ฝากภาพ i-pic

ปฎิมากรรมที่ธรรมชาติบรรจงสร้าง บนหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน ปี 2497

<< < (2/6) > >>

sutep123:
 *k<//* *k<//* *k<//*

numchai42:


จุดสังเกตที่  2

     สีขาว ๆ   ที่กระจายตัวอยู่ทั่วไปบนองค์พระ  ดูที่ขวามือของภาพ  (ซ้ายมือของพระ) จะมีสีขาว ๆ   หนาทึบ  
แผ่ลงมาตั้งแต่หูของพระ  ผ่านลำคอ  หน้าอก  ลงมาจนถึงเข่าเป็นทาง  สลับกับน้ำว่านสีดำ  เห็นชัดเจน  
ส่วนทางด้านซ้ายมือ (ขวามือของพระ)   ก็จะเห็นสีขาวเป็นแถบ   ลงมาถึงข้อศอก  และเข่า

      สีขาว ๆ ที่เห็นนี้   ความจริงแล้วเป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง  ที่จะขึ้นปกคลุมองค์พระหนาทึบ  บางองค์จะคลุม
จนมองไม่เห็นเนื้อพระ  ส่องกล้องดูจะเห็นเป็นโครงข่ายยึดโยงกันไปมา  แบบเดียวกับราที่ขึ้นบนขนมปังปอนด์
สูงนูนขึ้นมาเหนือองค์พระ  ถ้าเอามือไปจับ  หรือลูบที่องค์พระ  เชื้อราพวกนี้จะหลุดหายไปหมด  อาจจะเหลือ
อยู่บ้างตามซอกพระ หรือรอยแยกรอยราน  สังเกตรูปร่างดูให้ดี ๆ  สีขาวของเชื้อรานี้จะไม่เป็นแว่นกลม ๆ  แต่
จะมองเห็นสีขาวที่โยงเป็นเส้นเล็ก ๆ  ไปรอบทิศ  รูปร่างจะแตกต่างกันไป

     อีกอย่างหนึ่ง  พระที่ผสมว่านมาก ๆ  หรือพระแก่ว่าน  ราพวกนี้จะชอบขึ้น  พระที่แก่ว่านปกติแล้วมักจะ
เป็นพระที่มีผิวเป็นสีเปลือกมังคุด  เนื้อจะหนึกนุ่ม  เป็นมัน (สังเกตพระตัวอย่างในรูปที่ 1ก็จะมีสีเปลือกมังคุด  
ของวัดช้างให้  ก็จะมีสีเปลือกมังคุด เช่นกัน) จับไปจับมาราพวกนี้มักจะจมหายไปกับความฉ่ำมันแต่ถ้าเป็นพระที่ไม่เคยจับเลย  
จะมองเห็นราพวกนี้เป็นสีขาวสวยงามมาก

     ในพระองค์ที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้  เดิมก็มีราสีขาวเกาะเต็มทั้งหน้าหลัง  แต่โดนมือจับหลาย ๆ  ครั้ง
มันก็จะหลุดออกไป   เหลือน้อยลง  บางส่วนก็จะจมลงไปกับความฉ่ำของเนื้อว่าน  ซึ่งเนื้อว่านเหล่านี้  ยิ่งจับ
หลาย ๆ  ครั้ง  ก็จะยิ่งมีความเปียกมากขึ้น

      พระที่มีเนื้อแก่ปูน  แก่ดิน  ก็จะมีราพวกนี้ขึ้นเหมือนกัน  แต่เนื้อพระจะแกร่งกว่า   ไม่เปียกชื้น จึง
มองเห็นราขาวได้ชัดเจนกว่า




     พระหลวงพ่อดำ  วัดตุยง    เป็นพระแก่ว่าน   จะมีราขาวขึ้นปกคลุมเต็มองค์พระ  ลองเอามือลูบดู
ราจะหายไป  สังเกตที่ใบหน้าพระ  และเมือจับไปจับมาหลาย ๆ ครั้ง  จะเริ่มมองเห็นความเปียกฉ่ำบนองค์พระ และจะวาว
เป็นมัน  สีพระก็เริ่มมองเห็นเป็นสีเปลือกมังคุดที่ชัดเจนทั้งองค์  นี่คือธรรมชาติของพระเนื้อว่าน

      คงจะเริ่มมองเห็นภาพหยาบ ๆ แล้ว   ว่าการสังเกตคราบว่านที่บอกว่าต้องเป็นธรรมชาติ   จะเป็นแบบไหน
ถ้าเจอเชื้อราที่แข็งกระด้าง   ผิวพระหยาบกร้าน  ไม่หนึกนุ่ม  ระวัง ๆ ไว้ก็แล้วกัน

numchai42:
              

                    ภาพที่   4   ปฎิมากรรมคราบว่านบนพื้นผิวพระ

       พระที่นำลงให้ชมทั้ง  2  องค์   มีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน  องค์ขวามือนัยว่าน่าจะเป็นหลวงพ่อทวด
ปี 2497   แต่จะแท้หรือไม่  ไม่ขอยืนยัน  เพียงแต่มองเห็นความแปลกประหลาดของการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น

        น้ำว่านที่ซึมซาบอาบลงมาบนองค์พระ  ก่อให้เกิดปฎิกริยาต่อองค์พระมากมาย  จากพระที่เคยราบเรียบ
สวยงาม  จะเกิดการพอกพูนของน้ำยางว่านที่เกาะตัวจับกันเป็นก้อนในพื้นที่ต่าง ๆ  ทั้งสององค์นี้ยังมีความชุ่มฉ่ำ
บนผิวที่น้ำว่านเกาะตัวกัน  สะท้อนแสงวาววับให้เห็น  เหมือนแอ่งน้ำเล็ก ๆ ที่น้ำกำลังจะแห้ง  เหลือแต่โคลนตม
ที่ค่อย ๆ จับตัวกันตึงผิว  รอที่จะปริแตกในคราวต่อไป

        พระทั้งสององค์นี้  จะมีอายุกี่ปีก็ไม่รู้  แต่ที่อยู่ในความครอบครองก็สามสิบปีกว่ามาแล้ว  สามสิบปีที่วัตถุ
ที่เปียกน้ำน่าจะแห้งสนิท  เพราะเก็บอยู่ในที่แห้งและร้อน  แต่กลับปรากฏความหนึกนุ่ม  และความเปียกชื้นให้เห็นอยู่  
และคงจะอยู่แบบนี้ตลอดไป  นี่คือความแปลกของธรรมชาติ

        ยางเหนียวที่ไหลผ่านองค์พระลงไป  หรือที่ผุดขึ้นมาจากเนื้อพระ  จะก่อให้เกิดรอยตะปุมตะป่ำ  เล็กบ้าง
ใหญ่บ้าง  เหมือนก้อนหินที่เรียงรายอยู่บนเชิงเขา  ทำให้องค์พระมีสภาพบิดเบี้ยว  สภาพเดิมเปลี่ยนไป  สังเกต
พระองค์ขวา  ไขว่านที่ผุดขึ้นมาเกาะตัวเป็นก้อนเนื้อที่บริเวณอก  บางส่วนไหลทะลักลงมากองอยู่บริเวณเหนือ
ฝ่ามือที่กำลังนั่งทำสมาธิ  จนมองเห็นเป็นลำยาวนูนขึ้นมา

        ยางว่านเหนียวที่ผุดขึ้นบริเวณอก  ไหลล้นลงมาจนถึงหน้า  เต็มหน้าตักแล้วก็ไหลลงมาตามช่องว่างที่ขา
บ่าลงมาข้าล่างเป็นทางยาว  นี่คือการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ  หรือการปั้นแต่งจากน้ำมือมนุษย์  ตรงนี้ก็ฝาก
ไว้เป็นข้อคิด

        

        

numchai42:
        


       ภาพที่  5  ปฎิมากรรมจากคราบไคลและไขว่านบนองค์พระ

            ตานำชัยไม่ใช่เซียนพระ   ดูพระไม่เป็น  เพียงแต่เห็นความเปลี่ยนแปลงและสิ่งที่เกิดขึ้นในองค์พระ
ที่คาดหวังว่าน่าจะเกิดจากธรรมชาติล้วน ๆ   จากพระพิมพ์ต่าง ๆ ในหลาย ๆ  วัด  ที่จัดสร้างขึ้นในภาคใต้  ใน
เวลาที่ไล่เลี่ยกับหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน  รุ่นปี  2497  ไม่ว่าจะเป็นน้ำว่าน  คราบไคลไขว่าน  น่าจะมีความละม้าย
คล้ายคลึงกับสิ่งที่เกิดขึ้นบนหลวงพ่อทวดวัดช้างให้  สมควรจะรวบรวมไว้เป็นกรณีศึกษา

                        

    พระองค์นี้มีเนื้อหนึกนุ่ม  เป็นมัน ผิวสีเปลือกมังคุด    ดูแล้วน่าจะเป็นพระแท้  แต่จะถึงยุค  2497  หรือไม่ ไม่แน่ใจ
แต่อุปมาไว้ก่อนละกัน  พระองค์นี้ทำมาจากว่านจริง ๆ  และเป็นว่านที่ยังสดอยู่ด้วย  จึงปรากฏคราบไคลว่านไหลย้อยลง
มาตามองค์พระ  แบบเป็นธรรมชาติ  หรือเรียกว่าเกิดขึ้นเอง  เริ่มจากแขนซ้าย - ขวา  จะมียางว่านไหลจากใบหน้า เป็น
ทางยาวลงมา  มองเห็นได้ชัดเจน  บริเวณอก  ซอกคอซ้าย-ขวา  จะมีน้ำว่านที่ไหลมาขังอยู่และแห้งตัวลงเป็นแผ่นตะกอน
แต่มันวาว  ไขว่านสีขาวก็จะผุดขึ้นจากกลางองค์พระ  แล้วไหลล้นลงมาเป็นทาง  จากมือที่ประสานกัน  ผ่านเข่าลงมา
ถีงบัวชั้นที่ 1  แล้วล้นปรี่จนท่วมแอ่งบัวขั้นที่  1  แล้วไหลทะลุลงมาท่วมบัวชั้นที่ 2  แล้วยังไหลหยดไปหยดยาวต่อไป
ทำให้บัวทั้งสองชั้นเหลือกลีบบัวให้เห็นนิดเดียว  เพราะถูกไขว่านปกปิดเสียเป็นส่วนใหญ่  ทางด้านขวามือของคนดู
จะเห็นทางไหลของน้ำว่านเป็นทางขาว  จากเข่าผ่านบัวชั้น 1 ชั้น 2  เห็นชัดเจน  และที่แขนซ้ายขององค์พระ  ก็จะ
เห็นทางไหลของน้ำว่านผ่านมาที่เข่า  วกกลับไปด้านข้าง   หายออกไปจากองค์พระ

       สังเกตที่ปาก  จะเห็นว่าเหลือเล็กนิดเดียว  ผิดเพี้ยนกับพระองค์จริง  แต่มองให้ดีจะเห็นคราบไคลว่านย้อยลงมา
ปิดไว้ที่มุมปากทั้งสองข้าง  เหมือนกับที่ไหลลงไปบิดกลีบบัวจนผิดรูป  ถ้าคนสร้างขึ้น  คงจะไม่ปิดบังส่วนสำคัญเช่นนี้

    นี่คือปฎิมากรรมของเส้นสายที่ไหวพริ้วอยู่บนองค์พระ  ทุกเส้นที่ปรากฏบนองค์พระ ตั้งแต่ เส้นขนานของกรอบทั้งสองข้าง
เส้นโยงใยไขว้กันไปมาภายในองค์พระ  จากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง  อ่อนไหวและสวยงาม  เกินจิตนาการที่มนุษย์
จะสร้างสรรค์ขึ้นมาได้  มองทีไรสดสวยจับใจและน่าทึ่งจริง ๆ

    การสร้างพระด้วยว่านสดแบบนี้  คนทำพระปลอมไม่น่าจะทำขึ้น  เพราะต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะวางตลาดได้  และ
การหาว่านก็ไม่ใช่จะหาได้ง่าย ๆ  นอกจากจะมีวัดทำขึ้น  แต่หลายวัดที่สร้างพระสมัยนั้น  ไม่มีวัดไหนจะทำเนื้อว่านแบบ
นี้  ส่วนใหญ่เนื้อจะแกร่งเพราะแก่ปูน  ทั้งรูปแบบพิมพ์ก็ไม่ใช่  พระองค์นี้จะทำขึ้นก็มีแต่วัดช้างให้เท่านั้น  แต่ในรอบ
พ.ศ. 2500 - 2510  วัดไม่เคยสร้างพระเนื้อว่าน  จะมาเริ่มอีกครั้งก็ในปี 2524  ส่วนอาจารย์นอง  วัดทรายขาว
ก็จะสร้างแบบฝังตะกรุดเสียส่วนใหญ่

    อีกอย่างเนื้อหามวลสาร  ก็ป็นของวัดช้างให้ มีเม็ดแร่ขาว ดำ แดง  ด้านหลังมีแร่ประปราย  ก้อนเล็ก ๆ  ไม่เป็น
กระจุกแบบพระปลอมชอบทำกัน  มีแร่ที่เป็นสีขาวขุ่นประปราย  ด้านหลังเคยเป็นราขาวปกคลุมหนาทีบ  แต่ปัจจุบัน
โดนจับต้องไปมา ประกอบกับเนื้อที่ฉ่ำขึ้น ราเหล่านั้นหายไปจนหมดสิ้น  คงเหลือให้เห็นเพียงสีขาวจาง ๆ

     ก็เป็นข้อมูลสำหรับคนที่สนใจพระเนื้อว่านปี 2497  จะได้ศึกษาอีกแนวทางหนึ่ง

numchai42:
                            


         ภาพที่ 6    ปฏิมากรรมด้านหลังขององค์พระหลวงพ่อทวด  เนื้อว่าน  ปี 2497
              อลังการและสดสวยสุดบรรยาย   ดูให้ดี ๆ  อาจจะโชคดีจากริ้วรอยที่มองเห็น



                                  

       ที่เห็นเป็นเส้นขาว ๆ  คดโค้งไปมา  นั้นคือเส้นใยของราที่เคยแผ่ปกคลุมเต็มพื้นผิว
        เพราะเพียงแต่ต้องการอยากจะเห็นเนื้อหามวลสาร  ลูบเพียง 2-3  ครั้ง  โลกหลัง
        พื้นผิวด้านหลังหลวงพ่อทวดก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง


        ด้วยรอยยุบ แยก แตก ราน ผุพรุน  ประจานความเก่าแก่โบราณให้เห็นอย่างเด่นชัด
คราบไคลไขว่านที่กอดจับเป็นหย่อม ๆ  ร่องรอยสนิมเหล็กที่ผุกร่อน  แผ่รอยสนิมซึมซาบไป
รอบทิศทาง  ผนวกกับราขาวที่จับตัวแน่นหนาแผ่ริ้วรอยยึดโยงให้เห็นอย่างเด่นชัด กับประกาย
ยิบ ๆ ของแร่ที่เป็นผงฝอย  สร้างปฏิมากรรมที่เลิศหรู  ยากที่มนุษย์จะสรรค์สร้างขึ้นมาได้
นี่คือปฏิมากรรมของธรรมชาติอย่างแท้จริง

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

เว็บไซต์ในเครือข่ายอภิโชค "เว็บมหาชน คนมหาโชค"
 
คติ "กินอยู่อย่างพอเพียง เสี่ยงโชคแต่พอควร"
ข้อมูลในเว็บนี้ใช้ประกอบเสี่ยงโชคสำหรับซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเท่านั้น ไม่สนับสนุนหวยที่ผิดกฏหมาย
คำเตือน -ทางเว็บไม่ได้ทราบเป็นการล่วงหน้าว่าหวยทางกองสลากจะออกตัวไหน แต่เราใช้การวิเคราะห์หรือประเมินตามหลักสถิติ
หรือวิธีการอื่นว่า เลขที่มีโอกาสออกมากที่สุดในแต่ละงวดควรจะเป็นเลขอะไรเท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ การเล่นหวยถือว่ามีความเสียงมาก
กฎระเบียบข้อบังคับ | Subscribe in a reader