คำนวณหวยบนดิน
29 มีนาคม 2024, 06:17:35 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ผลงานห้อง VIP (งวด 16 มี.ค.67)
อ.apichoke ปักหลักสิบหน่วย เข้า 2-6
อ.janya ถูกตรงเลขท้ายย๒ตัว 78
อ.goodrich ถูกตัวกลับเลขท้ายย๒ตัว 87
อ.พริม ฟันธงชุดเดียว ถูกตรงๆ เลขท้าย๒ตัว 78

ออก 626-78
   หน้าแรก   หวยรัฐบาล SUPER VIP หนังสือหวย VIP สมัคร vip ช่วยเหลือ แท็ก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก Register  
ฝากภาพ i-pic
หน้า: 1 ... 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 [20]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แล้วใครล่ะ...จะไม่รัก..  (อ่าน 829229 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #475 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2015, 16:17:34 »





๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ " เนื่องในโอกาส มหามงคล
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบรอบ ๗๐ ปี
พระองค์ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี
เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ
พร้อมด้วยพระบรมวงศ์ ในการพระราชพิธีฉัตรมงคล
 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย


คลิกชมภาพและข่าวอย่างละเอียด

http://welovethaiking.com/blog/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9-8/







ในหลวงเสด็จฯ ในการพระราชพิธีวันฉัตรมงคล ๕ พ.ค. ๒๕๕๘






วันนี้ 5 พ.ค.2558 เมื่อเวลา 10.25 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร
 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
จากโรงพยาบาลศิริราช ไปในการพระราชพิธีวันฉัตรมงคล 5 พ.ค. 58






ซึ่งในวันที่ 5 พ.ค.นี้ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
 เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ โดยประกอบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี






และพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการแก่พสกนิกรชาวไทยว่า
"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
เป็นที่มาของพระราชกรณียกิจนานัปการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอุทิศพระองค์เพื่อประชาชนคนไทย
ทุกหมู่เหล่าตลอดระยะเวลา 65 ปีที่ผ่านมา
















ทั้งนี้ บรรยากาศบริเวณโดยรอบโรงพยาบาลศิริราช
และเส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
มีประชาชนจากทั่วสารทิศต่างพร้อมใจกันคอยต้อนรับเสด็จฯ กันอย่างเนืองแน่น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระพักตร์ที่สดใส ทรงยิ้มให้แก่พสกนิกร
 ประชาชนต่างกู่ร้องทรงพระเจริญดังกึกก้อง.


  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พฤศจิกายน 2016, 14:52:30 โดย FIRE » บันทึกการเข้า

FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #476 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2015, 16:38:56 »

๕ พฤษภาคม วันฉัตรมงคล
รำลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี



วันฉัตรมงคล ของทุกปีตรงกับ วันที่ 5 พฤษภาคม
วันสำคัญอีกวันหนึ่งของปวงชนชาวไทย ที่อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร
 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ควรรำลึกถึง

        และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น สำหรับในปี พ.ศ. 2558 นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ทรงครองสิริราชสมบัติเข้าสู่ปีที่ 69




ความหมายของวันฉัตรมงคล

       วันฉัตรมงคล (อ่านว่า ฉัด-ตระ-มง-คน) มีความหมายตามพจนานุกรมว่า
พระราชพิธี ฉลองพระเศวตฉัตร ทำในวันซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก


<a href="http://www.youtube.com/v/_fErKm21SLM?version=2&amp;amp;hl=th_TH&amp;amp;color3=00FFFF&amp;amp;&amp;aborder=&amp;autoplay=&amp;loop=1" target="_blank">http://www.youtube.com/v/_fErKm21SLM?version=2&amp;amp;hl=th_TH&amp;amp;color3=00FFFF&amp;amp;&amp;aborder=&amp;autoplay=&amp;loop=1</a>




ความหมายและความสำคัญของ " ฉัตร"

"เราอยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพก็เหมือนอยู่ใต้ฉัตรของพระองค์ท่าน
ที่คุ้มเกล้าคุ้มกระหม่อมให้มีความร่มเย็นเป็นสุข และได้ฉัตรนี้เป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ
มองได้หมายรู้ว่าพวกเราคนไทยต่างอยู่ฝ่ายเดียวกันใต้ร่มฉัตรเดียวกัน
คนใดที่ไม่อยากอยู่ใต้ร่มพระบารมีก็โปรดถอยห่างออกนอกร่มฉัตรไป จะได้รู้ว่าอยู่ใต้ฉัตรคนละคัน..."

วันฉัตรมงคล แปลตามตัว คือ วันเฉลิมฉลองเศวตฉัตร
 เป็นสัญลักษณ์ของสิริราชสมบัติหรือความเป็นพระมหากษัตริย์
 สมัยก่อนเวลาแย่งชิงราชสมบัติกัน กวีจะใช้คำว่า “ชิงฉัตร”
วันฉัตรมงคลจึงเป็นวันสมโภชสิริราชสมบัติ
 พูดตามภาษาธรรมดาให้ง่ายเข้าอีกก็คือวันที่ระลึกถึงการเข้ารับตำแหน่งพระมหากษัตริย์นั่นเอง

ฉัตร หมายถึง ร่ม ใช้กันแดดกันลมกันฝน แต่นานเข้าก็ใช้เป็นเครื่องสูงประกอบเกียรติยศ
 ยิ่งไปไหนมีคนถือคันฉัตรเดินตามไม่ต้องถือเองยิ่งดูหรูหราสง่างาม
 พระราชามหากษัตริย์ของเอเชียเสด็จไปทางไหนจะมีฉัตรไว้กันแดด
และไว้ประกอบเกียรติยศทั้งนั้น แม้แต่เวลาออกทำสงคราม
เคยเห็นภาพแกะสลักอายุ ๒,๐๐๐ ปี
ที่ถ้ำอชันต้าและถ้ำเอลโลร่าในอินเดียเรื่องสงครามมหาภารตะ
แม่ทัพสองฝ่ายประจันหน้ากันอยู่กลางสนามรบต่างก็มีฉัตรของ
 ตนดูไปแล้วน่าจะเป็นเครื่องหมายบอกฝ่ายได้เหมือนกัน
 ทหารแต่ละฝ่ายจะได้จำได้หมายถูกว่าจอมทัพของตนอยู่ตรงไหน

เมื่อฝ่ายใครรบชนะฝ่ายตรงข้ามได้ มักเป็นธรรมเนียมที่จะยึดเอาฉัตรของฝ่ายที่แพ้มาประดับบารมีตน
 เวลายาตรากลับเข้าเมืองราษฎรมักมาโห่ร้องต้อนรับเห็นทิวแถวราชวัติฉัตรธงขนาบขบวนเสด็จยาวเฟื้อย
ช่างชวนให้ปลื้มปีติในชัยชำนะยิ่งนัก ต่างจะชี้ชวนให้ดูว่าฉัตรคันโน้นเป็นของเจ้าแคว้นโน้น
ฉัตรคันนั้นเป็นของเจ้าแคว้นนั้น รวมแล้วคือพ่ายแพ้แก่เจ้าแคว้นเราทั้งนั้น

พอได้ฉัตรมากขึ้นเพราะชนะมากเข้า จะเที่ยวแยกส่วนเป็นคัน ๆ
 เดินถืออยู่ก็ดูจะไม่เป็นพระเกียรติยศ เพราะอาจล้มคว่ำคะมำหงาย
จึงมีผู้ออกปัญญาให้เอามาทำเป็นชั้น ๆ ซ้อนกัน ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น
แทนที่จะเดินถือ ๗ คัน ๙ คัน ให้พะรุงพะรัง จึงกลายเป็นการบูรณาการฉัตรไป
 ยิ่งซ้อนกันมากชั้นยิ่งแสดงว่ามีพระเกียรติยศมาก ชนะศึกมามาก
 แต่ถ้าชนะถึง ๑๐ เมือง ๒๐ เมืองเห็นจะทำฉัตรซ้อนกันถึง ๒๐ ชั้นไม่ไหว
 คงโงนเงนไปมา ดีไม่ดีลมพัดฉัตรหักโครมลงมาทับตาย
จึงถือเป็นธรรมเนียมว่าถ้าได้ฉัตรถึง ๙ ชั้นเห็นจะสูงสุดพอแล้ว
 แค่นี้ก็เป็นพระจักรพรรดิขัตติยราชาธิบดีได้

รายละเอียดที่สมบูรณ์ นิทรรศการพลังแผ่นดิน
อัศจรรย์งานศิลป์ แผ่นดินสยาม
https://m.facebook.com/profile.php?id=388723421244559



 


ความสำคัญของวันฉัตรมงคล

        วันฉัตรมงคล เป็นวันที่รำลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9
แห่งราชวงศ์จักรี และราชอาณาจักรไทย ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ
ต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
และดำรงพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช”เนื่อง
 จากยังมิได้ทรงผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ก็เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป
 จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะ จึงได้เสด็จนิวัตประเทศไทย


<a href="http://www.youtube.com/v/Fg5TebiSrik?version=2&amp;amp;hl=th_TH&amp;amp;color3=00FFFF&amp;amp;&amp;aborder=&amp;autoplay=&amp;loop=1" target="_blank">http://www.youtube.com/v/Fg5TebiSrik?version=2&amp;amp;hl=th_TH&amp;amp;color3=00FFFF&amp;amp;&amp;aborder=&amp;autoplay=&amp;loop=1</a>


ดังนั้น รัฐบาลไทยและพสกนิกร จึงได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม
จัดงานพระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตรหรือรัฐพิธีฉัตรมงคล หรืออาจเรียกว่าพระราชพิธีฉัตรมงคล
 ซึ่งกระทำในวันบรมราชาภิเษก ถวายเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493


        ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น ว่า
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

       ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พสกนิกรชาวไทยจึงได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคม
 ของทุกปีเป็นวันฉัตรมงคล เพื่อน้อมรำลึกถึงวันสำคัญนี้



ความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

       การจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น มีหลักฐานปรากฏในหลักศิลาจารึก
วัดศรีชุมของพญาลิไทว่า เริ่มต้นมาตั้งแต่ครั้งพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาว
หรือ พ่อขุนบางกลางท่าว ให้เป็นผู้ปกครองเมืองสุโขทัย

       จากนั้น ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีบรมราชาภิเษกให้ถูกต้องสมบูรณ์ โดยพระมหากษัตริย์
ที่ยังมิได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะไม่ใช้คำว่า “พระบาท” นำหน้า
“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และคำสั่งของพระองค์ก็ไม่เรียกว่า “พระบรมราชโองการ”
และอีกประการหนึ่งคือ จะยังไม่มีการใช้ นพปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตร 9 ชั้น




  

ความเป็นมาของพระราชพิธีฉัตรมงคล

       ก่อนหน้ารัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พระราชพิธีฉัตรมงคลถือเป็นพิธีของเจ้าพนักงานในพระราชฐาน ที่มีหน้าที่รักษาเครื่องราชูปโภคและพระทวารประตูวัง
 ได้จัดการสมโภชสังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตนรักษาทุกปีในเดือนหก และเป็นงานส่วนตัว ไม่ถือเป็นงานหลวง

       จนกระทั่ง สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ได้ทรงกระทำพิธีฉัตรมงคลขึ้นเป็นครั้งแรก
 ในวันบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2393

       โดยมีพระราชดำริว่า วันบรมราชาภิเษกเป็นมหามงคลสมัยที่ควรแก่การเฉลิมฉลองในประเทศที่มีพระเจ้าแผ่นดิน
 จึงถือให้วันนั้นเป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลกาล และควรที่จะมีการสมโภชพระมหาเศวตฉัตรให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ

        แต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่ ยากต่อการเข้าใจ อีกทั้งเผอิญที่วันบรมราชาภิเษกไปตรงกับวันสมโภชเครื่องราชูปโภคที่มีแต่เดิม

        พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงอธิบายว่า วันฉัตรมงคลเป็นวันสมโภชเครื่องราชูปโภค จึงไม่มีใครติดใจสงสัย

        ดังนั้น จึงได้มีพระราชดำริจัดงานพระราชกุศลพระราชทานชื่อว่า “ฉัตรมงคล” นี้ ขึ้น
 โดยได้มีการเฉลิมฉลองด้วยการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพุทธมนต์ ในวันขึ้น 13 ค่ำเดือน 6
รุ่งขึ้นมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และพระที่นั่งไพศาลทักษิณ

        ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าการเฉลิมฉลองพระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มมีในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก

        ต่อมาในสมัยรัชกาล ที่ 5 วันบรมราชาภิเษกตรงกับเดือน 12 จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉัตรมงคลในเดือน 12 แต่ไม่ได้รับการยินยอม

        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยตราจุลจอมเกล้า
สำหรับตระกูลขึ้น ให้มีพระราชทานตรานี้ตรงกับวันคล้ายบรมราชาภิเษก

        ท่านผู้หลักผู้ใหญ่จึงยินยอมให้เลื่อนงานฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรมราชาภิเษก
 แต่ยังให้รักษาประเพณีสมโภชเครื่องราชูปโภคอยู่ตามเดิม รูปแบบงานวันฉัตรมงคลจึงเป็นเช่นนี้จนถึงปัจจุบัน




พระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลปัจจุบัน

       ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงาน 3 วัน นั่นคือ

       วันแรก ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม เป็น งานพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
 เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระบรมราชบุพการี เป็นพิธีสงฆ์สดับปกรณ์ พระบรมอัฐิ สมเด็จสวดพระพุทธมนต์
แล้วพระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนา ซึ่งในวันนี้ได้เพิ่มพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพล
ที่จะพระราชทานแก่หน่วยทหารบางหน่วยเข้าไว้ด้วย

       วันที่ 4 พฤษภาคม เป็น วันเริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล เจ้าพนักงานจะได้อัญเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์
ขึ้นประดิษฐานบนแท่นใต้พระมหาปฎลเศวตฉัตร พระครูหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล
 แล้วทรงสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เวลาเที่ยง ทหารบก ทหารเรือ จะยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ 21 นัด

       ส่วนวันที่ 5 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 เสด็จพระราชดำเนินไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ทรงบูชาเครื่องกกุธภัณฑ์
พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชพระมหาเศวตฉัตรและราชกกุธภัณฑ์
 ตอนเย็นพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ผู้ที่มีความดีความชอบ
แล้วเสด็จนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
และถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ที่ปราสาทพระเทพบิดร เป็นเสร็จพระราชพิธี

 ทั้งนี้ ในวันฉัตรมงคล สำนักพระราชวังได้เปิดปราสาทหลายแห่งให้ประชาชนได้เข้าชมและถวายบังคมอีกด้วย

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันฉัตรมงคล

       - ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ

       - ร่วมทำบุญตักบาตร ประกอบพิธีทางศาสนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

       - น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยพร้อมเพรียงกัน กล่าวคำถวายอาศิรวาทราชสดุดี
ถวายชัยมงคลให้ทรงพระเกษมสำราญ ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน
เป็นมหามิ่งขวัญแก่พสกนิกรชาวไทยไปชั่วกาลยิ่งยืนนาน




เมื่อวันฉัตรมงคลเวียนมาบรรจบครบรอบอีกหนึ่งครา
 ในวันที่ 5 พฤษภาคม พสกนิกรชาวไทยทั้งหลาย
จึงควรระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ซึ่งได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันมีคุณอนันต์แก่ปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้.




………………………………

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

“พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ”

คลิก http://goo.gl/4iXDar

ที่มา :  มูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช และ hilight.kapook

  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ตุลาคม 2016, 14:06:54 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #477 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2015, 16:53:07 »






แถลงการณ์สำนักพระราชวัง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สวรรคต

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
 เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พุทธศักราช 2559
 ตามที่สำนักพระราชวังได้แถลงให้ทราบเป็นระยะนั้น

แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ แต่พระอาการประชวรหาคลายไม่
ได้ทรุดหนักลงตามลำดับ ถึงวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เวลา 15 นาฬิกา 52 นาที
 เสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษาปีที่ 89 ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี

สำนักพระราชวัง

13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559

.............................





พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
 พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมมหาราชจักรีวงศ์ เสด็จสวรรคตแล้ว เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๕๒ น.
 ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมพรรษา  89 ปี – ขอน้อมสำนึกในพระกรุณาธิคุณ
......
His Majesty King Bhumibol Adulyadej of Thailand, also known as Rama IX
the Great has died peacefully on 13 October 2016, at 3.52 pm. at Siriraj Hospital, Bangkok, at the age of 89.









นายกฯแถลง’ในหลวง’สถาปนาพระรัชทายาทตามกฏมณเฑียรบาลไว้แล้ว


พล.อ.ประยุทธ์ ออกแถลงการณ์เผย ‘ในหลวง’ สถาปนาพระรัชทายาทตามกฎมณเฑียรบาลไว้แล้วตั้งแต่ปี 2515 เตรียมแจ้งที่ประชุม สนช. ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ – เตรียมงานพระบรมศพในส่วนของรัฐบาล และประชาชนให้สมพระเกียรติยศ




พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อ่านแถลงการณ์ถึงประชาชนชาวไทยที่อยู่ในราชอาณาจักร และในต่างประเทศทั่วโลก ระบุว่า วันที่ชาวไทยทั้งปวง ไม่ต้องการแม้แต่จะนึกคิด และไม่ปรารถนาแม้แต่จะได้ยิน ก็มาถึง เมื่อสำนักพระราชวัง ได้ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคตแล้ว ในวันนี้ ณ โรงพยาบาลศิริราช ถือว่าเป็นการสูญเสีย และความวิปโยคยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของปวงชนชาวไทย ทั้งประเทศ นับแต่การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489

พี่น้องประชาชนชาวไทย ทุกคนได้ติดตามข่าวสาร และรับทราบมาเป็นลำดับว่า ในห้วงหลายปีที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร และได้เสด็จ ไปประทับที่โรงพยาบาลศิริราชเป็นระยะ เมื่อพระอาการบรรเทาลงก็จะทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจ ตามปกติด้วยพระวิริยะอุตสาหะ เพื่อความผาสุกของพสกนิกรตลอดเวลาที่ผ่านมา คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิด พระอาการดีขึ้น เป็นลำดับ ยังความปลาบปลื้ม แก่ประชาชนคนไทย ทั้งชาติ แต่ในที่สุด พระอาการประชวร หาคลายไม่ ประกอบกับ พระชนมพรรษามาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตพระชนมพรรษา ปีที่ 89 เสด็จดำรงสิริราชสมบัติ 70 พรรษา

วันที่ 13 ตุลาคม จะเป็นวันที่อยู่ในความทรงจำของประชาชนชาวไทยตลอดไปนานแสนนาน ดุจวัน "ปิยมหาราช" 23 ตุลาคม พี่น้องที่เคารพทั้งหลาย ระยะเวลา 70 ปี ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช เริ่มต้นขึ้น ภายหลังจากที่มหาสงครามโลกเพิ่งสิ้นสุดลง ประเทศชาติกำลังฟื้นตัวจากภัยสงคราม ประชาชนเปี่ยมด้วยความหวัง เมื่อประเทศไทยมีพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ ครองราชย์ เป็นผู้นำ เปลี่ยนความท้อแท้ของผู้คน กลายเป็นความแน่วแน่ มั่นคง องอาจที่จะยืนหยัดต่อสู้ กับอุปสรรคต่าง ๆ

ตลอดรัชสมัยเป็นช่วงเวลาที่มีการพัฒนาประเทศในทุกด้าน ทรงเป็นกษัตริย์ ผู้เป็นที่รัก เทิดทูน ทรงเป็นศูนย์รวมใจ ของคนไทยทั้งชาติ นับเป็น 70 ปี ที่ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม โดยแท้

บัดนี้ 70 ปี ในรัชสมัย ของ "สมเด็จพระภัทรมหาราช" พระมหากษัตริย์ ผู้ประเสริฐยิ่ง ของปวงชนชาวไทยได้สิ้นสุดลงแล้ว พระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมากมาย ล้นพ้นหาที่สุดมิได้ มากเพียงใด ความวิปโยคอาลัยของพสกนิกรชาวไทย ก็มากมายท่วมท้นหาที่สุดมิได้ เพียงนั้น

รัฐบาล ขอเชิญชวนให้เราทุกคนร่วมกันตั้งจิตภาวนาตามศาสนา ที่ทุกท่านนับถือ ดังที่เราเคยร่วมกัน ภาวนาถวายพระพร และ อัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ทุกท่านเคารพนับถือให้อภิบาลคุ้มครองตลอดเวลาที่ทรงพระประชวร เพื่ออธิษฐานภาวนา ขอให้ดวงพระวิญญาณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ สถิตในสรวงสวรรค์ และทรงอภิบาลคุ้มครองราชอาณาจักรไทย ประชาชนชาวไทยผู้เป็นพสกนิกรของพระองค์ ให้มีความสงบสุข และความสันติสุข ดุจดังที่ประเทศไทย และประชาชนชาวไทย มีมาโดยตลอด ภายใต้ร่มพระบารมียาวนาน 70 ปี

พี่น้องประชาชนที่เคารพ ถึงแม้เราจะอยู่ในยามทุกข์โศกน้ำตานองหน้าทั่วกันเพียงใด ประเทศไทย อันเป็นที่รักของพวกเราและ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระบรมโกศ ต้องดำรงต่อไป อย่าให้การเสด็จสวรรคตครั้งนี้ ทำให้พระราชปณิธาน ที่จะเห็นราชอาณาจักรของพระองค์ มีความเจริญรุ่งเรือง พสกนิกรมีความผาสุกสวัสดี มีเมตตาและไมตรีต่อกัน ต้องหยุดชะงักลง การจะแสดงความจงรักภักดี และความอาลัยที่ดีที่สุด คือ เจริญรอยตามพระยุคลบาท สืบสานพระราชปณิธาน ที่จะรักษาเอกราช อธิปไตย ความสมบูรณ์พูนสุข และ ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง ตลอดจนการปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทพระราชดำรัส ที่เคยพระราชทานไว้

ภารกิจสำคัญ ที่จะต้องดำเนินการ ในบัดนี้มี 2 ประการ คือ การดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พุทธศักราช 2467 ตลอดจนตามราชประเพณีในส่วนของ การสืบราชสันตติวงศ์ซึ่งสอดคล้องต้องกัน เพื่อให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดำเนินต่อไป อย่างต่อเนื่องโดยรัฐบาลจะแจ้งไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระบรมโกศ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนาพระรัชทายาทตามกฎมณเฑียรบาลไว้แล้ว เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2515 จากนั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

อีกประการหนึ่ง คือการเตรียมงานพระบรมศพในส่วนของรัฐบาล และประชาชนให้สมพระเกียรติยศ และสมกับความจงรักภักดีของประชาชนชาวไทย ที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระบรมโกศ ทั้งนี้การดำเนินการ ทั้ง 2 ประการนี้ รัฐบาลจะแจ้งให้ พี่น้องประชาชนทราบเป็นระยะ ต่อไปในช่วงเวลาต่อจากนี้ไป เป็นช่วงเวลาที่รัฐบาล และผู้เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการเรื่องต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย และราชประเพณี รัฐบาลจึงขอให้พี่น้องประชาชนทั้งหลายรับฟังข่าวสารอย่างเป็นทางการ จากหน่วยงานราชการ อย่าเชื่อข่าวที่ลือที่ไม่ปรากฏแหล่งอ้างอิง พร้อมกันนี้รัฐบาลขอเชิญชวนให้พี่น้องประชาชนคนไทย ที่รักทุกท่านแต่งกายถวายความอาลัย เป็นเวลาหนึ่งปี สถานที่ราชการลดธงครึ่งเสา เป็นเวลา 30 วัน และทุกภาคส่วน ควรพิจารณางดการจัดงานรื่นเริงต่างๆ เป็นเวลา 30 วัน

ทั้งนี้ ท่านทั้งหลายอาจเข้าร่วมพิธีหรือ จัดกิจกรรมทางศาสนาของตนถวายเป็นพระราชกุศล หรือ จัดเป็นพระบรมราชานุสรณ์ อีกทั้งควรใช้โอกาสนี้ให้กำลังใจแก่กันและกัน เพราะเราทุกคนต่างก็มีหัวอกเดียวกัน เพราะมีพ่อของแผ่นดินร่วมกัน และโปรดช่วยกันรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง มิให้ผู้ใด ฉวยโอกาสแทรกเข้ามาก่อความขัดแย้ง จนกลายเป็นความวุ่นวาย

ขอพี่น้องประชาชนทุกคน ร่วมส่งเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ด้วยการรักษาแผ่นดินของพ่อ ด้วยความรัก และความสามัคคี ตลอดไป

พี่น้องประชาชนชาวไทยทั้งหลาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคตแล้ว ขอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลใหม่ทรงพระเจริญ

แถลงการณ์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี


ที่มา สำนักข่าวอิศรา
http://www.isranews.org/images/stories/logo/logo-isranews-edit-15.png

  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 พฤศจิกายน 2016, 16:23:15 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #478 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2016, 22:09:53 »





วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๙

"วันนี้ถึงวันที่เราจะต้องจากไปแล้ว... พอถึงเวลาก็ลงจากพระที่นั่งพร้อมกับแม่ ลาเจ้านายฝ่ายใน
ณ พระที่นั่งชั้นล่างนั้น แล้วก็ไปยังวัดพระแก้วเพื่อนมัสการลาพระแก้วมรกต และพระภิกษุสงฆ์
 ลาเจ้านายฝ่ายหน้า ลาข้าราชการทั้งไทยและฝรั่ง แล้วก็ไปขึ้นรถยนต์ พอรถแล่นออกไปได้ไม่ถึง ๒๐๐ เมตร
 มีหญิงคนหนึ่งเข้ามาหยุดรถแล้วส่งกระป๋องให้เราคนละใบ ราชองครักษ์ไม่แน่ใจว่าจะมีอะไรอยู่ในนั้น
 บางทีจะเป็นลูกระเบิด! เมื่อมาเปิดดูภายหลังปรากฏว่า เป็นทอฟฟี่ที่อร่อยมาก ตามถนนผู้คนช่างมากมายเสียจริง ๆ
ที่ถนนราชดำเนินกลาง ราษฎรเข้ามาใกล้จนชิดรถที่เรานั่ง กลัวเหลือเกินว่าล้อรถของเราจะไปทับแข้งทับขาใครเข้าบ้าง"

พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ‘เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิทเซอร์แลนด์’


วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรภาคอีสานเป็นครั้งแรก เมื่อราษฎรที่รู้ข่าวก็พากันอุ้มลูก จูงหลานหอบกันมารับเสด็จที่ริมถนนอย่างเนืองแน่น

ดังเช่นครอบครัวจันท์นิตย์ ที่ลูกหลานช่วยกันนำ แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ วัย 102 ปี ไปรอรับเสด็จ ณ จุดรับเสด็จห่างจากบ้าน 700 เมตร โดยลูกหลานได้จัดหาดอกบัวสายสีชมพูให้แม่เฒ่าจำนวน 3 ดอก และพาออกไปรอที่แถวหน้าสุดเพื่อให้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่สุด

เปลวแดดร้อนแรงตั้งแต่เช้าจนสาย เที่ยงจนบ่าย แผดเผาจนดอกบัวสายในมือเหี่ยวโรย แต่หัวใจรักภักดีของหญิงชรายังเบิกบาน เมื่อเสด็จฯ มาถึงตรงหน้า แม่เฒ่าได้ยกดอกบัวสายโรยราสามดอกนั้นขึ้นจบเหนือศีรษะแสดงความจงรักภักดีอย่างสุดซึ้ง พระเจ้าแผ่นดินทรงโน้มพระองค์อย่างต่ำที่สุด จนพระพักตร์แนบชิดกับศีรษะของแม่เฒ่า ทรงแย้มพระสรวลอย่างเอ็นดู พระหัตถ์แตะมือกร้านคล้ำของเกษตรกรชราชาวอีสานอยางอ่อนโยน

เป็นคำบรรยายเหมือนไม่จำเป็น สำหรับภาพที่ไม่จำเป็นต้องบรรยาย ไม่มีใครรู้ว่าทรงกระซิบคำใดกับแม่เฒ่า แต่แน่นอนว่าแม่เฒ่าไม่มีวันลืม เช่นเดียวกับที่ในหลวงไม่ทรงลืมราษฏรที่เข้าเฝ้าริมถนนในวันนั้น

แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ สิ้นอายุขัยอย่างสงบด้วยโรคชราหลังจากนั้นประมาณ ๓ ปีเมื่ออายุได้ 105 ปี
ภาพที่แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ ทูลเกล้าฯ ถวายดอกบัว ๓ ดอกนี้ ถ่ายภาพโดย นายอาณัติ บุนนาค ช่างภาพส่วนพระองค์ ซึ่งได้จับภาพในวินาทีสำคัญนี้ไว้ได้ ภาพนี้ถูกเรียกว่า "ภาพดอกไม้แห่งหัวใจ" ทำให้ประชาชนชาวไทยซาบซึ้งในพระจริยาวัตรอันงดงามของพระองค์ท่านเป็นอย่างมาก เป็นภาพแห่งความตราตรึงใจและประทับใจของคนไทยทั้งชาติมิลืมเลือน



ช่วงปี ๒๕๓๘ จากเหตุการณ์ที่สมเด็จย่าทรงพระประชวร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จฯไปทรงเยี่ยมและมีพระราชปฏิสันถารกับสมเด็จย่าว่า “อยากให้แม่สอนอีก” เหมือนเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์

สมเด็จย่าตรัสกลับไปว่า “จะให้สอนอีกหรือ พระองค์ทรงภูมิรู้ เปี่ยมคุณธรรม สอนคนได้ทั้งประเทศ จะฟังคำสอนอะไรจากคนอายุมากคนหนึ่งอีกเล่า” พระองค์ทรงมีพระราชปรารภอย่างอภิชาตบุตรว่า “ไม่ว่าลูกจะเป็นอย่างไร สอนคนมากสักแค่ไหน แต่คำสอนของแม่ก็เป็นคำสอนที่ดีที่สุดของลูก คำสอนของแม่เหนือกว่าลูกเสมอ ลูกอยากฟังแม่สอนอีก”




“....พระพุทธศาสนาแสดงความจริงของชีวิต แสดงทางปฏิบัติที่จะให้บรรลุความสุข สูงสุดของชีวิต มีวิธีการสั่งสอนที่ยึดหลักเหตุและผลว่า ทุกสิ่งเกิดจากเหตุ ผู้ใดประกอบเหตุอย่างใด เพียงใด ก็ได้ผลอย่างนั้น เพียงนั้น...”
พระบรมราโชวาทในโอกาสพระราชทานแก่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๓


"...การทำบุญนั้น ได้ผลตั้งแต่แรกที่ทำบุญ ตั้งแต่วาระแรกที่ทำ มีความเบิกบานใจ เมื่อเห็นความเบิกบานใจในผู้อื่น เราก็มีความเบิกบานใจเพิ่มขึ้นไปอีก เมื่อเราทำบุญเป็นนิสัยแล้ว ก็สบายมากในการทำ เพราะว่าทำดีเป็นนิสัยนั้นทำได้ง่าย แล้วจิตใจก็ยิ่งเบิกบานมากขึ้นทุกที..."

พระราชดำรัสในโอกาสที่คณะบุคคลต่าง ๆ และคณะลูกเสือชาวบ้านเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินและสิ่งของโดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อพระราชทานในกิจการลูกเสือชาวบ้าน ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๒๐
 


“...การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียวต้องใช้เวลา ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำคัญที่สุดคือความอดทนไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดังคือดูมันครึทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดีไม่ครึต้องมีความอดทนเวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทน ในความเพียรของตน...”

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๑๖


“…การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมากไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้...”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๖


“…มานึกดูว่า ในเมืองไทยนี้ การปกครองบ้านเมืองก็ทำมาคล้ายเป็นตำรามาตั้งแต่ต้น ไม่ได้ใช้ตำราต่างประเทศมากเท่าไรเลย ที่เมืองไทยเราอยู่มาได้จนทุกวันนี้ ก็เพราะใช้ตำราของเราเอง เรามีวิธีปกครองหลายวิธี...หลายประเทศในโลกมีนิสัยใจคอของตัวมีความเป็นประเทศของตัวมาช้านานแล้ว... การปกครองของเมืองไทยเราก็ไม่ใช่ว่าจะต้องหยุดนิ่งคงเดิมอยู่เสมอ ต้องเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน แต่ต้องเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุผล...”

พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะกรรมการจัดการแข่งขันฟุตบอล ‘ส.ส. มหากุศล’ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๒

“...ความเข้มแข็งในจิตใจนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องฝึกฝนแต่เล็ก เพราะว่าต่อไปถ้ามีชีวิตที่ลำบากไปประสบอุปสรรคใดๆ ถ้าไม่มีความเข้มแข็ง ไม่มีความรู้ ไม่มีทางที่จะผ่านอุปสรรคนั้นได้ เพราะว่าถ้าไม่เจออุปสรรคอะไร ก็ไม่มีอะไรที่จะมาช่วยเราได้ แต่ถ้ามีความรู้ มีอัธยาศัยที่ดี และมีความเข็มแข็ง ในกาย ในใจ ก็สามารถที่จะผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆนั้นได้...”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะครูและนักเรียนโรงเรียนราชวินิต เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๘


“...ต่างคนต่างมีหน้าที่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทำเฉพาะหน้าที่นั้น เพราะว่าถ้าคนใดทำหน้าที่เฉพาะของตัว โดยไม่มองไม่แลคนอื่น งานก็ดำเนินไปไม่ได้ เพราะเหตุว่างานทุกงานจะต้องพาดพิงกันจะต้องเกี่ยวโยงกัน ฉะนั้นแต่ละคนจะต้องมีความรู้ถึงงานของผู้อื่นแล้วช่วยกันทำ...”

พระบรมราโชวาทพระราชทานในการประชุมใหญ่ สามัคคีสมาคม วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๔



“...เราเป็นนักเรียน เราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ... ถ้าหากว่าในด้านไหนก็ตาม เวลาไปปฏิบัติให้ถือว่าเราเป็นนักเรียน ชาวบ้านเป็นครู หรือ ‘ธรรมชาติเป็นครู’ การที่ท่านทั้งหลายจะออกไป ก็จะไปหลายๆด้าน... ก็จะต้องเข้าใจว่า เราอาจจะเอาความรู้ไปให้เขา แต่ก็ต้องนับถือความรู้ของเขาด้วย จึงจะมีความสำเร็จ...”

พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่บัณฑิตอาสาสมัครพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๘


“... ขอให้คิดถึงประชาชนเหมือนลูก ขอให้ทหารช่วยดูแลประชาชนนอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติในการป้องกันประเทศ...”

พระราชกระแสรับสั่งแก่พันเอก อาทิตย์ กำลังเอก ผู้บังคับการกรมผสมที่ ๒๓ และพันโท พิศิษฐ์ เหมาะบุตร ผู้บังคับกองพันทหารราบเฉพาะกิจ กรมผสมที่ ๒๓ ในการเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมหน่วยรบเฉพาะกิจ ซึ่งตั้งฐานปฏิบัติการที่ภูพานน้อย อ.นาแก จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖


“…สัจจะวาจานั้นเป็นรากฐานของการทำงาน หรือการดำรงชีวิตที่ดีที่งามที่มีความก้าวหน้า มีความสำเร็จ ‘สัจ’ เป็นการตั้งใจ ตั้งจิตใจ ‘วาจา’ เป็นคำพูดออกมาแสดงถึงคำพูดนั้นต้องออกมาจากใจ คือเป็นการตั้งใจที่จะทำอะไรเพื่อความสำเร็จในงานนั้น...”

พระบรมราโชวาทในโอกาสที่ผู้พิพากษาประจำกระทรวงยุติธรรมเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๕



“รู้ไหมว่าทำไมโดมิโนจึงมาหยุดที่เมืองไทย ... เพราะสังคมไทยและคนไทยนั้นยังเป็นสังคม ที่ให้กันอยู่ บ้านเมืองสงบลงได้ เพราะเรา ‘ให้’ กับแผ่นดิน” (ทฤษฎีโดมินาของประธานาธิบดี ไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกาที่อุปมาจากลักษณะเกมโดมิโน หากตัวหนึ่งตัวใดล้ม ตัวอื่นๆ จะล้มตามเป็นลูกโซ่ กล่าวคือคาดว่าประเทศไทยจะกลายเป็นคอมมิวนิสต์ตามประเทศอื่นที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ลาว กัมพูชา ฯลฯ)

พระราชดำรัสพระราชทานแก่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา จากหนังสือ ‘ร้อยเรื่องเล่า:เกร็ดการทรงงาน’


“...การมีเสรีภาพนั้นเป็นของดีอย่างยิ่ง แต่เมื่อจะใช้จำเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและ ความรับผิดชอบมิให้ล่วงละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นที่เขามีอยู่เท่าเทียมกัน ทั้งมิให้กระทบกระเทือนถึง สวัสดิภาพและความเป็นปกติสุขของส่วนรวมด้วย มิฉะนั้น จะทำให้มีความยุ่งยากจะทำสังคมและชาติประเทศต้องแตกสลายโดยสิ้นเชิง ...”

พระราชดำรัสในแถลงการณ์ สภาการวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (สวชพ.) เรื่อง ‘การใช้เสรีภาพเพื่อการปรองดองสมานฉันท์’ เนื่องในวันนักข่าว เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๐


“...จิตใจและความประพฤติที่สะอาดและมีระเบียบ เป็นรากฐานสำคัญของชีวิตจิตใจ ทั้งประพฤติดังนั้นใช่จะเกิดมีขึ้นเองได้ หากแต่จำเป็นต้องฝึกหัดอบรม และสนับสนุนส่งเสริมกันอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ นับตั้งแต่บุคคลเกิด ดังที่มนุษย์ไม่ว่าชาติใดภาษาใด ได้เฝ้าพยายามกระทำสืบต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย ทั้งเพื่อให้สามารถรักษาตัว และมีความสุข ความสำเร็จในการครองชีวิต ทั้งให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยความผาสุก สงบ...”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในพิธีเปิดการสัมมนา ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศ เรื่องการพัฒนาสังคมในด้านศีลธรรมและจิตใจ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๖


“...เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มด้วยซ้ำไป...”
พระราชดำรัสจากวารสารชัยพัฒนา ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๒


“...บางทีเมื่อเราไปเจอสถานการณ์อะไรอย่างหนึ่ง ปวดหัว มีใครมาพูด เรื่องราวอะไรต่างๆ ให้ขัดใจเรา เราคิดไม่ออก ปวดหัวโมโหไม่สบายใจ ไม่รู้จะตอบอะไร อันนี้ถ้าเราฝึกจิตใจให้หาเหตุผลโดยเร็ว เราก็รู้ได้แน่ว่าเขาพูด อะไร อย่าเพิ่งท้อใจ มาอย่างไหน มาท่าไหน เรามองเห็น ก็เท่ากับขึ้นไปสู่ความรู้ รู้ไส้เขา รู้โปร่งในความคิดของเขา เขามาอย่างไรเรารู้หมดฉะนั้น ถ้าเราฝึกดีแล้ว เราก็ได้เปรียบโดยเร็ว ใครมาพูดหรือมาทำอะไรก็รู้เท่าทัน...”

พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะชาวพุทธแขวงห้วยขวางเขตพญาไท ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๘



“...เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่สองอย่าง...จะทำความเจริญให้แก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทนต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน ถ้าทำโดยเข้าใจกัน เชื่อว่า ทุกคนจะมีความพอใจได้...คำว่าพอเพียง มีความหมายว่าพอมีพอกินเศรษฐกิจแบบพอเพียง หมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง...คำว่าพอ คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย พอเพียงอาจมีมาก อาจมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น...”

พระราชดำรัสพระราชทานในโอกาสที่คณะบุคคลเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑


“...ในภาษาทุกภาษาก็ต้องมีคำว่า เมตตา คือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน มองคนอื่นในทางที่จะช่วยเหลือเขามากกว่าที่จะไปแย่งชิงเขา ทุกภาษาทุกศาสนา ก็มีจิตใจนี้ หรือวิธีการนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายทำต่อไปด้วยความแน่วแน่ และด้วยความสุจริตใจ จะเป็นทางที่จะช่วยส่วนรวมให้อยู่เย็นเป็นสุข...”

พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะกรรมการอำนวยการสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๑๘



“...พลังนี้มีหลายชนิด พลังกายและพลังใจ ทั้งพลังความรู้ ถ้าได้รวบรวม พลังกายได้แล้วก็เป็นสิ่งอย่างหนึ่งที่น่าชื่นชม เพื่อให้พลังกายนี้ได้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมได้มากยิ่งขึ้น ต้องพยายามที่จะสร้างพลังวิชาความรู้และพลังใจให้มีขึ้น พลังจิตใจนี้ถ้าพูดโดยส่วนรวมแล้วเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะรวมทั้งเกี่ยวข้องกับเรื่อง ที่จะทราบว่าสิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควร ทั้งทำให้สามารถที่จะคิดดีชอบเพื่อให้ตนได้สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตน เพื่อตนเองและเพื่อส่วนรวมได้ดี ยกตัวอย่างเวลาเรามีความโกรธแค้น เราก็มีกำลังกายมาก แต่ว่ากำลังกายนั้นอาจมีไม่ได้เต็มที่ คือไม่ได้รับการควบคุมจากวิชาความรู้หรือสิ่งที่ดีที่อยู่ในตัวได้ อาจเปะปะไปบ้าง ฉะนั้นความโกรธนั้นก็เป็นผลทำให้เราไม่สามารถที่จะใช้กำลังกายโดยเต็มเปี่ยม เหตุผลก็คือเวลาเรามีความโกรธ จิตใจของเราไม่สว่าง มีสิ่งที่มาครอบอยู่ทำให้มืดมนไม่เห็นทางเราจึงอาจเปะปะ และมิใช่เฉพาะความโกรธ ความเศร้าก็ทำให้ มืดก็ได้ หรือแม้แต่ความดีใจก็ทำให้มืดก็ได้ ฉะนั้นทุกคนจึงมีหน้าที่ที่จะควบคุม จิตใจ ทั้งจิตใจทางโกรธ ทางเศร้า หรือทางดีใจเพื่อให้ทุกคนสามารถที่จะมีความสว่างในใจ...”

พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ ในโอกาสเข้าเฝ้า ฯ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๑๖


  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ตุลาคม 2016, 15:38:19 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #479 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2016, 22:12:45 »


“...เหตุไม่ปรกติทั้งนี้ควรจะช่วยให้ท่านทั้งหลายได้ข้อคิดสำคัญประการหนึ่ง ว่าวิถีชีวิตของบุคคลนั้นย่อมมีภัยอันตราย มีอุปสรรค และเคราะห์ดีเคราะห์ร้ายผ่านเข้ามาเนืองๆ ไม่มีผู้ใดจะอยู่ปรกติสุขอย่างเดียวได้. ทุกคนจำเป็นต้องเตรียมกายเตรียมใจให้พร้อมทุกเวลา ที่จะเผชิญและต่อสู้แก้ไขความไม่ปรกติเดือดร้อนต่างๆ ด้วยเหตุผล หลักวิชา ความถูกต้องรอบคอบ และสามัคคีธรรม...”
พระราชดำรัส เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๖

“…คนดีทำให้คนอื่นดีได้ หมายความว่าคนดี ทำให้เกิดความดีในสังคม คนอื่นก็ดีไปด้วย ความเลวนั้นจะทำให้คนดีเป็นคนเลวก็ยาก แต่เป็นไปได้ ถ้าคนดีเข้มแข็งในความดี จะให้คนเลวมาทำให้คนดีเป็นคนเลวยาก สำคัญอยู่ที่ความเข้มแข็งของคนดี...”

พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้า ฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙



“...เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่สองอย่าง...จะทำความเจริญให้แก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทนต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน ถ้าทำโดยเข้าใจกัน เชื่อว่า ทุกคนจะมีความพอใจได้...คำว่าพอเพียง มีความหมายว่าพอมีพอกินเศรษฐกิจแบบพอเพียง หมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง...คำว่าพอ คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย พอเพียงอาจมีมาก อาจมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น...”

พระราชดำรัสพระราชทานในโอกาสที่คณะบุคคลเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑


“...หลักของคุณธรรมคือ การคิดด้วยจิตใจที่เป็นกลาง ก่อนจะพูดจะทำสิ่งไร จำเป็นต้อง หยุดคิดเสียก่อน เพื่อรวบรวมสติให้ตั้งมั่น และจิตสว่างแจ่มใส ซึ่งเมื่อฝึกหัดคุ้นเคยชำนาญแล้ว จะกระทำได้คล่องแคล่วช่วยให้สามารถแสดงความรู้ ความคิดในเรื่องต่างๆ ให้ผู้ฟังได้เข้าใจได้ง่าย ได้ชัด ไม่ผิด ทั้งหลักวิชา ทั้งหลักคุณธรรม...”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๕


“...ท่านทั้งหลายควรจักได้เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม ที่จะปฏิบัติงานประสานกับบุคคลอื่นฝ่ายอื่นอย่างขะมักเขม้นและฉลาดเหมาะสม. ในการนี้ ท่าน จะต้องทำความคิดและจิตใจให้เปิดกว้าง แต่หนักแน่น มีเหตุผล มีวิจารณญาณ. พร้อมกันนั้น ก็ต้องมีความจริงใจ เห็นใจ และเมตตาปรองดองกัน โดยถือประโยชน์ส่วนรวมร่วมกันเป็นวัตถุประสงค์เอก. ที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง จะต้องพยายามขจัดความดื้อรั้น ถือตัว ความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ประโยชน์ส่วนน้อยออกให้ได้ ไม่ปล่อยให้เข้ามาครอบงำทำลายความคิดจิตใจที่ดีงามของตน. แล้วท่านจะสามารถปฏิบัติการงานทุกอย่างได้ด้วยความราบรื่น เบิกบานใจ อย่างมี ประสิทธิภาพ และประสบผลสำเร็จตามที่ปรารภปรารถนาทุกสิ่งในที่สุด...”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๙



"...การทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้น ที่จะให้เป็นไปโดยราบรื่น ปราศจากปัญหาข้อขัดแย้งย่อมเป็นไปได้ยาก เพราะคนจำนวนมากย่อมมีความคิดความต้องการที่แตกต่างกันไป มากบ้าง น้อยบ้าง. ท่านจะต้องรู้จักอดทนและอดกลั้น ใช้ปัญญา ไม่ใช้อารมณ์ ปรึกษากัน และโอนอ่อนผ่อนตามกันด้วยเหตุผล โดยถือว่าความคิดที่แตกต่างกันนั้น มิใช่เหตุที่จะทำให้เป็นข้อขัดแย้ง โต้เถียงเพื่อเอาแพ้เอาชนะกัน แต่เป็นเหตุสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความกระจ่างแจ้ง ทั้งในวิถีทางและวิธีการปฏิบัติงาน..."

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๑


“...ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ มีทางแก้ไขได้ ถ้ารู้จักคิดให้ดี ปฏิบัติให้ถูก การคิดได้ดีนั้น มิใช่การคิดได้ด้วยลูกคิด หรือด้วยสมองกล เพราะโลกเราในปัจจุบันจะวิวัฒนาการไปมากเพียงใดก็ตาม ก็ยังไมมีเครื่องมืออันวิเศษชนิดใด สามารถขบคิดแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างสมบูรณ์ การขบคิดวินิจฉัยปัญหา จึงต้องใช้สติปัญญา คือคิดด้วยสติรู้ตัวอยู่เสมอ เพื่อหยุดยั้งและป้องกันความประมาทผิดพลาดและอคติต่างๆมิให้เกิดขึ้น ช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่างๆ เป็นไปอย่างเที่ยงตรง ทำให้เห็นเหตุเห็นผลที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นกระบวนการได้กระจ่างชัดทุกขั้นตอน...”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๙

“...คนเราถ้าท้อใจแล้วเป็นคนอันตราย เพราะว่าถ้าเป็นคนที่มีความรู้แล้ว ท้อใจ ความท้อใจนั้นทำให้การควบคุมจิตใจสติของตัวน้อยลง เพราะว่ามันท้อ ความท้อใจนี้เป็นสิ่งกีดขวางความดีไปได้มาก เพราะว่าไม่ระวังตัว เวลาท้อใจก็เกิดน้อยใจ น้อยใจก็เกิดประชด เปิดโอกาสให้จิตใจรับสิ่งที่ไม่ดีเข้ามาในจิตใจได้ เพราะว่ามีความฟุ้งซ่าน คนไหนถ้าท้อใจสังเกตดีๆ พวกเพื่อนๆ ที่ท้อใจ บางทีคนนั้นพูดฟุ้งซ่าน พูดอะไรไม่ได้เรื่อง แล้วถ้าใครมาชักชวนให้ทำอะไรก็อาจจะเป็นผู้ร้ายไปก็ได้ ทำให้ขาดการพิจารณา คือขาดสตินั่นเอง...”

พระราชดำรัสพระราชทานแก่บัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ ๑๓ และคณะกรรมการประจำสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๒๔


“...ความสงบนั้น ภายนอก ได้แก่สภาวการณ์ที่เรียบร้อยเป็นปรกติ ไม่มีความวุ่นวายขัดแย้ง ไม่มีการเอาเปรียบเบียดเบียนหรือมุ่งร้ายทำลายกัน ภายใน ได้แก่ความคิดจิตใจที่ไม่ฟุ้งซ่านหวั่นไหว หรือเดือดร้อนกระวนกระวาย ด้วยอำนาจความมักได้เห็นแก่ตัว ความร้ายกาจเพ่งโทษ ความหลงใหลเห่อเหิม อันเป็นต้นเหตุของอกุศลทุจริตทั้งหมด การทำความสงบนั้นต้องเริ่มที่ภายในตัว ในใจก่อน เมื่อภายในสงบ ความคิดจิตใจก็ตั้งมั่น สามารถคิดอ่านด้วยเหตุผล ความละเอียดรอบคอบ และสามารถค้นหา จำแนกข้อเท็จจริง ถูกผิด ดีชั่วได้โดยกระจ่างและถูกต้อง จึงเกื้อกูลให้บุคคลประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีที่งามตามแนวทางที่สุจริตเหมาะสมได้ และย่อมจะส่งผลสะท้อนถึงภายนอก ให้มีความปรกติเรียบร้อยด้วย...”

พระบรมราโชวาทพระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ ๑๘ ณ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๐


“...ในปัจจุบันนี้ ศัตรูของเรามาในรูปการก่อการร้าย มาด้วยอาวุธก็มาก แต่มาในรูปการก่อการร้ายด้วยการยุยงให้แตกแยกกันก็มากเหมือนกัน และไม่ใช่ตามชายแดน ในเมืองใหญ่ๆในภาคต่างๆ ทุกภาคแม้แต่ภาคกลางนี้ แม้แต่กรุงเทพฯนี้ ก็มีการแทรกซึมและการยุแหย่ให้เกิดแตกสามัคคีให้เกิด ความยุ่งยากเป็นสงครามสมัยใหม่ ขอให้พิจารณาดู ถ้าทุกคนเข้มแข็ง มุ่งหน้าที่จะเรียน และมุ่งหน้าที่จะตั้งตัวเป็นคนดี ก็เท่ากับทุกคนเป็นทหารทั้งชายหญิง ช่วยบ้านเมืองให้ดำรงอยู่ และเมื่อบ้านเมืองดำรงอยู่แล้ว เอกชนทุกคนก็จะอยู่ได้ด้วยความผาสุก...”

พระราชดำรัสที่พระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงานชุมนุมนักศึกษาชาวเหนือ “ชาวเหนือบอล” ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๓


"...เด็กๆ นอกจากจะต้องเรียนความรู้แล้ว ยังต้องหัดทำการงานและทำความดีด้วย เพราะการทำงานจะช่วยให้ มีความสามารถมีความขยันอดทนพึ่งตนเองได้และ การทำดีนั้นจะช่วยให้มีความสุขความเจริญทั้งป้องกันตนไว้ไม่ให้ ตกต่ำ..."

พระบรมราโชวาทพระราชทานเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๓๐


“…เราจะทำให้ประเทศไทยกลับมีความอุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื่นได้ ขออย่าไปรังแกป่าเท่านั้นเอง...”

พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลที่เข้าเฝ้า ณ ศาลาดุสิตดาลัย เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗


“....ในการดำเนินชีวิตและการประกอบกิจการงาน ย่อมจะต้องมีปัญหาต่างๆ เป็นอุปสรรคขัดขวางความสำเร็จอยู่เสมอ ยากที่ผู้ใดหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด จะหลีกเลี่ยงพ้นได้ คนก็มีปัญหาของคน สังคมก็มีปัญหาของสังคม ประเทศก็มีปัญหาของประเทศ แม้กระทั่งโลกก็มีปัญหาของโลก ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต และกิจการงาน จึงเป็นเรื่องธรรมดา. ข้อสำคัญ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น จะต้องแก้ไขให้ลุล่วงไปโดยไม่ชักช้า. ผู้ใดมีสติปัญญาคิดได้ดี ปฏิบัติได้ถูก ผู้นั้นก็มีหวังบรรลุถึงเป้าหมาย มีความสำเร็จสูง ถ้าเป็นตรงกันข้าม ก็ยากที่จะประสบ ความสำเร็จสมหวังได้...”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๓๙


“…ทุกวันนี้ประเทศไทยยังมีทรัพยากรพร้อมมูลทั้งทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคล ซึ่งเราสามารถนำมาใช้เสริมสร้างความอุดสมบรูณ์ และเสถียรภาพอันถาวรของบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี ข้อสำคัญเราต้องรู้จักใช้ทรัพยากรนั้นอย่างฉลาด คือไม่นำมาทุ่มเทใช้ให้เปลืองไปโดยไร้ประโยชน์ หรือได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า หากแต่การระมัดระวังใช้ด้วยวามประหยัดรอบคอบ ประกอบด้วยความคิดพิจารณาตามหลักวิชาเหตุผล และความถูกต้องความเหมาะสม โดยมุ่งถึงประโยชน์แท้จริงที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันยืนยาว...”

พระราชดำรัสในการเสด็จออกมหาสมาคมในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๙


“...ศาสนานั้นเป็นสิ่งที่ทราบกันอยู่แล้วว่าต้องมี และถึงว่าศาสนามีความหมายได้หลายอย่าง ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นศาสนาที่มีชื่อหรือที่ต้องเคร่งครัดตามแนวทางการสั่งสอนอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นแต่ต้องมีแนวความคิดที่ แน่วแน่ ที่ดี และไม่เบียดเบียน อย่างนี้ ก็ถือเป็นศาสนาได้ทั้งนั้น ในเมืองไทยนี้ ใครจะถือปฏิบัติตามศาสนาใดก็ได้ทั้งนั้น เคยชี้แจงอยู่เสมอว่าเมืองไทยนี้ที่อยู่ได้ ก็เพราะไม่มีการกีดกันว่าคนโน้นศาสนาโน้นคนนี้ศาสนานี้ แต่ว่าเป็นที่ทราบกันดี ว่าทุกคนปฏิบัติศาสนกิจของตนๆ ด้วยความมุ่งดีหวังดี ตั้งใจที่จะให้เกิดประโยชน์ ตนและประโยชน์ส่วนรวม ศาสนาทุกศาสนาจึงใช้ได้ทั้งนั้น ขอแต่เพียงอย่าให้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน...”

พระราชดำรัสพระราชทานแก่ผู้แทนองค์การศาสนาและผู้แทนสถาบันการศึกษาต่างๆที่เข้าเฝ้า ฯ ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาผกาภิรมย์ วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๑๒

“...ความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่ทุกคนทุกฝ่ายแสดงให้เห็น ทำให้ข้าพเจ้าระลึกถึงคุณธรรมข้อหนึ่ง ที่อุปถัมภ์และผูกพันคนไทยให้รวมกันเป็นเอกภาพ สามารถธำรงชาติบ้านเมืองให้มั่นคงเป็นอิสระยั่งยืนมาช้านาน คุณธรรมข้อนั้นก็คือไมตรี ความมีเมตตาหวังดีในกันและกัน. คนที่มีไมตรีต่อกัน จะคิดอะไรก็คิดแต่ในทางสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลกัน. จะพูดอะไรก็ใช้เหตุผลเจรจากัน ด้วยความเข้าอกเข้าใจกัน. จะทำอะไรก็ช่วยเหลือร่วมมือกัน ด้วยความมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน…”

พระราชดำรัสในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒


“...เมื่อกล่าวถึงความรับผิดชอบ ความรู้สึกของคนทั่วไปในทุกวันนี้จะนึกไปถึงการที่จะต้องถูกปรับโทษหรือลงโทษ เมื่อกระทำผิดและนึกถึงการได้รับความชอบหรือได้รับรางวัลเมื่อทำถูก ท่านควรจะทำความเข้าใจเสียให้ตรงว่า รับผิด ไม่ใช่รับโทษ และรับชอบก็ไม่ใช่รับรางวัลเสมอไป การรู้จักรับผิด คือการยอมรับรู้ว่าสิ่งที่ตนทำมีข้อใด ส่วนใดผิดพลาดเสียหาย และเสียหายไปเพราะเหตุใด ข้อนี้มีประโยชน์ ทำให้รู้จักพิจารณาการกระทำของตนพร้อมทั้งข้อบกพร่องของตนอย่างจริงจังเป็นทางที่ช่วยให้สามารถคิดหาวิธีปฏิบัติแก้ไขการกระทำและความผิดพลาดต่างๆ ให้ถูกต้องสมบูรณ์ได้ ส่วนการรู้จักรับชอบนั้น คือรู้ว่าสิ่งที่ตนทำ มีส่วนใด ที่ใด ถูกต้องแล้ว คือถูกตามความมุ่งหมาย ตามหลักวิชา ตามวิธีการ ตามสถานการณ์แล้ว ข้อนี้มีประโยชน์ให้ทราบชัดว่า ตนจะทำงานให้ดี ให้สำเร็จสมบูรณ์ได้อย่างไร จักได้ถือเป็นแนวทางที่จะปฏิบัติและพัฒนางานที่ทำให้เจริญก้าวหน้าต่อไป...”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา ๒๕๒๘ วันที่ ๓๑ กรกฏาคม ๒๕๒๙


“...การทำดีนั้นมีหลายอย่าง อย่างที่ท่านทำดีโดยที่ได้ร่วมกุศลเป็นเงิน เพื่อที่จะแผ่ไปช่วยผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากนั้น ก็เป็นการกระทำที่ดีอย่างหนึ่ง การกระทำที่ดีอีกอย่างที่ได้กล่าวก็คือมีความปรองดองสามัคคีช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน อุดหนุนกัน แล้วก็ไม่เบียดเบียนกัน โดยเฉพาะอย่างหมู่คณะ ที่ตั้งขึ้นมาอย่างนี้ก็ช่วยกันในทางวัตถุและในทางจิตใจ ความสามัคคีนี้ก็เป็น การทำดีอย่างหนึ่ง การทำดีอีกอย่างซึ่งจะดูลึกซึ้งกว่าคือปฏิบัติด้วยตนเองปฏิบัติให้ตัวเองไม่มีความเดือดร้อน คือพยายามหันเข้าไปในทางปัจจุบันให้มาก อย่างง่ายๆ ก่อน คือพิจารณาดูว่าตัวเองกำลังคิดอะไร กำลังทำอะไร ให้รู้ตลอดเวลา แล้วรู้ว่าทำอะไร อย่างนี้เป็นวิธีอย่างหนึ่งที่จะทำให้ไม่มีภัย ถ้าเราคอยระมัดระวังตลอดเวลาให้รู้ว่าตัวทำอะไร ให้รู้ว่าการทำนี้เราทำอะไรตลอดเวลา ก็จะไม่ผิดพลาด เพราะว่าโดยมากความผิดพลาดมาจากความไม่รู้ในปัจจุบัน...”

พระราชดำรัสในโอกาสที่คณะครูใบฎีกาเล็ก (ถานุตฺตโร) และคณะ เฝ้าถวายเงินและต้นเทียนพรรษา ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๒๔


“...ประเทศไทยนี่ทำไมอยู่ได้ ก็เพราะพวกเราทุกคน ถ้าเราสร้างความดี คือทำปฏิบัติในสิ่งที่บริสุทธิ์ใจที่สุจริต ที่ตั้งใจดีมันอาจมีผิดพลาดบ้าง แต่ว่าไม่ได้ตั้งใจผิดพลาด ตั้งใจทำดี ก็เป็นการสร้างกำลังของบ้านเมือง ทำให้เป็นเหมือนฉีดยาป้องกันโรค ซึ่งถ้าเราฉีดยาป้องกันโรควันนี้ พรุ่งนี้ไม่ใช่ไม่ได้ผล หมอก็ทราบดี ถ้าเราฉีดยา ต้องได้ครบโดสถึงจะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้ การป้องกันให้ครบโดส เราต้องทำในสิ่งที่ดีที่ชอบตลอดไปเป็นเวลานานอาจน่าเบื่อ แต่แม้กระนั้นอย่าเพิ่งท้อใจ แม้กระนั้น บางทีเราทำตลอดชีวิตแล้ว ก็ยังไม่พอ แต่ทำไมเมืองไทยอยู่ได้ ก็เพราะว่าบรรพบุรุษของเราทำมาเป็นแรมปีเป็นร้อย ๆ ปี ทำมาด้วยความสุจริตใจ…”

พระราชดำรัสพระราชทานแก่นักศึกษา พ่อค้า ประชาชน มูลนิธิ องค์การต่างๆ ที่เข้าเฝ้า ฯ ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสเฉลิมพระ ณ ศาลาดุสิดาลัย พระราชวังดุสิต วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๑๘


  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ตุลาคม 2016, 15:47:00 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #480 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2016, 22:18:30 »




วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๙
“ในหลวงอย่าทิ้งประชาชนนะ” เสียงนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พระองค์ท่านทรงนึกถึงประชาชนอยู่ตลอดเวลา จึงได้ทรงพระวิริยะอุตสาหะศึกษาเล่าเรียน เพื่อจะได้นำความรู้ ความสามารถ พัฒนาประเทศ กลับมาดูแลประชาชนของพระองค์ และพระองค์ทรงกลับมา...กลับมาทำสิ่งเหล่านี้...ให้ประชาชนของพระองค์

วันนั้น “รถแล่นฝ่าฝูงคนไปได้อย่างช้าที่สุด ถึงวัดเบญจมบพิตร รถแล่นเร็วขึ้นได้บ้าง ตามทางที่ผ่านมา ได้ยินเสียงใครคนหนึ่งร้องขึ้นมาดังๆ ว่า “อย่าละทิ้งประชาชน” อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า ถ้าประชาชนไม่ “ทิ้ง” ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะ “ละทิ้ง” อย่างไรได้ แต่รถเด่นเร็วและเลยไปไกลเสียแล้ว”…

ความตั้งพระราชหฤทัยในการดูแล อาณาประชาราษฎร์ มีมาตั้งแต่ทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติ มีความตอนหนึ่งจากพระราชหัตถเลขาที่พระองค์ท่านทรงมีไปถึงพระสหายในต่างประเทศภายหลังจากที่เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติว่า “เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนยุโรป ข้าพเจ้าไม่เคยตระหนักว่าประเทศของข้าพเจ้าคืออะไร และเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าแค่ไหน ไม่ทราบจนกระทั่งข้าพเจ้าได้เรียนรู้ที่จะรักประชาชนของข้าพเจ้า เมื่อได้ติดต่อกับเขาเหล่านั้น ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าสำนึกในความรักอันมีค่ายิ่ง ข้าพเจ้าไม่เป็นโรคคิดถึงบ้านที่จริงจังอะไรนัก แต่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การทำงานที่นี่ว่า... ที่ของข้าพเจ้าในโลกนี้ คือการที่ได้อยู่ท่ามกลางประชาชนของข้าพเจ้า นั้นคือคนไทยทั้งปวง” (จากหนังสือ ‘ความรักของพ่อ’)


“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระปฐมบรมราชโองการ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง วันศุกร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เนื่องในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระปฐมบรมราชโองการที่มีชื่อเสียงที่สุด และการเวลาได้พิสูจน์ว่าทรงทำตามที่ทรงสัญญาไว้กับพสกนิกรทุกประการ


ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยกราบบังคมทูลถามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชว่า “เคยทรงเหนื่อย ทรงท้อบ้างหรือไม่” พระองค์มีพระราชกระแสตอบว่า

“ความจริงมันน่าท้อถอยหรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ”



“อดคิดถึงพี่ไม่ได้เลยแม้แต่ขณะเดียว ฉันเคยคิดว่า ฉันจะไม่ห่างจากพี่ตลอดชีวิต แต่มันเป็นเคราะห์กรรม ไม่ได้คิดเลยว่าจะเป็นกษัตริย์ คิดแต่จะเป็นน้องของพี่เท่านั้น”

พระราชกระแสอ้างอิงจากบทความเรื่อง “เมื่อข้าพเจ้าบินไปสืบกรณีสวรรคตที่สวิตเซอร์แลนด์” ซึ่งบันทึกคำสัมภาษณ์พระพินิจชนคดี โดยผู้ใช้นามปากกาว่า “แหลมสน” ตีพิมพ์ในเกียรติศักดิ์ ฉบับวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๓


คัดลอกจากบางตอนจากเรื่องของ “ยายซุป” กับ “ในหลวง” เขียนโดย นายรุงรัง จากหนังสือพิมพ์ไทยแอลเอ ฉบับวันอาทิตย์ ที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๔

ยาย-หมอบอกว่าไส้ติ่งกำลังจะแตก พอหมอบอกอยางนั้น พระองค์ท่านก็ทรงติดต่อไปที่ในหลวงซึ่ง ทรงอยู่ที่ตีนเขาอีกลูก

# รู้ได้ยังไงว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงติดต่อไปที่ในหลวง?
ยาย-รู้สิ เพราะเห็นในหลวง พระองค์ท่านทรงเด่นจากตีนเขาลูกโน้นมาเลย ห่างกันถึง 1 กิโล ( แค่นี้ก็ตื้นตันแทนคุณยายแล้ว)

# รู้สึกอย่างไรบ้างในตอนนั้น ?
ยาย-ดีใจ แล้วก็ปลื้มใจแบบมาก ๆ ไอ้ตอนแรกคิดว่ากำลังจะตายนี่ คิดว่าตัวเองรอดแน่ มันมีกำลังใจ คิดว่าขนาดพระเจ้าแผ่นดินยังเอาใจใส่เราขนาดนี้ เราจะตายไม่ได้

# พอในหลวงเสด็จมาถึง ทรงตรัสว่าอย่างไรหรือไม่ ?
ยาย-ท่านให้เอา ฮ. มารับ ท่านตรัสว่า เดี๋ยวเราจะกลับทางเรือเอง ให้เอาคนไข้ไปส่งก่อน พอ พระองค์ท่านตรัส หมอสองคนก็หิ้วปีกเราไป ในหลวงท่านทรงเมตตาเราไปจนถึงเครื่อง พอเราขึ้นไป ก่อนที่ประตู ฮ. จะปิด เราก็มองลงมาเห็นในหลวง ท่านทรงโบกพระหัตถ์ เราซาบซึ้งมาก ยิ่งบอกตัวของเราเลยว่าเราจะตายไม่ได้

----
ยายซุปในวัย ๓๖ ปีในตอนนั้น รอดตายด้วยพระเมตตาบารมีของพระองค์ท่าน จากวันนั้นผ่านมาร่วม ๔๐ ปีแล้ว ยายเล่าว่า หลังจากเหตุการณ์นั้น ชีวิตยายไม่เคยเข้าโรงพยาบาลอีกเลย พระองค์ท่านได้มอบชีวิตที่สมบูรณ์ให้กับคนๆหนึ่งโดยแท้จริง


วันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมพสกนิกรของพระองค์ ตามปกติที่ต่างจังหวัด ก็มีชาวบ้านมาต้อนรับในหลวงมากมาย พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาตามลาดพระบาท ที่แถวหน้าก็มีหญิงชราคนหนึ่งได้ก้มกราบแทบพระบาท แล้วก็เอามือของแกมาจับพระหัตถ์ของในหลวงแล้วก็พูดว่า ยายดีใจเหลือเกิน ที่ได้เจอในหลวง แล้วก็พูดยายอย่างโน้นอย่างนี้ อีกตั้งมากมาย แต่ในหลวงก็ทรงเฉยๆ มิได้ตรัสรับสั่งตอบว่ากระไร

พวกข้าราชบริพารก็มองหน้ากันใหญ่ไม่แน่ใจว่าพระองค์ทรงพอพระราชหฤทัยหรือไม่ แต่พอพวกเขาได้ยินพระองค์รับสั่งตอบหญิงชราคนนั้นก็ทำให้พวกเขาถึงกับกลั้นหัวเราะไว้ไม่ไหว

เพราะพระองค์ตรัสว่า “เรียกว่ายายได้อย่างไรอายุอ่อนกว่าแม่ฉันตั้งเยอะ ต้องเรียกน้าซิ ถึงจะถูก”


เมื่อปี ๒๕๐๓ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ทรงเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา มีนักข่าวต่างประเทศกราบบังคมทูลถามว่า “ทำไมพระองค์จึงทรงเคร่งขรึมนัก ไม่ทรงยิ้มเลย” พระองค์ทรงหันพระพักตร์ไปทาง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และมีพระราชดำรัสว่า “She is my smile.” หรือแปลว่า “นั่นไง รอยยิ้มของฉัน”


เมื่อนิตยสาร "สไตล์" ฉบับปี ๒๕๓๐ ได้ตั้งคำถามกับ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ถึง "คำสอน" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ประทับอยู่ในหัวใจ ดร.สุเมธ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการ กปร. ตอบว่า คำสอน "ประโยคเดียวก็เกินพอนั้นคือพระราชดำรัสที่ว่า

"มาอยู่กับฉันนั้น ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากความสุขที่จะมีร่วมกันในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น"


ขณะที่ในหลวงทรงงาน เพื่อหาที่สร้างฝายทดน้ำ โดยมี อ.ปราโมทย์ ช่วยถือแผนที่ให้พระองค์ ปรากฏว่ามีตัวคุ่นได้กัดที่มือของอาจารย์ แต่อาจารย์ก็ได้เก็บอาการเสมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นต่อหน้าพระพักตร์ แต่อาจารย์คิดว่าพระองค์คงไม่ทรงสังเกตเห็น อาจารย์ก็ได้แต่เอามือถูเพื่อคลายความเจ็บปวดแบบเนียน ๆ

ก่อนจะเสด็จฯ กลับ ในหลวงเสด็จพระราชดำเนินไปที่รถยนต์พระที่นั่ง (การเสด็จฯ ครั้งนั้น ทรงขับรถยนต์ด้วยพระองค์เอง) เหมือนทรงค้นหาอะไรบางอย่าง สักพักพระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนินกลับไปหาอาจารย์ โดยถือหลอดยามาด้วย

"นายช่าง ยื่นมือมาสิ จะทายาให้"

อาจารย์ได้แต่ยืนตะลึง ใจมิกล้าอาจเอื้อมยื่นมือไปให้พระองค์ และไม่คิดว่าจะทรงสังเกตเห็นและมีพระเมตตาใส่พระราชหฤทัยถึงขนาดนี้... พระองค์ทรงทายาให้อาจารย์ พร้อมตรัสว่า...

"ตัวคุ่นมันกัด ถ้าแพ้จะบวม ไม่เป็นไร ทายานี้แล้วเดี๋ยวก็ค่อยยังชั่ว"

แม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็ก ๆ แต่ยังคงติดตราตรึงใจไม่รู้ลืม พระองค์ทรงมีพระเมตตา และใส่พระราชหฤทัยกับเจ้าหน้าที่ทุกคน ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมถึงต้องทรงงานหนักตลอด 70 ปีนั่นก็เพราะพระองค์ทรงรักและห่วงใยประชาชนของพระองค์ทุกคน
หนังสือ "การทรงงานของพ่อในความทรงจำ" โดยปราโมทย์ ไม้กลัด


สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เล่าเรื่องเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ ในพระนิพนธ์หนังสือ "เจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์”

พระองค์ทรงเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ 8) ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมพรรษา 5 พรรษา และ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) มีพระชนมพรรษา 3 พรรษา ได้ประชวรด้วยโรคบิด พร้อมกันทั้งสองพระองค์ การรักษานั้นจะต้องฉีดยา Emetine 1 เข็มและสวนด้วยยา Yatren 2-3 ครั้ง

สมเด็จแม่ได้อธิบายว่าจะเจ็บหน่อย พระองค์เล็ก หรือ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงตรัสถามว่า "ร้องไห้ได้ไหม" ซึ่งสมเด็จแม่คิดว่าการประชวรครั้งนี้น่าจะมาจากการเสวยไอติมหลอดน้ำอ้อยสดที่ข้างล่างตำหนักทำได้ไม่สะอาดพอ และมีแมลงวันมาก

หนังสือ เจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์


พระองค์ท่านทรงประทับรักษาอาการประชวรที่โรงพยาบาลศิริราชมานานเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว จนมีเรื่องเล่ามากมายในโรงพยาบาล อย่างเช่นเรื่องนี้ทางเพจเฟซบุ๊ค "Nurseup Thailand" ได้มาเปิดเรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์ที่ฟังเล่าซาบซึ้งมากๆ เรื่องนั้นมีอยู่ว่า

เคยมีครั้งหนึ่ง คุณหมอคนหนึ่งเกิดความสงสัยว่า ทำไมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงทรงให้พยาบาลทำให้ท่านทุกอย่าง ไม่ว่าจะจัดพระโอสถเม็ด พระโอสถฉีด ทำไมไม่ให้หมอทำ แต่หมอคนนั้นก็ยังถามอีกว่า ทำไมพระองค์จึงทรงเชื่อพระทัย ไว้วางพระทัยกับพยาบาลนัก พระองค์จึงทรงตรัสออกไปอีกว่า "ก็เพราะพยาบาลเป็นคนเลี้ยงเรามา"


วันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ พระองค์ท่านเสด็จฯออก สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชทานวโรกาสให้พระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี เลขาธิการพระราชวัง ราชเลขาธิการ สมาชิกราชสกุล และสตรีผู้มีบรรดาศักดิ์ และพสกนิกร เข้าเฝ้าฯทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสตอบ ใจความว่า

“...ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาอยู่ในท่ามกลางมหาสมาคม พร้อมพรั่งด้วยบุคคลจากทุกสถาบันในชาติ ตลอดจนประชาชนชาวไทย ขอขอบใจในคำอำนวยพรและการเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่ ที่ทุกคนตั้งใจจัดให้ข้าพเจ้าเป็นพิเศษ ทั้งรัฐบาลได้จัดงานครั้งนี้ได้เรียบร้อยและงดงาม น้ำใจไมตรีของประชาชนชาวไทยที่ร่วมกันแสดงออกทั่วประเทศ รวมทั้งที่พร้อมเพรียงกันมาในวันนี้ น่าปลาบปลื้มใจมาก เพราะแต่ละคนได้แสดงออกและตั้งใจมาด้วยความหวังดีจากใจจริง จึงขอขอบใจทุกๆ คน จิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความปรารถนาดี และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทุกคน ทุกฝ่าย ทำให้ข้าพเจ้าเห็นแล้วมีกำลังใจมากขึ้น นึกถึงคุณธรรมซึ่งเป็นที่ตั้งของความรัก ความสามัคคี ที่ทำให้คนไทยเราสามารถร่วมมือร่วมใจกันรักษาและพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันไปได้ตลอดรอดฝั่ง...”


“…ในบ้านเมืองนี้ มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...”

พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมชนลูกเสือแห่งชาติ ค่ายลูกเสือวชิราวุธจังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๒


“...สรรพสิ่งทั้งหลายดำรงอยู่พร้อมกับเจริญยั่งยืนไปได้ เพราะมีความสมดุลย์ในตัวเอง อย่างชีวิตมนุษย์เรานี้ดำรงอยู่ได้เพราะมีออกซิเจน ไฮโดรเจน และคาร์บอน อันเป็นส่วนประกอบสำคัญของชีวิต ได้สัดส่วนกัน. เมื่อใด ส่วนประกอบอันเป็นแก่นแกนของชีวิต ส่วนใดส่วนหนึ่งบกพร่องขาดหายไป ไม่อาจแก้ไขให้คงคืนสมดุลย์ได้ เมื่อนั้น ชีวิตก็เสื่อมโทรมแตกดับ. ธรรมชาติอื่นๆ ตลอดจนสิ่งที่มนุษย์ปรุงแต่งสรรค์สร้างขึ้น เช่น เครื่องจักร โรงงาน อาคาร บ้านเรือน แม้กระทั่งเศรษฐกิจ กฎหมาย และทฤษฎีต่างๆ ก็เหมือนกัน ล้วนต้องมีส่วนประกอบที่สมดุลย์ทั้งสิ้น…”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทาลัยมหิดล ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๓๔


“...การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเองและครอบครัว ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ประหยัดเท่านั้น ยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย...”

พระราชดำรัส เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๒


“...ชีวิตของคนก็ตาม ชีวิตของหมู่คณะหรือประเทศก็ตาม ก็ย่อมต้องประสบความเจริญและความเสื่อม สลับกันไปเป็นธรรมดา ซึ่งทุกคนก็ทราบดีว่า ในชีวิตของแต่ละคนก็ผ่านเวลาที่มีความสุข และบางทีก็มีความทุกข์ ประเทศชาติก็เช่นเดียวกัน ก็มีความสุขบ้าง ความทุกข์บ้าง แต่ก็ขออย่าให้มากเกินไป เพราะว่าถ้ามากเกินไป แม้สุขมากเกินไปก็อาจทำให้คนเรา ไม่สบายได้เหมือนกัน แต่ว่าถ้าทุกข์มาก ความเป็นอยู่ของคนเราอยู่ไม่ได้ ไม่มีกำลังใจ ลงท้ายก็ล่มจม…”

พระราชดำรัสในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๖


“...การดำรงชีวิตที่ดีจะต้องปรับปรุงตัวตลอดเวลา การปรับปรุงตัวจะต้องมีความเพียรและความอดทนเป็นที่ตั้ง ถ้าคนเราไม่หมั่นเพียร ไม่มีความอดทนก็อาจจะท้อใจไปโดยง่าย เมื่อท้อใจไปแล้ว ไม่มีทางที่จะมีชีวิตเจริญรุ่งเรืองแน่นอน...”

พระราชดำรัสในโอกาสพระราชทานแก่ครูอาจารย์ นักเรียนโรงเรียนจิตรลดา วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๓


“...ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันมากเกินไป แต่ในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้แต่ในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก ...มีเงินเดือนเท่าไหร่ จะต้องใช้ภายในเงินเดือน... กู้เงินนั้น เงินจะต้องให้เกิดประโยชน์มิใช่กู้สำหรับไปเล่น ไปทำอะไรที่ไม่เกิดประโยชน์...”

พระราชดำรัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐




  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ตุลาคม 2016, 16:04:49 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
FIRE
Spacial Mb5
*

พลังน้ำใจ: 216
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ


« ตอบ #481 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2016, 22:25:25 »



" ธ สถิตในดวงใจราษฎร์ ตราบนิจนิรันดร์ "
"พระมหากษัตริย์ในดวงใจของคนทั้งแผ่นดิน"
พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี



<a href="http://www.youtube.com/v/d9_Z4y7A_Z4?version=2&amp;amp;hl=th_TH&amp;amp;color3=00FFFF&amp;amp;&amp;aborder=&amp;autoplay=1&amp;loop=1" target="_blank">http://www.youtube.com/v/d9_Z4y7A_Z4?version=2&amp;amp;hl=th_TH&amp;amp;color3=00FFFF&amp;amp;&amp;aborder=&amp;autoplay=1&amp;loop=1</a>

~พระองค์ คือ พระราชาในชีวิตจริง~

 "พ่อ"
ที่เป็นได้ทุกอย่างบนโลกนี้
สำหรับคนไทย พระราชาที่ยิ่งใหญ่ ไม่ได้มีแค่ในนิทาน














































อาลัยน้ำตาริน ... แผ่นดินสูญสิ้นพระมหากษัตริย์ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
 “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช”


 ด้วยพระเกียรติยศสูงสุดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  กองบรรณาธิการสำนักข่าวทีนิวส์
 ขอน้อมถวายส่งเสด็จฯพระองค์ท่านสู่สวรรคาลัย
  ผ่านพระราชประวัติ “องค์พ่อหลวง”   ของปวงชนชาวไทยกว่า 70 ล้านชีวิต โดยสังเขปดังนี้

โปรคคลิกชม..ขอบคุณที่มาสำนักข่าวทีนิวส์


 http://deep.tnews.co.th/contents/208405/

รวมพระบรมฉายาลักษณ์-พระฉายาลักษณ์ เมื่อพระบรมวงศ์ฯ ทรงให้กำลังใจกันในวันที่สูญเสีย
คลิกชมที่ลิงค์
http://welovethaiking.com/blog/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0/

ทรงคุณค่ายิ่ง!! พระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง-พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อปี ค.ศ. 1960
คลิกชมที่ลิงค์
http://welovethaiking.com/blog/%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%B2/
คลิกชมพระบรมฉายาลักษณ์จากตากล้องต่างชาติ
http://variety.teenee.com/foodforbrain/76254.html

http://www.teenee.com/group/100.html

ธ สถิตในใจไทยทั้งชาติ

ขอน้อมส่งเสด็จสู่สวรรค์คาลัย ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
 พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๙ แห่งบรมราชจักรีวงศ์

ข้าพระพุทธเจ้า ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป
 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
 ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

 


<a href="http://www.youtube.com/v/Ed6aCXw9mkM?version=2&amp;amp;hl=th_TH&amp;amp;color3=00FFFF&amp;amp;&amp;aborder=&amp;autoplay=&amp;loop=1" target="_blank">http://www.youtube.com/v/Ed6aCXw9mkM?version=2&amp;amp;hl=th_TH&amp;amp;color3=00FFFF&amp;amp;&amp;aborder=&amp;autoplay=&amp;loop=1</a>

  อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี
 ธงชาติ ชีวิตนี้ พลีเพื่อชาติ  ธงชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พฤศจิกายน 2016, 14:53:13 โดย FIRE » บันทึกการเข้า
แท็ก:
หน้า: 1 ... 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 [20]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เว็บไซต์ในเครือข่ายอภิโชค "เว็บมหาชน คนมหาโชค"
 
คติ "กินอยู่อย่างพอเพียง เสี่ยงโชคแต่พอควร"
ข้อมูลในเว็บนี้ใช้ประกอบเสี่ยงโชคสำหรับซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเท่านั้น ไม่สนับสนุนหวยที่ผิดกฏหมาย
คำเตือน -ทางเว็บไม่ได้ทราบเป็นการล่วงหน้าว่าหวยทางกองสลากจะออกตัวไหน แต่เราใช้การวิเคราะห์หรือประเมินตามหลักสถิติ
หรือวิธีการอื่นว่า เลขที่มีโอกาสออกมากที่สุดในแต่ละงวดควรจะเป็นเลขอะไรเท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ การเล่นหวยถือว่ามีความเสียงมาก
Sitemap | Contact | WAP | xHTML | iMode | WAP 2 | RSS

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines | Sitemap
อภิโชค เลขเด็ด หวยดัง หวยเด็ด เว็บหวยออนไลน์ คำนวณหวยบนดิน ©
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.083 วินาที กับ 23 คำสั่ง
Copyright (c) 2008-2022 apichokeonline.com